คุณกำลังมองหาอะไร?

ศู

ศูนย์อนามัยที่ 11 ร่วมแลกเปลี่ยนการดำเนินงานโครงการส่งเสริมสุขภาวะเยาวชนภาคใต้โดยภาคีท้องถิ่น อำเภอทับปุด จังหวัดพังงา (13/3/2563)

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

13.09.2563
36
0
แชร์
13
กันยายน
2563

มูลนิธิแพธทูเฮลท์  ( p2h ) สนับสนุนโดยบริษัท  เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต  จำกัด  นำทีมโดย  นายชูไชย  นิจไตรรัตน์  รองผู้อำนวยการมูลนิธิแพธทูเฮลท์  ( p2h ) นางสาวสุทิศา ศรีบุตรวงษ์  ผู้ประสานงานโครงการฯ  นางสายใจ  โฆษิตกุลพร  ผู้รับผิดชอบงานวัยรุ่น  เขตสุขภาพที่ 11 ศูนย์อนามัยที่ 11 นครศรีธรรมราช  ร่วมกับงานส่งเสริมสุขภาพสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพังงา  โดยนางสาวเจียมใจ  สามัคคีธรรม  หัวหน้างานส่งเสริมฯ  นางสาวปรานี  สามัคคีธรรม  ผู้รับผิดชอบงานวัยรุ่น  สสจ.พังงา  และทีมร่วมกับเครือข่ายตามบทบาทหน้าที่ของการขับเคลื่อนงานวัยรุ่นโดยคณะอนุกรรมการจังหวัดพังงา ตาม 5 ยุทธศาสตร์ และเพื่อให้วัยรุ่นได้รับสิทธิทางด้านบริการ และสังคม เป็นกลไกของจังหวัด โดยนางสาวอัสมา  จำเนียร  ประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดพังงา  และบ้านพักเด็กและสตรีจังหวัดพังงา  วันที่  13 มีนาคม  2563 ภาคบ่าย ได้ลงพื้นที่อำเภอทับปุด เพื่อชวนเครือข่าย อปท.ภาคี  ณ ห้องประชุม  สำนักงานสาธารณสุขอำเภอทับปุด  จังหวัดพังงา ร่วมแลกเปลี่ยนการดำเนินงานโครงการส่งเสริมสุขภาวะเยาวชนภาคใต้โดยภาคีท้องถิ่น  อำเภอทับปุด จังหวัดพังงา



เครือข่ายโรงพยาบาลทับปุด  งานวัยรุ่น  รพ.สต. ผู้รับผิดชอบกลุ่มวัย  สำนักงานสาธารณสุขอำเภอทับปุด  อบต.โคกเจริญ  ประกอบด้วยหัวหน้าสำนักปลัด  นักพัฒนาชุมชน  ตัวแทนสภาเด็กและเยาวชน



อบต.ทับปุด  รองนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลทับปุด  อบต.มะรุ่ย   จากการแลกเปลี่ยนต้นทุนการทำงานเป็นโครงการที่ทำกันมายาวนาน  แต่ความต่อเนื่องของบางตำบลยังไม่มีความต่อเนื่อง  เป็นอำเภอที่มีความต้องการทำ  และในพื้นที่มีตำบลที่มีต้นทุนเดิมที่ดี  คนทำงานมีความเข้าใจในประเด็นการพัฒนา  ระบบ และการสร้างภาคีเครือข่าย  แต่ไม่ได้เป็นประเด็นปัญหาที่ถูกบรรจุใน พชอ. แต่จากข้อมูลและสถานการณ์  ความรุนแรงของความเสี่ยง  เป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาปลายทางที่ต้องแก้ไข  ความเสี่ยงก็มีความเหมือนกัน  คือ สารเสพติด  ติดเกมส์   เพศ  โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์  การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เด็กแว้น เด็กหลุดจากโรงเรียนขาดโอกาสทางการศึกษา  คิดว่าครอบครัวยังเป็นสิ่งสำคัญพื้นฐานของสังคม  พ่อ แม่ผู้ปกครองควรจะมีทักษะการสื่อสารเชิงบวกกับลูกหลาน  และท้องถิ่นบางท้องถิ่นมีการสื่อสารข้อมูล ทำงานร่วมกัน  หรือจัดทำโครงการกิจกรรมเอง  และมีมุมมองสะท้อนที่ดีในหลาย ๆ ประเด็น  วัยรุ่น มีแกนนำ สภาเด็กและเยาวชนต้องการกิจกรรมรูปแบบใหม่ ๆ ไม่ใช่ประชุมอย่างเดียว  มีสื่อที่เข้าถึงได้สะดวก มีประโยชน์  และแกนนำสามารถเชื่อมโยงกับกลุ่มวัยรุ่นในโรงเรียน  และในชุมชน  กศน. ปัญหาก็จะเป็นกลุ่มเดิมแบบเดิม  และไม่เกิดประโยชน์  ขยายผลต่อไม่ได้เข้าไม่ถึงบางกลุ่ม  การพัฒนาศักยภาพเป็นกระบวนกร เมื่ออบรมไปแล้วควรจะมีการทำบ่อยๆ  ทำเป็น  สู่มืออาชีพ  และทำอย่างไรให้กลุ่มเป้าหมาย  ครอบครัวกลุ่มเสี่ยงไดมีโอกาสเข้ามาสู่กระบวนการ  เมื่อมาคิดว่าจะเห็นประโยชน์  และเป็นคำถามเชิงวางแผนแล้วจะหากลุ่มเป้าหมายที่จะเป็นกระบวนกร  และ ผู้ที่จะเข้ามาในการร่วมกิจกรรมในห้องเรียน  วัยรุ่นและเยาวชนเผชิญปัญหา  กลุ่มนี้ไม่กล้าเดินเข้ามาในจุดที่ให้บริการในโรงพยาบาลเพราะอาจจะเป็นอำเภอเล็กๆ  และกลัวจะไม่เป็นความลับ  ทำอย่างไรให้เข้าถึงกลุ่มเสี่ยง  ควรจะมีเครื่องมือ Training  ที่เป็น Online  จะได้ไม่ต้องเสียเวลาในการมานั่งพัฒนาทักษะแบบเดิมๆ  ทุก  อปท.มีความสนใจในเครื่องมือ และเป็นงานประจำที่ดำเนินการอยู่แล้ว  และมีการสร้างเครือข่าย ครู หมอ พ่อ แม่  วัยรุ่น  อปท. แกนนำ  แต่อาจจะไม่มีความต่อเนื่องไปบ้าง  อยากพัฒนาให้มีความต่อเนื่องและเป็นระบบ  ที่ดี  เพิ่มการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย



ขอขอบคุณเครือข่ายอำเภอทับปุด



สรุปรายงานโดย  นางสายใจ โฆษิตกุลพร  Cluster วัยรุ่น ศูนย์อนามัยที่ 11 นครศรีธรรมราช

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน