คุณกำลังมองหาอะไร?

ศู

ศูนย์อนามัยที่ 11 ตรวจราชการและนิเทศงานในโครงการเกี่ยวกับพระราชวงศ์ หัวข้อโครงการราชทัณฑ์ปันสุข ทำความ ดี เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ของจังหวัดพังงา

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

02.08.2564
2
0
แชร์
02
สิงหาคม
2564

งานทันตสาธารณสุข ศูนย์อนามัยที่ 11 ตรวจราชการและนิเทศงานในโครงการเกี่ยวกับพระราชวงศ์ หัวข้อโครงการราชทัณฑ์ปันสุข ทำความ ดี เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ของจังหวัดพังงา ในวันที่ 30 กรกฎคม 2564 เวลา 13.00-15.00 น. โดยมีผู้รับผิดชอบงานโครงการราชทัณฑ์ปันสุข ทำความ ดี เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ของเรือนจำจังหวัดพังงา เรือนจำตะกั่วป่า และผู้รับผิดชอบงานสำนักงงานสาธารณสุขจังหวัดพังงา ร่วมรับการนิเทศ ผ่านระบบ VDO Conference โปรแกรม Microsoft Teams
โดย มีประเด็นการตรวจราชการ ใน การบริการสุขภาพช่องปาก

สถานการณ์สุขภาพช่องปากของผู้ต้องขังในเรือนจำ จังหวัดพังงา เปลี่ยนไป จากเดิม ที่ผู้ต้องขังส่วนใหญ่มีปัญหาโรคปริทันต์ จนนำไปสู่การสูญเสียฟัน แต่ปัจจุบัน ผู้ต้องขังส่วนใหญ่ติดยาเสพติด ซึ่งผลจากการเสพยา ทำให้สภาพช่องปากมีน้ำลายน้อย และการผุเป็นการผุที่ลุกลาม รวดเร็วทุกด้าน (Meth Mouth) จนนำไปสู่การสูญเสียฟันในที่สุด การดูแลรักษาและให้บริการทันตกรรม แม้จะมีการออกให้บริการบ่อยครั้ง คือ เรือนจำจังหวัดพังงา มีแผน ออกให้บริการเดือนละ 2 ครั้ง (ให้บริการในปีงบ 2564 แล้ว 14 ครั้ง) และ เรือนจำตะกั่วป่า มีแผน ออกให้บริการเดือนละ 1 ครั้ง (ให้บริการในปีงบ 2564 แล้ว 6 ครั้ง สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID -19 ทำให้ ไม่สามารถเข้าไปปฏิบัติงานได้) แต่ก็ไม่สามารถลดอัตราการสูญเสียฟันได้ เนื่องจากมีข้อจำกัดของการให้บริการทันตกรรม ทั้งประเภทของการจัดบริการ ในเรือนจำ ที่ไม่มี Dental unit ในเรือนจำ และจำนวนผู้ให้บริการในแต่ละครั้ง จึงเสนอให้ ใช้ SDF และการอุดฟัน ด้วย Glass Ionomer Cement เพื่อควบคุมการลุกลามของโรค ในเบื้องต้น และ แนะนำให้หน่วยงาน ทำหนังสือขอสนับสนุน รถหน่วยบริการทันตกรรมเคลื่อนที่ จากสำนักงานมูลนิธิ พอ.สว. ร่วมกับประสานทีมทันตบุคลากรในพื้นที่ ระดมกำลังเพื่อช่วยดูแล กลุ่มนี้ เพิ่มขึ้น ตามความจำเป็น เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการทันตกรรม และคุณภาพชีวิตในกลุ่มผู้ต้องขัง

นอกเหนือจากการให้บริการทันตกรรม เรือนจำทั้ง 2 แห่ง ยังมีกิจกรรมการจัดอบรม ฝึกทักษะ การตรวจฟัน การแปรงฟันให้ ผู้ต้องขัง และ ร่วมกับสโมสรไลออนส์ สนับสนุนแปรงและยาสีฟัน ให้กับผู้ต้องขังอีกด้วย

ส่วนประเด็นที่อยู่ในระหว่างการดำเนินการ คือ การจัดการเรื่อง การจัดการกลุ่มเป้าหมาย เข้าระบบรายงานข้อมูล ในระบบ HDC ของเรือนจำพังงา

นอกจากนี้ ข้อจำกัด ของการดำเนินงาน ที่เป็นจุดร่วมสะท้อนปัญหา หรือความเสี่ยงต่อความไม่สำเร็จของงาน ในทุกเรือนจำ คือ สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 หรือ โรคโควิด-19 (Coronavirus Disease 2019 : COVID-19) ซึ่งเป็นข้อจำกัดในการให้บริการทันตกรรม และ ข้อจำกัดของสถานที่ และวิถีชีวิต สภาพสังคม ของผู้ต้องขัง รวมถึงการจัดการเรื่องสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อมีการสุขภาพช่องปากที่ดี เช่น การจัดสถานที่แปรงฟัน การจัดการเรื่องช่วงเวลา และการกำหนดกิจกรรมวัตรประจำวัน ล้วนส่งผลถึงสุขภาพช่องปาก และคุณภาพชีวิต


จึงเสนอให้ จัดระบบบริการทันตกรรมเพิ่มเติมผ่าน Tele Dentistry ร่วมกับการใช้เทคโนโลยีในการสื่อสารด้วยกล้อง Stomatoscope จะช่วยเอื้อให้ทันตแพทย์สามารถดูแล สั่งการรักษา การส่งต่อ ได้สะดวกขึ้น และ ควรมีการประเมินกลุ่มผู้ต้องขัง ว่ามีกลุ่มย่อยอะไรบ้าง (social assessment) เนื่องจาก แต่ละกลุ่มมีการจัดการที่ต่างกัน ทั้งนี้เพื่อให้เข้าใจบริบท ในแต่ละเรือนจำ ดังนั้นการทำ social assessment โดยการสำรวจพูดคุยสถานการณ์เหมือนวางแผนแบบ precede proceed phase แรก น่าจะเป็นจุดเริ่มต้น ในการวิเคราะห์ปัญหา วางแผนการทำงานร่วมกัน ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขกับเรือนจำ อันจะนำมาซึ่งการจัดการที่เหมาะสม และสอดคล้องกับปัญหาที่แท้จริง

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน