คุณกำลังมองหาอะไร?

ศู

ศูนย์อนามัยที่ 11 ร่วมประชุมโครงการพัฒนาศักยภาพ แลกเปลี่ยน เพื่อหา ช่องว่างในการทำงานในการให้บริการที่เป็นมิตรสำหรับวัยรุ่นและเยาวชน ( Youth Friendly Health Servic : YFHS )

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

20.07.2564
3
0
แชร์
20
กรกฎาคม
2564

ณ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอหัวไทร อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธะรมราช
วันที่ 19 กรกฎาคม 2564 เวลา 8.30-16.30 น. ภายใต้สถานการณ์โควิด 2019 แต่ด้วยสภาพปัญหา ของความไม่พร้อม ขอวัยรุ่นของข้อมูลการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อม ในวัยเรียน ยังเป็นปัญหา ในช่วงระยะเวลาที่สถานการณ์โควิดระบาด เกิดผลกระทบหลากหลาย

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช ( งานส่งเสริมสุขภาพวัยรุ่น ) จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพ แลกเปลี่ยน เพื่อหา ช่องว่างในการทำงานในการให้บริการที่เป็นมิตรสำหรับวัยรุ่นและเยาวชน ( Youth Friendly Health Servic : YFHS ) โดยการจัดประชุม กึ่ง ปฏิบัติการ ภายใต้มาตรการ Socail Distancing ก่อนการประชุม ทางสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช ร่วมกับศูนย์อนามัยที่ 11 นครศรีธรรมราช กลุ่มงานวัยรุ่น ได้รวบรวมสถานการณ์ หรือ ตัวชี้วัดที่ส่งผลกระทบ กับวัยรุ่น คือ อัตราการคลอดมีชีพมารดา 10-14 ปี อัตราคลอดมีชีพมารดา 15-19 ปี อัตราการตั้งครรภ์ซ้ำในมารดาวัยรุ่น จำนวนวัยรุ่นแต่ละอำเภอที่เข้ารับบริการยุติการตั้งครรภ์ และ มูลนิธิแพธ ทู เฮลท์. ( P2H ) ได้ใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับบริการที่มิตรสำหรับวัยรุ่น ในระยะเวลา ประมาณ 2 สัปดาห์ ตอบแบบสอบถาม ออนไลน์ จำนวน 12 ข้อ กับเด็กอายุ 10-20 ปี ในจังหวัดนครศรีธรรมราช. จำนวน 389 คน และได้ข้อมูล ทั้งระบบบริการ การเข้าถึง ผลกระทบที่สามารถวัดได้ เพื่อพัฒนาคุณภาพเชิงระบบ วัยรุ่นเข้าถึงบริการได้ รับทราบช่องทางเมื่อเผชิญปัญหา ในหลายมิติ ร่างกาย จิตใจ สังคม การศึกษา

บรรยากาศในเวทีวันนี้ ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 30 คน ประกอบด้วย ผู้รับผิดชอบงานวัยรุ่น สสอ.หัวไทร โรงพยาบาลหัวไทร รพ.สต. อสม. ตัวแทน อปท. ผู้ดำเนินกิจกรรม ที่หลีกเลี่ยงการสัมผัส โดยการเว้นระยะห่าง ตามมาตรการ โดยมูลนิธิแพธ ทู เฮลท์ เน้นการคิดวิเคราะห์ และ ร่วมกันวางแผนที่เป็นไปได้ โดยการนำเสนอสถานการณ์ที่ได้กล่าวมา คือ จำนวนวัยรุ่นไปรับบริการยุติการตั้งครรภ์ ในรอบ 9 เดือน
ผลการสำรวจความคิดเห็นในภาพรวมของจังหวัดของจังหวัดนครศรีธรรมราช และ อำเภอหัวไทร อัตราที่วัยรุ่นรู้จักบริการที่มีในสถานบริการ คือการบริการที่เป็นมิตรสำหรับวัยรุ่นและเยาวชน ทราบและรู้ถึงบริการ ประมาณ ร้อยละ 50 และไม่ทราบร้อยละ 50 เมื่อเข้าถึงบริการสิ่งที่เจอ สีหน้าท่าทางของผู้ให้บริการ ไม่เป็นมิตร ประมาณ ร้อยละ 30 กลัวไม่เป็นความลับ ร้อยละ ประมาณ 30 ซึ่งเป็นโจทย์ที่ท้าทายสำหรับพื้นที่ ช่องทางการเข้าถึงบริการ

เวทีวันนี้ ทั้งสาธารณสุข และ อสม. Active ให้ความสนใจที่จะ แสดงความคิดเห็น ในการร่วมทำกิจกรรม การวางแผน เพื่อการพัฒนา กับปัญหาที่ท้าทาย โดย การสร้างกิจกรรม ร่วมคิดโดยการแบ่งเป็นตำบล ในการคิดวางแผนที่เป็นไปได้ ในการแก้ปัญหา ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ กลุ่มส่วนมาก เข้าใจในกิจกรรม และวางแผนที่ตอบสนอง กับสถานการณ์ ได้ดีทุกตำบล เชิงรูปธรรม และเป็นไปได้ และคิดว่าเป็นเวทีที่ เป็นประโยชน์ ในแนวทางที่จะพัฒนาเชิงระบบบริการให้มีความ ครอบคลุม รวมทั้งการร่วมทำงานของภาคีเครือข่าย กับ การสื่อสารสถานการณ์ต่างๆ ให้พื้นที่รับทราบ และ การออกแบบกิจกรรมที่พอดี ลงตัว

ภาพ/ข่าว:งานส่งเสริมสุขภาพวัยรุ่น

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน