คุณกำลังมองหาอะไร?

ศู

ศูนย์อนามัยที่ 11 นครศรีธรรมราชร่วมประชุมคณะอนุกรรมการจังหวัดพังงา ตามพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ครั้งที่ 2 / 2564 

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

18.08.2564
10
0
แชร์
18
สิงหาคม
2564

ประชุมคณะอนุกรรมการจังหวัดพังงา ตามพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ครั้งที่ 2 / 2564  โดยมีนายธรรมนูญ ศรีวรรธนะ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา เป็นประธาน นายแพทย์วิเศษ กำลัง รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพังงา เป็นเลขานุการ วัตถุประสงค์ เป็นการติดตามประเมินผลงานทางด้านกระบวนการและผลลัพธ์ กระบวนในการทำงานมีการทำงานเชิงบูรณาการในหลายภาคส่วน เช่น มหาดไทย สาธารณสุข พัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์ ระดับจังหวัด ระดับพื้นที่ ในการแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น
        สืบเนื่องจากกระบวนการทำงานเชิงคุณภาพ ทางสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพังงา งานส่งเสริมสุขภาพวัยรุ่น ได้มีการนำข้อมูลการตั้งครรภ์ซ้ำในมารดาวัยรุ่น ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ในต้นปี 2564 จำนวน 14 คน ร่วมมือกับพื้นที่ เก็บข้อมูล เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์เชิงคุณภาพ หาสาเหตุที่แท้จริง ถึงความพร้อม อายุ อาชีพ เศรษฐกิจ การศึกษา คู่ครอง ศาสนา การคุมกำเนิดก่อนและหลังคลอด คุณภาพชีวิตโดยภาพรวม ตัวอย่างเช่นพบว่า จำนวน 2 คน มีความพร้อม และ จำนวน 12 คนไม่มีความพร้อมในปัจจัยที่หลากหลาย และ การเก็บข้อมูลมารดาคลอดมีชีพอายุ 15-19 ปี จำนวน 95 คน นำข้อมูลเข้า MCH Board ระดับจังหวัด ในกระบวนการเหล่านี้ ทำให้แต่ละภาคส่วน ที่เกี่ยวข้อง มาร่วมใช้ข้อมูล ( แต่เน้นความลับ ) และนำผลการวิเคราะห์ ไปเข้าคณะทำงาน เพื่อวิเคราะห์เนื้องานที่ได้ดำเนินการ สำหรับผู้เกี่ยวข้อง ในระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล และเวทีคิดว่าเป็นกระบวนการที่ดีในการที่จะจัดทำแผนแก้ไขปัญหา รวมทั้งการทำแผนตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ในปี 2565 ต่อไป
        ข้อสังเกตในเวทีการมีส่วนร่วมของเครือข่ายดี และ สถานการณ์เกี่ยวกับอัตราคลอด การตั้งครรภ์ในวัยเรียน ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต ของเยาวชนหลากหลายด้าน แต่ในจังหวัดพังงา ที่มีกระบวนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง และมีทักษะในการนำเสนอที่ดี กระบวนการบูรณาการ ทำให้สิ่งเหล่านี้มีแนวโน้มที่ดีขึ้น อย่างต่อเนื่อง มีกระบวนการเยี่ยมบ้าน โดยมีรองผู้ว่าราชการจังหวัด พมจ. สาธารณสุข พื้นที่ลงร่วมกันและนำเคสรายกรณีที่เปราะบาง มา Conference เพื่อการช่วยเหลือในด้านต่างๆ โดยเฉพาะการศึกษาเป็นสิ่งที่ต้องมี อย่างน้อยการจบการศึกษาภาคบังคับ และยังมีชาวมอร์แกน ที่อาศัยที่หมู่เกาะสุรินทร์ มีเด็กปฐมวัยประมาณ 60 คน เป็นกลุ่มที่ไม่มีแหล่งทำกิน คิดว่ายังเป็นปัญหาที่ท้าทายอีกหลายประเด็น ที่ต้องอาศัยหลายภาคีเข้ามามีส่วนร่วม อย่างต่อเนื่อง
ประกอบกับมีโครงการที่สนับสนุนงบประมาณโดยท้องถิ่น หรือ Matching Fun ของมูลนิธิแพธ ทู เฮลท์ ที่ได้ร่วมกับอบต. ถ้ำ อบต.โคกเจริญ อบต. บ้านนา ในการสนับสนุนเครื่องมือในการสร้างกระบวนการเรียนรู้ คือ การเปิดห้องเรียนพ่อแม่ การพัฒนาแกนนำสภาเด็กและเยาวชน การพัฒนาคุณครูเพื่อจัดกระบวนการเรียนการสอนเพศวิถีศึกษา โดยมูลนิธฺิแพธ ทูเฮลท์ ( P2H ) ออกแบบกิจกรรมและเป็นวิทยากร สนับสนุนโดย บริษัทเชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิตจำกัด พื้นที่คิดว่ามีประโยชน์ และจะพัฒนาต่อและได้มีการนำเสนอ อปท.เป็นแหล่งเรียนรู้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ได้คัดเลือก เทศบาลตำบลบางนายสี อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ในปี 2564

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน