คุณกำลังมองหาอะไร?

ศู

ศูนย์อนามัยที่ 11 การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาชุดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็กวัยเรียน

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

24.05.2564
21
0
แชร์
24
พ.ค.
2564

ทพญ.ปิยะดา ประเสริฐสม ผู้อำนวยการสำนักทันตสาธารณสุข เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาชุดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็กวัยเรียน วันที่ 14 พฤษภาคม 2564 เวลา 9.00 – 16.00 น. ณ ห้องประชุมกองแผนงาน อาคาร 5 ชั้น 4 กรมอนามัย และผ่านระบบ video conference เพื่อพัฒนาแนวทางการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพช่องปากในโรงเรียนให้ เด็กวัยเรียนมีความรอบรู้มีความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปาก และมีพฤติกรรมช่องปากที่พึงประสงค์ โดยผู้เข้าร่วมการประชุม ประกอบด้วย ผู้รับผิดชอบงานส่งเสริมสุขภาพช่องปากในศูนย์อนามัยที่ 1-12 และ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ที่เป็นพื้นที่ตัวอย่างในการเก็บข้อมูลการสำรวจความรอบรู้สุขภาพช่องปากเด็กวัยเรียน ทั้ง 12 จังหวัด

การประชุมเป็นการอภิปราย เรื่องการส่งเสริมสุขภาพช่องปากภายใต้สถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 โดย ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และศ.ทญ.สุดาดวง กฤษฎาพงษ์ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ช่วงบ่าย ผศ.ทญ.ดร.ปิยะนารถ จาติเกตุ และ ทญ.ดร.ปิ่นปินัทธ์ วณิชย์สายทอง คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมอภิปราย ผลการศึกษาโครงการประเมินผลโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากและป้องกันโรคในโรงเรียนในเด็กวัยเรียน ชั้น ป.5 และ ป.6 ปี 2563 พบว่า เด็กวัยเรียนมีความรอบรู้ ด้านสุขภาพช่องปากระดับพื้นฐาน (Basic or Functional Health Literacy) เฉลี่ย 21.6 คะแนน จากคะแนนเต็ม 26 คะแนน (ซึ่งคะแนนมากกว่าหรือเท่ากับ 21 คะแนน หมายถึง มีความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากขั้นพื้นฐานที่เพียงพอ) โดยพบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 72 มีความรอบรู้เพียงพอต่อการส่งผลให้เกิดสุขภาพช่องปากที่ดี แต่เมื่อพิจารณาความรอบรู้รายด้านพบว่า คะแนนเฉลี่ยความรอบรู้สุขภาพช่องปากในด้านการบริโภคอาหารที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุ น้อยที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย 3.9 คะแนน จากคะแนนเต็ม 6 คะแนน และจากการสำรวจพฤติกรรมสุขภาพช่องปากพบว่า ร้อยละเด็กวัยเรียนที่มีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ด้านการแปรงฟัน และการบริโภคอาหารยังน้อยอยู่มาก โดยเด็กแปรงฟันตอนเช้าทุกวัน ร้อยละ 86.1 แปรงฟัน หลังอาหารกลางวันทุกวัน เพียงร้อยละ 28.7 แปรงฟันก่อนนอนทุกวันร้อยละ 60.4 และ เด็กมีการแปรงฟัน แบบ 222 คือแปรงฟัน 2 ครั้ง เช้าและก่อนนอนด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ แปรงฟันนาน 2 นาที และหลังแปรงฟันงดทานอาหาร 2 ชั่วโมง) เพียงร้อยละ 6.0 ด้านการบริโภคอาหาร พบว่า เด็กมีพฤติกรรมดื่มน้ำอัดลม เฉลี่ย 1.3 ครั้ง/วัน ดื่มน้ำหวาน เฉลี่ย 1.5 ครั้ง/วัน กินลูกอม เฉลี่ย 1.3 ครั้ง/วัน และกินขนมกรุบกรอบ 2.1 ครั้ง/วัน
ซึ่งแม้ผลการประเมินความรอบรู้การส่งเสริมสุขภาพช่องปากในเด็กวัยเรียนที่ดำเนินการประเมินในปี 2563 จะผ่านเกณฑ์แต่ ยังมีพฤติกรรมพึงประสงค์ ไม่สอดคล้องกับความรอบรู้ที่ประเมินได้ เนื่องจากการประเมินความรอบรู้ ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นเพียงการประเมิน Functional Health Literacy จึงยังไม่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนพฤติกรรม แต่การวัด Critical Health Literacy ยังไม่เหมาะสมในกลุ่มเด็กนักเรียน ที่ยังไม่เติบโตเพียงพอในการตัดสินใจ ดังนั้น การสร้างเสริมสุขภาพในโรงเรียน และการทำให้เกิดความรอบรู้ในเด็กนักเรียน จึงอาจไม่เพียงพอ จำเป็นจะต้องมีการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายในระดับต่างๆเพิ่มขึ้น และขยายกลุ่มเป้าหมายไปยังบุคคลอื่นๆที่อาจส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังเด็กนักเรียนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายผลลัพธ์ที่ต้องการ รวมทั้ง มีการปรับปัจจัยสิ่งแวดล้อม ร่วมด้วย

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน