คุณกำลังมองหาอะไร?

ศู

ศูนย์อนามัยที่ 11 นครศรีธรรมราช ประชุมคณะทำงานโครงการอาสาพัฒนาเครือข่ายบริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะทางเพศให้วัยรุ่นและผู้หญิงท้องไม่พร้อม โดยสมาคมเครือข่ายอาสา RSA ครั้งที่ 3 / 2564

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

13.09.2564
0
0
แชร์
13
กันยายน
2564

ประชุมคณะทำงานโครงการอาสาพัฒนาเครือข่ายบริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะทางเพศให้วัยรุ่นและผู้หญิงท้องไม่พร้อม โดยสมาคมเครือข่ายอาสา RSA ครั้งที่ 3 / 2564
วันที่ 10 กันยายน 2564 เวลา 9:00 - 12:30 น. ผ่าน ระบบโปรแกรม Zoom Conference ออนไลน์
ประธานการประชุม โดยนายแพทย์เรืองกิตติ์ ศิริกาญจนกูล นายกสมาคมฯ
ผู้เข้าร่วมประชุม ผู้จัดการโครงการ ที่ปรึกษาโครงการ หัวหน้ากลุ่มพัฒนาประชากรและผู้รับผิดชอบงานสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เจ้าหน้าที่โครงการ ผู้รับผิดชอบงานดูแลระบบการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย ศูนย์อนามัยที่ 2,6,8,11 รองผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ และสายด่วน 1663
วัตถุประสงค์ เพื่อ หารือวางแนวทางในการดำเนินงานตามกิจกรรมของโครงการให้บรรลุตามตัวชี้วัดที่ได้กำหนดไว้
ตามที่กรมอนามัย โดยสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ ร่วมกับสมาคมพัฒนาเครือข่ายอาสา RSA จัดทำโครงการอาสาพัฒนาเครือข่ายบริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะทางเพศให้วัยรุ่นและผู้หญิงท้องไม่พร้อม ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหน่วยบริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยให้เกิดเครือข่ายการส่งต่ออย่างเป็นระบบ สร้างการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของสายด่วนปรึกษาเอดส์และท้องไม่พร้อม 1663 และเครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงท้องไม่พร้อม สำหรับการดำเนินงานร่วมกันจึงมีความจำเป็นประชุมคณะทำงานโครงการฯ เพื่อวางแนวทางกิจกรรมความก้าวหน้าตามตัวชี้วัด และวางแผนการดำเนินงานร่วมกันระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2563 - เดือนมกราคม 2565 ระยะเวลา 15 เดือน โครงการมีวัตถุประสงค์ข้อหนึ่งคือ พัฒนาหน่วยบริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยให้เกิดเครือข่ายการส่งต่ออย่างเป็นระบบการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์นี้ สมาคมพัฒนาเครือข่ายอาสา RSA จะดำเนินการร่วมกับกลุ่มงานพัฒนาประชากรสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามวัตถุประสงค์
การดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ข้อนี้ โครงการจะสร้างการมีส่วนร่วมโดยจัดการประชุมคณะทำงานพัฒนาเครือข่ายการส่งต่อบริการ เพื่อวางแนวทางกิจกรรมความก้าวหน้าตามตัวชี้วัด และการดำเนินการ โดยมี
ตัวชี้วัดโครงการ
1. เกิดเครือข่ายส่งต่อบริการยุติการตั้งครรภ์ในเขตสุขภาพอย่างน้อย 3 เขต (จาก 4 เขตสุขภาพ)
2. จำนวนหน่วยบริการยุติการตั้งครรภ์เพิ่มขึ้นโดยรวมร้อยละ 10 (จากหน่วยบริการเมื่อเริ่มโครงการพ.ย.63)
3. เครือข่ายอาสา RSA ได้นำประสบการณ์บริการไปใช้ร่วมพัฒนาแนวปฏิบัติและระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับบริการยุติการตั้งครรภ์ในส่วนกลาง
วันนี้เป็นการนำเสนอผลการดำเนินงานตามโครงการอาสาพัฒนาเครือข่ายส่งต่อบริการฯ (เดือนเมษายน-สิงหาคม 2564) ของสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย ศูนย์อนามัยที่2,6,8,11 โครงการอาสาพัฒนาเครือข่ายส่งต่อบริการฯ (RSA) โครงการ 1663 สายด่วนปรึกษาเอดส์และท้องไม่พร้อม มีข้อเสนอแนะจากที่ปรึกษาโครงการให้สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ รับในส่วนของการเป็น ศูนย์รับเรื่องร้องเรียน ไปอีกหนึ่งกิจกรรมด้วย

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน