คุณกำลังมองหาอะไร?

ศู

ศูนย์อนามัยที่ 11 ร่วมประชุมคณะอนุกรรมการจังหวัดชุมพร ตามพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวันรุ่น ครั้งที่ 1 / 2564

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

21.04.2564
0
0
แชร์
21
เมษายน
2564

ประชุมคณะอนุกรรมการจังหวัดชุมพร ตามพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวันรุ่น ประธาน โดยนายสัมฤทธิ์ กองเงิน รองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร ( ได้รับมอบหมายจากผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร ) วันที่ 20 เมษายน 2564 ณ ห้องประชุม ธ พุทธรักษา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชุมพร ผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 28 คน เป็นการประชุมครั้งที่ 1 / 2564
จากการประชุมคณะทำงานของคณะอนุกรรมการเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2564 โดยนายแพทย์ สสจ.ชุมพร เป็นประธาน และคณะทำงาน ตัวแทนหน่วยงานต่างๆ รวม 59 คน ได้วิเคราะห์สถานการณ์แบบบูรณาการ พบว่าปัญหาคือการคลอดมีชีพของเด็กอายุ 10-14 ปี ยังไม่เกินเกณฑ์ 1:1,000 แต่มีอัตราสูงที่สุดในเขตสุขภาพที่ 11 ( ใต้บน ) และอัตราการตั้งครรภ์ซ้ำ มารดาวัยรุ่น ร้อยละ 15 กว่า ( สถานการณ์นี้ไม่แตกต่างจากประเทศ ) แต่มีแนวโน้มสูงขึ้นของจังหวัดชุมพร และได้ร่วมกันจัดทำแผนในปี 2564
และเป็นการติดตามจากการประชุมคณะอนุกรรมการฯเมื่อปี 2563 จากประธาน #ให้ทุกอำเภอจัดทำแผนบูรณาการทุกภาคส่วนโดยเฉพาะ อปท.ต้องมีส่วนร่วม
และมีประเด็นจากคณะทำงานเรียนถามถึงคณะอนุกรรมการจังหวัด
- อปท.ได้มีการจัดตั้งศูนย์พัฒนาครอบครัว ( ศพค.) ควรจะมีการดำเนินงานการแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น และความเสี่ยงอื่นๆ ในพื้นที่ ???
- ในสถานศึกษา เมื่อมีเด็กตั้งครรภ์ควรจะมีนโยบายชัดเจนจากผู้บริหาร ในระบบการช่วยเหลือนักเรียน ???
และเวทีได้มีการแลกเปลี่ยนในการดำเนินงาน ช่องทาง และข้อเสนอแนะข้อสังเกต ตัวแทน RSA ถึงช่องทางการช่วยเหลือการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย การเข้าถึง ระบบการส่งต่อ เชื่อมโยงกันทั่วประเทศ โดยมีศูนย์อนามัยที่ 11 ดำเนินงานอย่างเข้มแข็ง และจากสถานการณ์ที่คิดว่าเป็นปัญหาของจังหวัด มีช่องว่าง ตรงไหนที่เด็กตั้งครรภ์ซ้ำ
หรือการเข้าไม่ถึงบริการอย่างไร
ตัวแทนภาคเอกชน บ้านเอื้อพร ในปัจจุบันรับผิดชอบเด็ก ประมาณ 30 กว่าคน เด็กหลายคนไม่มีเลข 13 หลัก ได้รับการศึกษา แต่เด็กไปเรียนหนังสือแล้วถูก Billy ทำให้เด็กไม่อยากไปเรียนหนังสือ คุณครูหนุ่ย ต้องการเชื่อมโยงกับเครือข่าย เพื่อจัดตั้งศูนย์
การเรียนรู้ให้เด็กเหล่านี้
ตัวแทนจากสภาเด็กและเยาวชน มีแนวคิดและหลักสูตรที่มีความสอดคล้องกับปัญหาวัยรุ่นในปัจจุบัน คือ ช่องทางให้เด็กเข้าถึงวัยรุ่นด้วยกัน เพื่อแนะนำช่องทางในการเข้าถึงบริการต่างๆตามสิทธิ์ และรักษาความลับ การสื่อสารกับพ่อแม่ ในครอบครัว
มีแผนดำเนินการ ฯลฯ
และได้มีการนำเสนอแผน โดยมีความสอดคล้องกับมาตราต่างๆ กฎกระทรวง และแผนยุทธศาสตร์ ตามพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น 2559 ครอบคลุม ทั้ง 5 ยุทธศาสตร์ จำนวน 42 แผนงาน ยังขาดแผนพัฒนาศักยภาพเพื่อจัดหลักสูรการเรียนการสอนเพศวิถีศึกษา เพื่อ เด็ก้กิดทักษะการคิดวิเคราะห์ในด้านต่างๆ และควรจะมีการทำ Case Management ในกรณีที่มีปัญหาการทำแท้ง
ข้อเสนอแนะจากประธานควรจะมีการประชุมครั้งที่ 2 และมาวิเคราะห์ปัญหาทางด้านกระบวนการดำเนินงานตามแผน

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน