คุณกำลังมองหาอะไร?

ศู

ศูนย์อนามัยที่ 11 ประชุมคณะกรรมการบริหารศูนย์ครั้งที่ 4 ประจำเดือนเมษายน 2563 (2/4/2563)

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

24.09.2563
11
0
แชร์
24
กันยายน
2563

วันที่ 2 เมษายน ๒๕๖๓ เวลา 13.30 น. นายแพทย์วินัย ตันติธนพร ผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ 11

ประชุมประชุมคณะกรรมการบริหารศูนย์ครั้งที่ 4 ประจำเดือนเมษายน 2563 โดยประชุมตามมาตรฐาน social distancing ภายใต้สถานการณ์ covid-19 ระบาด ณ ห้องประชุมสิริธรรมนคร โดยสรุปสาระการประชุมได้ดังนี้



วาระที่ 1 ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ

1.1 การดำเนินงานโควิด-2019 จังหวัดนครศรีธรรมราช

1.1.1 ห้างสรรพสินค้ายังไม่ปิดให้บริการ ยกเว้นห้างเซ็นทรัลนครศรีฯ ที่ได้ขออนุญาตปิดให้บริการส่วนพลาซ่า แต่เปิดให้บริการซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านอาหารสำหรับซื้อกลับบ้าน และธนาคาร



1.1.2 มาตรการ Home quarantine มอบหมายกลุ่มงานสิ่งแวดล้อม ผู้ป่วยใน และสนับสนุน จัดเตรียมพื้นที่รองรับมาตรการดังกล่าว



1.1.3 การเข้า-ออก โรงพยาบาลใช้จุดเดียวที่ OPD

ที่ประชุม : รับทราบ

วาระที่ 2 รับรองรายงานการประชุมติดตามการดำเนินงาน เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2563

ที่ประชุม : รับรองการประชุม



วาระที่ 3 ติดตามความก้าวหน้าผลการดำเนินงานตัวชี้วัดตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ

3.1 ตัวชี้วัดที่ 1.1 อัตราส่วนการตายมารดาไทยต่อการเกิดมีชีพแสนคน



สถานการณ์การ การตายมารดา ภาพรวมเขตสุขภาพที่ 11 ณ กุมภาพันธ์ 2563 จ านวน 4 ราย   มีการประชุมทบทวนสาเหตุการตาย เมื่อวันที่ 19-20 กพ. 2563 ซึ่งจะสรุปรายงานการประชุมคืนข้อมูลให้แก่จังหวัดต่อไป แผนการดำเนินงานในเดือนต่อไป คือ การติดตามการบันทึกข้อมูลโปรแกรม SaveMom ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการ

ปรับปรุงโปรแกรม และได้เฝ้าระวังข้อมูลใน DashBoard กรมอนามัย พบว่ามีการบันทึกข้อมูลผิดพลาด แต่ได้แจ้งให้

ผู้รับผิดชอบทราบเพื่อดำเนินการแก้ไขแล้ว

เอกสารเพิ่มเติม: https://drive.google.com/file/d/1POjzzeJdDZxuZFjSvs9qQU1C4GvWiFWe/view





3.2 ตัวชี้วัดที่ 1.2 ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี ทั้งหมดตามช่วงอายุที่กำหนดมีพัฒนาการสมวัย

เป้าหมายการดำเนินงานร้อยละ 85 ผลการดำเนินงานภาพรวมเขตสุขภาพ 11 ร้อยละ 62.99  ณ มีค.63 พบว่า จ.นครศรีฯ มีผลการดำเนินงาน พบปัญหาการบันทึกข้อมูลแต่ไม่ปรากฏรายงาน ซึ่งอยู่ระหว่างค้นหาปัญหา และดำเนินการแก้ไข

ตัวชี้วัดร้อยละ 60 เด็กอายุ 0-5 ปี สูงดีสมส่วน การดำเนินงานชั่งน้ำหนักไตรมาสละ 1 ครั้ง ในเดือน มค.63 ผ่านเป้าหมาย 66.97 เป้าหมาย

เอกสารเพิ่มเติม: https://drive.google.com/file/d/1POjzzeJdDZxuZFjSvs9qQU1C4GvWiFWe/view



3.3 ตัวชี้วัด 1.3 อัตราการคลอดมีชีพในหญิงอายุ 15-19 ปี ต่อประชากรหญิงอายุ 15-19 ปี พันคน

อัตราการคลอดมีชีพในหญิงอายุ 15-19 ปี ไม่เกิน 34 ต่อพันประชากร ผลการดำเนินงานภาพรวม



26.34 ผ่านค่าเป้าหมาย แต่พบอัตราการท้องซ้ำเกินค่าเป้าหมาย



การประชุมคณะอนุกรรมการการป้องกันและแก้ไขการตั้งครรภ์วัยรุ่นระดับจังหวัด สามารถดำเนินการได้ 6 จังหวัด ขาดเพียงจังหวัดภูเก็ตที่วางแผนการประชุมไว้เดือนมีนาคม 2563 แต่ต้องเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด  เนื่องจากสถานการณ์โควิด-2019



การคุมกำเนิดกึ่งถาวร ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ภาพรวมเขต 77.11 ยังไม่ผ่านค่าเป้าหมาย แต่มีจังหวัดที่สามารถด าเนินการได้ผ่านค่าเป้าหมาย 3 จังหวัด ได้แก่ พังงา ภูเก็ต นครศรีฯ พบปัญหาจังหวัดระนองใช้วิธีการฉีดยาคุมกำเนิด การดำเนินงานมีแนวโน้มดีขึ้น



Intervention: การพัฒนาบุคลากร ทักษะการใช้บริการยาฝั่งคุมกำเนิด 1 รุ่น ยังไม่ครอบคลุมในทุกจังหวัด ยังมีความต้องการอบรมเพิ่มเติม เช่น สุราษฎร์ธานี

เอกสารเพิ่มเติม: https://drive.google.com/file/d/1RnH4yFUmRfWDXlHmmQxxQI1bUF7qaTPx/view



3.4 ตัวชี้วัดที่ 1.4 ร้อยละ 80 ของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้รับการดูแลตาม Care Plan

ผลการดำเนินงานร้อยละ 88.39 ผ่านค่าเป้าหมาย ทุกจังหวัดสามารถเร่งรัดการทำ Care plan พบปัญหาการด ำเนินงานจังหวัดนครศรีฯ ผู้สูงอายุได้ผ่านการอนุมัติ Care Plan แล้ว แต่ CM ไม่สามารเข้าไปดำเนินการได้

เอกสารเพิ่มเติม: https://drive.google.com/open?id=1BIZQGkhKl4zcj1Ak_vn_T8CBxvSGHYh6



3.5 ตัวชี้วัดที่ 1.5 ร้อยละของโรงพยาบาลที่พัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมได้ตามเกณฑ์ GREEN&CLEAN เป้าหมายร้อย

ละ 75  การดำเนินงาน รพ.ผ่านเกณฑ์ระดับดีมากผลการดำเนินงาน ร้อยละ 78.57 ผ่านค่าเป้าหมาย ในส่วนระดับดีมากพลัสต้องเร่งเพิ่มเติมในจังหวัดชุมพร และนครศรีธรรมราช ระดับดีมากพลัสผลการดำเนินนงาน ร้อยละ 22.62 ต้องเร่งในจังหวัดนครศรีธรรมราช และสุราษฏร์ธานี ซึ่งได้มีแผนในการติดตาม โดยคาดว่าเมื่อสิ้นไตรมาส 3 ไม่มีปัญหาในเชิงปริมาณ แผนการดำเนินงานในเดือนถัดไป วางระบบติดตามการดำเนินงานผ่านระบบ online EHA อาจไม่ถึงค่าเป้าหมาย เนื่องจากถึงรอบการประเมิน แต่อาจไม่สามารถดำเนินการได้จากสถานะการณ์โควิด 2019

เอกสารเพิ่มเติม : https://drive.google.com/file/d/12OenIZ6kT-58JGjo-ppIbkuJJXlYKRrS/view



3.6 ตัวชี้วัดที่ 2.1 ระดับความส าเร็จของการควบคุม การก ากับดูแล การบริหารงานดำเนินการบันทึกข้อมูลในระบบ DOC ในประเด็นรายการข้อมูล ความรู้ รายงานการวิเคราะห์การควบคุมภายในของศูนย์อนามัยที่ 11 และระดับ 5 การข้อสงสัยของตรวจสอบภายในได้ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว



3.7 ตัวชี้วัดที่ 2.2 ระดับความสำเร็จของการขับเคลื่อนองค์กรสร้างสุข ประกอบด้วย 3 มิติ คือ

มิติที่ 1 บุคลากรในองค์กรมีสุขภาพดี เป้าหมายระดับ 5 คือ ร้อยละของค่าเฉลี่ยดัชนีมวลกาย(BMI)

ของบุคลากรลดลงร้อยละ 5 ได้มีการดำเนินการพัฒนาโปรแกรมบันทึกข้อมูลรอบเอว น้ำหนัก (Happy Body-HPC11)และโปรแกรมการควบคุมน้ำหนักดำเนินการในทุกวันพุธ ซึ่งมีการแนะนำการใช้โปรแกรม เพิ่มกิจกรรมโภชนาการและการออกก าลังกาย โดยมีรางวัลจูงใจ จ านวน 5 รางวัล ผู้รับผิดชอบงานขอความร่วมมือหัวหน้ากลุ่มงานติดตามการ บันทึกข้อมูลรอบเอว และน้ำหนักของสมาชิกในทีมที่ต้องทำบันทึกข้อมูลทุกเดือน โดยมีแผนวิเคราะห์และคืนข้อมูลใน

เดือน เมย. 2563 ทั้งนี้พบปัญหาของการจัดโปรแกรมการควบคุมน้ำหนักได้ 2 ครั้ง จากแผน 3 ครั้ง

เอกสารเพิ่มเติม: https://drive.google.com/file/d/1yeh6gZMTvS1F0ndsOQqguc4b4z0hKNQJ/view?usp=sharing

มิติที่ 2 การจัดการข้อมูลและความรู้ เป้าหมายระดับ 5 คือ ร้อยละ 50 ของบุคลากรในหน่วยงานนำข้อมูล&ความรู้ ขึ้นเวปไซด์หน่วยงาน ซึ่งคณะกรรมการสื่อสารสาธารณะฯ น าออกสารแนบเข้าระบบ DOC ในทุกประเด็นตามเกณฑ์ของตัวชี้วัดเรียบร้อยแล้ว



มิติที่ 3 ความผูกพันต่อองค์กร ขณะนี้อยู่ระหว่างการทำแบบประเมินความผูกพันของบุคลากรต่อองค์กร ครั้งที่ 2 ประจ าปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ซึ่งระบบปิดวันที่ 15 เมย. 2563



3.8 ตัวชี้วัดที่ 2.3 ร้อยละของการเบิกจ่ายงบประมาณ

ศูนย์ฯ ได้รับงบดำเนินงนาอย่างเดียว สิ้นไตรมาส 2 ต้องส่งรายงาน 2 ประเด็นคือ

1. ผลการเบิกจ่ายงบดำเนินงาน เป้าหมายการเบิกจ่ายร้อยละ 96 ผลการเบิกจ่ายร้อยละ 99.94  ผ่านค่าเป้าหมาย

2. ผลการเบิกจ่ายภาพรวมเป้าหมายร้อยละ 96 ผลการเบิกจ่ายร้อยละ 99.94 ผ่านค่าเป้าหมาย



3.9 ตัวชี้วัดที่ 2.4 ระดับความสำเร็จของการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนกรมอนามัยก้าวสู่องค์กรที่มี



สมรรถนะสูงตามแนวทาง PMQA2558/PMQA 4.0



การดำเนินงานตามแผนพัฒนาการดำเนินงาน PMQA 4.0 โดยแผนงานจากการวิเคราะห์การพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการจัดแผนงานยุทธศาสตร์ของหน่วยงานเพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ จากการขออนุมัติแผนรอบ 6เดือนหลัง ได้รับการอนุมัติแผนในรอบที่ 2



3.10 ตัวชี้วัดที่ 2.5 ระดับความสำเร็จของการดำเนินงานบรรลุเป้าหมายตามแผนปฏิบัติการหน่วยงาน การดำเนินการในระดับที่ 1-3 การประเมินกระบวนการในการจัดทำ บริหาร ควบคุม และกำกับ การดำเนินงานได้ดำเนินการตามเกณฑ์ของตัวชี้วัดระดับ 4-5 ปรับปรุงข้อมูลการดำเนินงานตามแผนในระบบ DOC ให้ตรงการการเบิกจ่ายของระบบ GF และรอข้อมูลสุดท้ายวันที่ 31 มีค. 2563 เพื่อให้ยอดเบิกจ่ายตรงกัน แต่พบปัญหาเรื่อง Timeline ของระบบ GF ซึ่งปิดระบบในวันที่ 31 มีค.63 แต่ระบบ DOC ปิดการบันทึกข้อมูลในวันที่ 30 มีค. 63 ส่งผลให้การดำเนินงานใน 2 ระบบไม่ตรงกัน

ที่ประชุม : รับทราบ

วาระที่ 4 การปรับปรุงแผนการปฏิบัติงานปีงบประมาณ 2563 รอบ 6 เดือนหลัง

4.1 แนวทางการปรับปรุงแผนปฏิบัติการรอบ 6 เดือนหลัง หลักการงดการประชุมคนจำนวนมาก หากมีการประชุม ควรปรับกระบวนการเป็นการประชุม Conference และการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มวัยต่างๆ ภายใต้สถานะการณ์โควิด-2019 มอบหมายทุกกลุ่มงานปรับแผนการดำเนินงานและส่งในกลุ่มไลน์คณะกรรมการบริหารศูนย์ฯ ภายในเช้าวันที่ 3 เมย. 2563  การเบิกจ่ายสำหรับการประชุม Conference จัดเป็นการประชุมราชการ สามารถเบิกค่าอาหารกลางวัน  มื้อละไม่เกิน 120 บาท อาหารว่าง 35 บาท



ประธานมอบหมาย : หัวงานการเงินและบัญชี ศึกษาระเบียบการจัดอบรมผ่านระบบ Conference เรื่องการเบิกจ่ายค่าตอบแทนวิทยากร



ปิดประชุม เวลา 16.30 น.



นางพรรณวิไล เลิศไกร บันทึกรายการประชุม

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน