คุณกำลังมองหาอะไร?

ศู

ศูนย์อนามัยที่ 11 นครศรีธรรมราช จัดกิจกรรมรณรงค์ “อาหารตามวัยสำหรับเด็กแรกเกิด – 5 ปี”สร้างความรอบรู้ให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง ในการส่งเสริมด้านโภชนาการสำหรับเด็ก

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

19.06.2564
28
0
แชร์
19
มิถุนายน
2564

วันที่ 18 มิถุนายน 2564 กลุ่มอนามัยแม่และเด็ก ศูนย์อนามัยที่ 11 นครศรีธรรมราช จัดกิจกรรมรณรงค์ “อาหารตามวัยสำหรับเด็กแรกเกิด – 5 ปี” เพื่อสร้างความรอบรู้ให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง ในการส่งเสริมด้านโภชนาการสำหรับเด็ก ได้รับอาหารที่เหมาะสมกับวัย ในสัดส่วนและปริมาณเพียงพอ เพื่อช่วยในการเจริญเติบโตเต็มศักยภาพ สูงดีสมส่วน และพัฒนาการสมวัย  กล่าวเปิดกิจกรรมโดยนางสาววีรวรรณ บุญวงศ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ หัวหน้ากลุ่มอนามัยแม่และเด็ก หลังจากนั้นคุณรัตนาภรณ์? ชุมจินดา? นักโภชนาการ ศูนย์อนามัยที่ 11 เป็นวิทยากรให้ความรู้เชิงปฏิบัติการ “อาหารตามวัยสำหรับเด็กแรกเกิด – 5 ปี” ผู้เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ เป็นพ่อ แม่ ผู้เลี้ยงดูเด็ก ที่มารับบริการที่คลินิกสุขภาพเด็กดี ศูนย์อนามัยที่ 11
องค์การยูนิเซฟและองค์การอนามัยโลก มีคำแนะนำให้เด็กกินนมแม่อย่างเดียว ในช่วง 6 เดือนแรกของชีวิต และให้กินนมแม่ต่อเนื่องเป็นเวลา อย่างน้อย 2 ปี เมื่อเด็กมีอายุ 6 เดือน ให้เลี้ยงด้วยนมแม่ควบคู่กับอาหารที่ปลอดภัย และเหมาะสมกับอายุเด็ก และควรได้รับอาหารมื้อหลัก และอาหารมื้อว่าง รวมวันละ 3 – 4
“อาหารตามวัยที่เหมาะสมสำหรับเด็กแรกเกิด – 5 ปี แบ่งได้ดังนี้
1) ทารกตั้งแต่แรกเกิด – 6 เดือน ให้กินนมแม่ อย่างเดียว โดยไม่ต้องให้น้ำหรืออาหารอื่น เพราะนมแม่มีสารอาหารครบถ้วน และเพียงพอต่อการเจริญเติบโตของลูก
2) ทารกอายุ 6 เดือนขึ้นไป การได้รับนมแม่อย่างเดียวไม่เพียงพอ จำเป็นต้องได้รับอาหารอื่น เพื่อให้ได้พลังงานและสารอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย และเสริมสร้างเซลล์สมองและสร้างภูมิคุ้มกันโรค โดยมีปริมาณและความหยาบของอาหารเพิ่มขึ้นตามอายุ โดยให้กินอาหารบดละเอียด วันละ 1 มื้อ ให้เป็นมื้อเช้า ควบคู่กับนมแม่ โดยไม่ใช้เครื่องปรุงรสทุกชนิด เพื่อฝึกให้เด็กได้เรียนรู้รสอาหารตามธรรมชาติ
3) ทารกอายุ 7 เดือน ให้กินอาหารบดหยาบวันละ 2 มื้อ เป็นมื้อเช้า มื้อกลางวัน และมื้อว่าง 1 มื้อควบคู่กับนมแม่
4) ทารกอายุ 8 เดือน เพิ่มความหยาบของอาหาร โดยสับละเอียด กินอาหารวันละ 2 มื้อหลัก เป็นมื้อเช้า มื้อกลางวันและมื้อว่าง 1 มื้อ ควบคู่กับนมแม่
5) เด็กทารกอายุ 9-11 เดือน เพิ่มความหยาบของอาหารโดยหั่นชิ้นเล็ก เพื่อฝึกการเคี้ยวอาหารของลูก กินอาหารมื้อหลัก 3 มื้อ และมื้อว่าง 1 มื้อ ควบคู่กับนมแม่
6) เด็กอายุ 1-3 ปี เป็นวัยที่ต้องได้รับพลังงานและสารอาหารเพิ่มขึ้น เพื่อเสริมสร้างเซลล์สมอง ระบบประสาท กระดูก ฟัน กล้ามเนื้อและอวัยวะต่าง ๆ ให้สมบูรณ์ ใน 1 วัน จึงต้องกินอาหารมื้อหลัก 3 มื้อ และอาหารว่าง 2 มื้อ และ
7) เด็กอายุ 4-5 ปี สามารถกินอาหารเองได้ ฝึกวินัยการกินให้เป็นเวลา ไม่กินจุกจิก กินอาหารมื้อหลัก 3 มื้อ และอาหารว่าง 2 มื้อ เพื่อลูกเติบโตอย่างเต็มศักยภาพ และพร้อมเรียนรู้ในกิจกรรมต่าง ๆ”

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน