คุณกำลังมองหาอะไร?

รุปบทเรียนระบบงาน IC กับระบบการดูแลผู้ป่วย CO-WARD (1/5/2563)

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

24.09.2563
19
0
แชร์
24
กันยายน
2563

วันที่ 1 พฤษภาคม 2563 เวลา 09.00-12.00 น.  เจ้าหน้าที่ศูนย์อนามัยที่11 ประกอบด้วย นายแพทย์วินัย ตันติธนพร และนายแพทย์สมปราชญ์ จิตรศรีสวัสดิ์  คณะกรรมการ IC ตัวแทนผู้ป่วยใน อนามัยสิ่งแวดล้อม  และอุบัติเหตุฉุกเฉิน  ได้ร่วมประชุมสรุปบทเรียนจาการดูงานระบบงาน IC กับระบบการดูแลผู้ป่วย CO-WARD ระบบงานห้อง LAB  ระบบงานทันตกรรมและระบบคัดกรอง จากโรงพยาบาลท่าศาลา  เพื่อนำองค์ความรู้ที่ได้รับมาปรับใช้ที่โรงพยาบาลศูนย์อนามัยที่11



โดยมีสาระการประชุม ดังนี้



ผู้อำนวยการ  กล่าวเปิดประชุม 



- จากการเกาะติดข่าวสถานการณ์ COVID พบผู้ป่วยลดลง การปลดล็อคดาวน์คงพร้อมกันทั่วประเทศ



- จังหวัดนครศรีธรรมราช อะไรที่ปิดอยู่ก็ยังปิดต่อ ปิดจนถึง 3 พค 63 6 setting คือ ตลาด ร้านเสริมสวย สนามกีฬา ร้านอาหาร ร้านค้าปลีก



นายแพทย์สมปราชญ์ กล่าว >> เป็นโอกาสที่ดีที่ได้ไปดูงานที่รพท่าศาลา ทำให้ได้องค์ความรู้เพิ่มขึ้น คิดว่าที่รพ ศูนย์อนามัยที่11



ยังคงต้องปรับปรุงระบบงาน IC ระบบการดูแล ผู้ป่วย COVID  Cohort ward  และได้ให้สมาชิก สรุปผลจากการไปดูงานรพท่าศาลา



1.จุดคัดกรอง  (จิรภัทร)



-  มียามโบกรถให้เข้าผู้บรับบริการเข้าให้ถูกทาง



-  มีประชาสัมพันธ์พูดกับไมโครโฟนชี้แจงผู้รับบริการขั้นตอน social distancingและล้างมือ



-  ทำจุดsocial distancing  ใว้ให้ผู้รับบริการ



- น้ำยาล้างมือมี 2แบบ คือแบบ กดเท้าเหยียบกับแบบเซนเซอร์



- มีพยาบาล2คนscreening วัดไข้  ถามอาการ ติดสติ๊กเกอร์  ระบบงานเป็นone stop service



ถ้า screen พบเป็น ARI ให้นั่งรอในเต้นท์  ถ้าปกติไม่มีไข้ให้ผู้รับบริการขึ้นชั้น 2  ถ้าสงสัย PUI ให้ใส่หน้ากาก  surgical mask



พยาบาลที่ screen พบคนแรกเดินนำหน้าคนไข้ห่างกัน 1 เมตร  ไปที่จุดแยก ขอเบอร์โทรชื่อสกุล  จากนั้นโทรหาทีม ICN



ทีมสอบสวนโรคมาซักประวัติคุยกันทางโทรศัพท์  กรณีคนไข้ต้องเข็นเวรเปลใส่ชุด PPE   รายงานแพทย์มาทำ swab



และadmitทุกราย



- กรณีรับผู้ป่วยมาจากชุมชนในเวลาราชการ ถ้าต้องไปรับผู้ป่วยก็ให้พยาบาลICN  ไปรับ



- ถ้าเขามาเองให้แจ้งมาว่าทะเบียนรถอะไร ยามจะจัดที่จอดรถใว้ให้ มาถึงห้ามลงจากรถ



- กรณีนอกเวลาราชการ ใช้ทีม EMS



- 2.จุดward  ( ชนธิรา)



- มีห้อง Negative pressure 2 ห้อง ห้องรวม 3 ห้อง



ผู้ป่วย admit ครั้งแรกขอเบอร์โทรแล้ว  ให้เข้าห้องเลยพยาบาลโทรเข้าไปแนะนำ orentation  สถานที่ความรู้เรื่องโรค



ขั้นตอนการให้บริการของแพทย์พยาบาล สิ่งที่ผู้รับบริการต้องทำเองเช่นวัดไข้วัดความดันการล้างทำความสะอาดห้องน้ำ



การจัดการกับขยะติดเชื้อในห้อง



-  มีการทำกลอนหน้าประตูลอคเพื่อป้องกันผู้รับบริการเดินออกมาข้างนอก (อธิบายผู้ป่วยก่อนadmitถึงความจำเป็น)



-  การจัดห้องคนไข้ไม่เปิดแอร์แต่พัดลมเปิดได้บางครั้ง ถ้าทีมจะเข้าห้องผู้รับบริการจะโทรบอกให้เขาปิดพัดลมประมาณ 10 นาที



- มีถัง 2 ถัง  เป็นถังขยะติดเชื้อใส่ถุง 2 ชั้น  ใว้เก็บขยะทั่วไป 1ถัง กับเสื้อผ้า1ถัง หลังผู้รับบริการเก็บขยะและเสื้อผ้าใส่ถุงเสร็จ



ให้ผูกถุงให้แน่นฉีดสเปรย์ที่ปากถุง คนที่เข้าไปทำหัตถการเป็นผู้หยิบขยะติดเชื้อมา  มาใส่ถังหน้าห้อง ถังนี้มีถุงแดง 1 ชั้น



ผูกอีกครั้งฉีดสเปรย์แล้วพาไปห้องพักขยะ รอคนงานนำไปทิ้งด้านล่างเวลา16.00นคนงานที่พาขยะไปทิ้งแต่งกาย



ใส่ชุดกาวน์ธรรมดา



- CASE  PUI ที่ ผล  swab  negative การจัดการขยะเหมือนกับการรวบรวมขยะติดเชื้อทั่วไป



- ผ้าผู้ป่วย covid แยกซักกับคนไข้อื่น  ซักหลังสุดมีการแช่น้ำยา



- หน้าห้องผู้ป่วยหลังเจ้าหน้าที่ใส่ชุด PPE ออกมามีถาด 1 ใบวางผ้าเช็ดเท้าที่ฉีดน้ำยาให้คนใส่ชุด PPR เหยียบ



 เป็นน้ำยา vercal 1 ซองต่อน้ำ 1 ลิตร



- ให้ญาติคนไข้นำของที่จำเป็นที่อยากได้เช่นโทรศัพท์  สายชาต



- ยาคนไข้กินเอง



- อาหารเป็น single use



- ให้ผู้ป่วยวัดไข้เองและวัดความดันเองให้เขาถ่ายรูปหรืออ่านให้พยาบาลฟัง มีเครื่องวัดความความดันแบบดิจิตอลและปรอทแบบดิจิตอล ใว้ประจำห้อง หลังใช้เสร็จให้เขาทำความสะอาดโดยเช็ดกับแอลกอฮอล์ pad



- หน้าประตู ward มีทะเบียนเซนต์ชื่อเข้าออกทุกคน เช่น แพทย์ พยาบาล ญาติ  มีรายละเอียดชื่อ สกุลที่อยู่



เบอร์โทรเวลาเข้าออกประวัติเดินทาง อาการไข้ ทะเบียนเล่มนี้เก็บใว้ 30 วัน



- ระบบการจัดเวร full เวรพยาบาลทุกแผนกมาขึ้นเวร จัดเวร 2 คน ให้ขึ้น 6 วัน 9 เวรถ้าเป็น  case covid ให้หยุด 14 วัน  ในกรณีคนสัมผัส



- มีทีมพี่ๆ IC สอนซ้อมคนที่มาอยู่เวรใส่ชุดถอดชุดรวมไปถึงสอนเวรเปลคนงานให้ชำนาญในการใส่ชุดถอดชุด ต้องมีคนคอยช่วยควบคุมกำกับทุกครั้ง จะ save เจ้าหน้าที่เป็นอันดับแรก



- อุปกรณ์ที่ใช้ทำความสะอาดแยกหมดบริเวณเคาน์เตอร์ 1 ชุด ห้องผู้ป่วย 1 ชุด



- มีการขีดเส้นลูกศรที่หน้าห้องผู้ป่วยเป็นช่องทางที่คนสะอาดเดินกับช่องทางที่คนใส่ชุด PPE จะไปถอดชุดที่ห้องถอดชุด



- ห้องถอดชุด PPE  ให้เดินเข้าไปตามลูกศร  ในห้องจะมีรูปเท้าให้เรายืน  มีกระจกด้านหน้าเต็มตัวให้เรามอง ซีกด้านขวามือ จะมีถังขยะ 2 ใบ ถังใส่แว่นตา 1 ถัง



ถังใส่รองเท้าบูท 1 ถัง



ขั้นตอนการถอด



1. ถอดผ้ากันเปื้อนแล้วถอดถุงมือคู่ที่ 1 ใส่ถัง



2. ถอด face shield 1 ใส่ถัง



3. รูดซิบเสื้อและถอด hood



4. ถอดแขนเสื้อออกพร้อมถุงมือคู่ที่ 2



5. ถอดขากางเกงพร้อมรองเท้าบูท



6. หยิบชุดและบูทลงถัง



7. ถอดcover leg  และใส่รองเท้า โซนฝั่งซ้าย



8. เมื่อใส่รองเท้าลำลองเสร็จเดินข้ามมาฝั่งนี้  ถอดถุงมือคู่ที่ 3 และล้างมือ



9. ถอดหมวกและล้างมือ



10. ถอดแว่นตาและล้างมือ



11. ถอดmask N 95



12. ล้างมือ  เดินวนไปห้องอาบน้ำในห้องอาบน้ำ  จะมีเครื่องอบหน้ากากอนามัย  อบประมาณ 15-30 นาที ใส่ถุงเขียนชื่อมีบอร์ดแขวนใว้ N95 ของใครบ้าง



- รองเท้าที่ใส่มาจากห้องถอดเข้าไปอาบน้ำเมื่ออาบเสร็จเปลี่ยนมาเป็นคู่สีขาวเข้าไปทำงานต่อมีถังใว้ใส่ชุดลำลอง



3. จุด ER (จิรภัทร)



- มีตู้  negative pressure 2 ตู้  ใว้พ่นยาผู้ป่วยทั้งแบบนั่งแบบนอน พ่นได้ทีละคน  มีท่อระบายลมออกด้านหลังห้องเพราะไม่มีบ้านคน  ที่ ward มีเครื่องพ่นยาในห้อง negative pressure มีระบบ Filter  พ่นยาเสร็จระบายอากาศ 15 นาที  ทำความสะอาดเช็ดด้วยแอลกออล์ 



แพทย์สมปราชญ์ให้ข้อเสนอแนะ >>  ที่ward ศอ.ที่11 ไม่มีการพ่นยาแบบ NB เลย 100% ให้พ่น ยา แบบ MDI ด้วย spacer 6-8 puff +steroid



ถ้ามี case Arrest ที่ไม่ใช่อุบัติเหตุ ให้ใส่ ชุด PPE  3 คน แพทย์ 1 คน พยาบาล 2 คน



ถ้าผู้ป่วยมีปัญหาระบบทางเดินหายใจ มีอาการเหนื่อยหอบแต่ไม่ Arrest ให้ Ambu bag ไป  แล้ว refer รพ.มหาราช



 ถ้า ใส่ ET tube อาจทำให้สำรอก เอา secretion ออกมาทำให้เกิดการแพร่กระจายเชื้อ



แพทย์ รพ. ท่าศาลา ที่ ER  ใช้ VDO Laryngoscope  เพื่อให้ใส่  ET TUBE ได้ครั้งเดียว ลดการแพร่กระจายเชื้อ



ข้อเสนอแนะจากที่ประชุม



1.ให้จัดตารางเวรพยาบาล1คน  ถ้าพยาบาลจำเป็นต้องใส่ชุด PPE อาจมี Flow ให้พยาบาลward หรือ ER  เป็นพยาบาล buddy มาช่วยถอดชุด



2.ให้ทีมIC ช่วยวางระบบ เช่น จุดพักขยะ -ขีดเส้นทางเดินไปห้องถอดชุด PPE



3. แนวทางการใส่ชุด กรณี PUI กับ COVID



4. การทำห้องผู้ป่วย COVID 2,3,4 ให้ด้านหลังเป็น กรงเหล็ก



5. การทำห้องถอดชุดกับห้องอาบน้ำ อาจต้องกั้นครึ่งกลางในห้องพิเศษ1 หรืออาจเจาะ ผนังห้องพิเศษ 2 กับห้องพิเศษ 1



6. หาจุดล้างรองเท้าบูท กับ แว่นตา บริเวณไหน



7. ให้คุณหมอสมปราชญ์และคุณหมอวรลักษณ์ ประสานอาจารย์ปิยะ ในกระบวนการ care process



8. ให้ward 1 ทำทะเบียนเซนต์ชื่อ แพทย์พยาบาล ญาติ

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน