คุณกำลังมองหาอะไร?

กา

การประชุม เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติงาน “เครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน” (21/6/2563)

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

24.09.2563
74
0
แชร์
24
กันยายน
2563

ตามที่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สนับสนุนเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน ให้ดำเนินงานโครงการเครือข่ายรอบรู้ ด้านอาหารและเครื่องดื่ม (Food Literacy) เพื่อสร้างเสริม พฤติกรรมการบริโภค น้ำตาลที่เหมาะสม  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ และวิชาการ สนับสนุนกระบวนการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ ในการลดการบริโภคน้ำตาล และพัฒนาแนวทางสร้างความรอบรู้ ด้านอาหารแก่ภาคีเครือข่าย



มูลนิธิทันตสาธารณสุข แห่งประเทศไทย ในฐานะองค์กรรับทุน จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จึงเชิญ เครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวานระดับพื้นที่ เข้าร่วมประชุม เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติงาน และวางเป้าหมายการดำเนินงานร่วมกัน ในวันที่  5 มิถุนายน 2563 โดย มี ทญ.ปิยะดา ประเสริฐสม  ผู้จัดการเครือข่าย  เด็กไทยไม่กินหวาน เป็นประธานการประชุม และมี เครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวานระดับพื้นที่อีกร้อยกว่าแห่ง จากทั่วประเทศ รวมทั้ง งานทันตสาธารณสุข ศูนย์อนามัยที่ 11 ในบทบาท เครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวานระดับพื้นที่ เข้าร่วมการประชุมออนไลน์ ผ่านโปรแกรม “Zoom” ด้วย



การประชุมช่วงเช้าเป็นการนำเสนอวัตถุประสงค์ และแผนงานโครงการในภาพรวม ดังนี้



วัตถุประสงค์โครงการ



1. เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และวิชาการในการสนับสนุนกระบวนการนโยบายสาธารณะ  ในประเด็นการลดการบริโภคน้ำตาล



2. เพื่อพัฒนาแนวทางในการสร้างความรอบรู้ด้านอาหารแก่ภาคีเครือข่าย



3. สื่อสาร รณรงค์ ให้ความรู้ เรื่องน้ำตาลและสารให้ความหวาน ให้ตระหนักในการเลือกบริโภค “หวานน้อยสั่งได้” และ “บริโภคน้ำตาลไม่เกิน 6 ช้อนชา ต่อวัน”



4. พัฒนาเครือข่ายการดำเนินงานร่วมกันกับแผนงาน/โครงการอื่นของ แผนอาหารเพื่อสุขภาวะ



แผนการดำเนินงาน



1.แผนวิชาการ : การพัฒนาวิชาการและจัดการความรู้



1.1 งานวิชาการเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบาย



1.2 งานวิชาการเพื่อสนับสนุนและขยายผลการศึกษา (พัฒนางานและประเมินผลในพื้นที่)



2.เครือข่ายพื้นที่ : การพัฒนาเครือข่ายพื้นที่



การประชุมช่วงบ่าย เป็นกิจกรรมการประชุมกลุ่มย่อย ในระดับภาค เพื่อทำแผนการขับเคลื่อนงานในภาคระดับภาค โดยมี คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นประธานภาคใต้



กำหนดกรอบแผนดังนี้



1. ผลักดันให้เกิดความรอบรู้ในการเลือกซื้อ เลือกกิน อาหารที่ปลอดภัย โดยการผลักดันเรื่องหลักสูตร และ สื่อทางเลือกในการให้ข้อมูลความรู้ผ่าน Chatbot



2. สร้างกระแส “ไม่กินหวาน” ผ่าน แบรนด์ โรงอาหารอ่อนหวาน/ร้านกาแฟอ่อนหวาน/ การ mapping ร้านอาหารและร้านการแฟอ่อนหวาน



3. ทำงานบูรณาการร่วมกับประเด็นสุขภาพ



แผนที่จะต้องดำเนินการต่อ :



จัดทำแผนงานเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวานระดับพื้นที่ เขตสุขภาพที่ 11 โดย



1. ขับเคลื่อนนโยบาย หวานน้อยสั่งได้ และสนับสนุนนโยบายในระดับพื้นที่



2. จัดทำแนวทางการทำงานเพื่อร่วมกันพัฒนา โรงเรียนอ่อนหวาน และ ศพด.อ่อนหวาน



3. จัดทำแนวทางการดูแลมาตรการโรงเรียนปลอดน้ำอัดลม



4. ดำเนินกิจกรรม ผ่านกลุ่มเป้าหมายสำคัญ  คือ เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ทั้ง 13  เขต และเครือข่ายภาคการศึกษา ในเขตสุขภาพที่ 11 ทุกสังกัด และภาคีอื่นๆ โดยเฉพาะประเด็น การขับเคลื่อนเรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อม ในโรงเรียน เรื่องการจำหน่ายอาหารว่างและเครื่องดื่มในสถานศึกษา สนับสนุนนโยบายระดับพื้นที่ เช่น โรงอาหารอ่อนหวาน ศพด.อ่อนหวาน Healthy meeting ร้านกาแฟอ่อนหวาน องค์กรอ่อนหวาน



5. จัดกิจกรรม พัฒนาทักษะสุขภาพ และส่งเสริมความรอบรู้ด้านการบริโภค (Food Literacy) ในเด็กวัยเรียน ผู้ปกครอง และชุมชนผ่าน การบูรณาการหลักสูตร และ เผยแพร่ application food choice ในโรงเรียน และองค์กรเป้าหมาย



ซึ่งการดำเนินงานขับเคลื่อน จะบูรณาการ ในแผนงานการขับเคลื่อน ตามภารกิจหลักของศูนย์อนามัยที่ 11 ที่ดำเนินการในเขตสุขภาพที่ 11

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน