คุณกำลังมองหาอะไร?

ข่

าวประชาสัมพันธ์

อัพเดททุกสาระ ข่าวสารเพื่อสุขภาพ มั่นใจไม่ตกเทรนด์

01. ข่าวสารศูนย์อนามัยที่ ๑๑ นครศรีธรรมราช
กรมอนามัย
23
พ.ค.
2568
23.05.2568
ศอ.11 เข้าร่วมประชุม โครงการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมสู่ความสำเร็จขององค์กร (Agility, Advance & Intelligence Management expert : AIM I) “กิจกรรมการพัฒนาฐานใจและพัฒนาฐานคิด”ณ โรงแรมเบลล่า บี อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี

วันที่ 22-23 พฤษภาคม 2568 นายแพทย์สิทธิพงษ์ ยิ้มสวัสดิ์ ผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่11 มอบหมายให้ผู้แทนจากกลุ่มพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อม เข้าร่วมประชุม โครงการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมสู่ความสำเร็จขององค์กร (Agility, Advance & Intelligence Management expert : AIM I) “กิจกรรมการพัฒนาฐานใจและพัฒนาฐานคิด”ณ โรงแรมเบลล่า บี อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี ซึ่งได้ดำเนินกิจกรรมการหาข้อมูล การวิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุสังเคราะห์ใช้ความรู้เพื่อการตัดสินใจ นำไปสู่การใช้ความรู้เพื่อการตัดสินแก้ปัญหาให้สำเร็จ • ดูภาพรวมมองปัญหามองสาเหตุ ภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง • กำหนดนโยบายทำแผนการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมการจัดการเชิงยุทธศาสตร์ ต้องอาศัยการทำงานสอดคล้องอย่างเป็นระบบ

วิ

ดีโอ

& สื่อมัลติมีเดีย

29.04.2568
การดำเนินงานเป็นหน่วยงานคุณธรรม ศูนย์อนามัยที่ 11 นครศรีธรรมราช

การดำเนินงานเป็นหน่วยงานคุณธรรม ศูนย์อนามัยที่ 11 นครศรีธรรมราช

อั

ลบั้มภาพ

พร้อมอัพเดท

สาระสุขภาพทันสมัยให้คุณเข้าใจง่าย

ไม่ตกเทรนด์!

calendar Cover for 2025 / 05
ร่

วมแสดงความคิดเห็น

ความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ศูนย์อนามัยที่ 11
ดูผลโหวต

อินโฟกราฟิก

12.05.2568
วันวิสาขบูชา

?? ?? ทำบุญ ใส่ใจสิ่งแวดล้อมใช้ถุงผ้า ตะกร้า ปิ่นโต ใส่อาหารไปวัด ??งดใช้ถุงพลาสติก มากเกินความจำเป็นเมื่อใส่บาตร ??ใช้ถุงผ้า ตะกร้าใส่ของทำบุญหรือถวายสังฆทาน ??ใช้ปิ่นโต หรือ ใบตองบรรจุอาหารถวายพระ ??ทิ้งขยะให้ถูกที่ แยกขยะให้ถูกถัง เมื่อเข้าวัดทำบุญ

06.05.2568
แอนแทรกซ์ เชื้อร้าย มีสิทธ์ ตุยได้ ! ถ้าไม่ป้องกัน

รู้หรือไม่? แอนแทรกซ์’ หรือโรคไข้ทรพิษในสัตว์ เป็นโรคร้ายแรงที่เกิดจากแบคทีเรีย Bacillus anthracis ซึ่งสามารถแพร่จากสัตว์มาสู่คนได้ คนมักติดโรคนี้จากการสัมผัสสัตว์ติดเชื้อ หรือผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เช่น หนัง ขน หรือเนื้อสัตว์ที่ไม่ผ่านการปรุงสุก ??อาการ ?? 1. ทางผิวหนัง – พบมากที่สุด มีตุ่มนูนและเป็นแผลดำ 2. ทางระบบหายใจ – อาการคล้ายการติดเชื้อของระบบหายใจส่วนบน ที่ไม่รุนแรง เช่น ไข้ ปวดเมื่อยไอเล็กน้อย หรือเจ็บหน้าอก ต่อมาจะเกิดการหายใจขัดอย่างเฉียบพลัน รวมถึงการหายใจมีเสียงดัง อาการหายใจลำบากอย่างรุนแรง เกิดภาวะออกซิเจนลดตํ่าลง เหงื่อออกมาก ช็อก และตัวเขียว 3. ทางเดินอาหาร – เกิดจากการกินเนื้อสัตว์ติดเชื้อ มีอาการปวดท้อง อาเจียน และท้องเสียรุนแรง” อาจเกิดในจุดใดจุดหนึ่งของลำไส้ และเกิดการอักเสบและบวมนํ้ามาก นำไปสู่การมีเลือดออก อุดตัน เป็นรู และมีนํ้าในช่องท้องมาก ??การป้องกัน?? ??ถ้าสัตว์โดยเฉพาะโค กระบือตายกะทันหัน ไม่ทราบสาเหตุ ให้สงสัยว่าเป็นโรคแอนแทรกซ์และห้ามผ่าซากโดยเด็ดขาดและให้รีบแจ้งสัตว์แพทย์ทันที จำเป็นต้องมีขั้นตอนการควบคุมเฉพาะในการกำจัดซากสัตว์เพื่อควบคุมโรคและป้องกันการแพร่กระจาย ??หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์หรือผลิตภัณฑ์จากสัตว์ที่มีสปอร์ และสัตว์ป่วย ??สวมถุงมือ หน้ากากอนามัย เมื่อทำงานกับสัตว์ และมีสัตว์ป่วย ??ไม่รับประทานอาหารสุกๆ ดิบๆ ??กินร้อน ใช้ช้อนกลาง ล้างมือบ่ายๆ #แอนแทรกซ์ #Anthrax

29.04.2568
ปัจจัยแห่งความสำเร็จ กระบวนการดำเนินงานองค์กรคุณธรรมต้นแบบ

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ กระบวนการดำเนินงานองค์กรคุณธรรมต้นแบบ

05.01.2568
เคล็ดลับดูแลสุขภาพให้ดี.....รับต้นปีใหม่

      เคล็ดลับง่ายๆ ที่ทำให้สุขภาพดีที่ใครๆ ก็ทำได้   1.  รับประทานอาหารที่มีประโยชน์       กินอาหารที่มีประโยชน์ให้มากขึ้น เช่น เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ผักสีสด ผลไม้ ธัญพืชต่างๆ ช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน 2.  ดื่มน้ำให้มาก      ควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว เริ่มจากวางแก้วน้ำไว้ใกล้ๆ มือขณะทำงาน หรือพกขวดน้ำติดตัวให้เป็นนิสัยจะได้หยิบดื่มง่ายๆ 3.  พักผ่อนให้เพียงพอ   ควรนอนอย่างน้อย 8 ชั่วโมงต่อวัน   เริ่มง่ายๆ ด้วยการปรับการนอน ไม่นอนดึกเกินไป 4.  ออกกำลังกายให้มากขึ้น      ควรเริ่มจากออกกำลังกายเบาๆ อย่างน้อยซักวันละ 30 นาที ตามความถนัด เช่น การเดิน วิ่งเหยาะๆ ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ เต้นแอโรบิก 5. ตรวจสุขภาพประจำปี      เพื่อตรวจคัดกรอง ค้นหาโรคที่อาจแฝงอยู่ในร่างกาย หรือตรวจเพื่อหาปัจจัยเสี่ยง รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ช่วยให้รับมือกับโรคต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที

11.12.2567
น้ำกัดเท้า โรคที่มากับน้ำท่วม

น้ำกัดเท้า โรคที่มากับน้ำท่วม น้ำกัดเท้า หมายถึง ภาวะที่ผิวหนังบริเวณเท้าเปื่อยลอก มักเกิดจากการแช่ในน้ำเป็นเวลานาน อาการโรคน้ำกัดเท้า แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ระยะแรก ระคายเคือง มีอาการเท้าเปื่อย คัน แสบ ลอก เป็นระยะที่เป็นมาไม่นาน ไม่มีการติดเชื้อใดๆ ระยะติดเชื้อแบคทีเรีย มีอาการผื่นบวมแดง มีหนอง ปวด มีรอยแผลเปื่อยที่ผิวหนัง ควรล้างด้วยน้ำเกลือหรือด่างทับทิม ทาแผลด้วยยาฆ่าเชื้อ วันละ 2 – 3 ครั้ง กรณีติดเชื้อรุนแรง หรือในผู้ป่วยโรคเบาหวาน หรือผู้ป่วยภูมิคุ้มกันต่ำควรไปพบแพทย์ ระยะติดเชื้อรา ผิวหนังเป็นผื่น เปื่อยยุ่ย ลอกเป็นขุยขาว แสบคัน มีกลิ่นเหม็น เป็นมานานกว่า 2 สัปดาห์ ควรรักษาโดยใช้ยา ฆ่าเชื้อรา ทาบางๆ วันละ 2-3 ครั้ง ข้อควรปฏิบัติ - หลีกเลี่ยงการแช่เท้าในน้ำนานๆ – ล้างเท้าด้วยสบู่และน้ำสะอาด หลังลุยน้ำและเช็ดเท้าให้แห้ง - ใส่ถุงเท้า รองเท้า ที่สะอาดไม่เปียกชื้น – ไม่ใช้ถุงเท้า รองเท้า ผ้าเช็ดตัวร่วมกับผู้อื่น – หาก มีบาดแผลควรทำแผลและทายาฆ่าเชื้อโรค เช่น เบตาดีน (Betadine)

ประกาศ

จัดซื้อจัดจ้าง

ประกาศ

ราคากลาง

แผน

การจัดซื้อจัดจ้าง

ผลสรุป

การจัดซื้อจัดจ้าง