คุณกำลังมองหาอะไร?

ศู

ศูนย์อนามัยที่ 11 ร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาองค์ความรู้การยกระดับ Practice สู่ Best Practice การส่งเสริมสุขภาพสตรีและเด็กปฐมวัย ภายใต้กิจกรรมสำคัญ กิน กอด เล่น เล่า นอน เฝ้าดูฟัน

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

29.11.2564
13
0
แชร์
29
พฤศจิกายน
2564

กิจกรรมนี้มีวัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรและภาคเครือข่ายในการยกระดับ Practice สู่ Best Practice ด้านการส่งเสริมสุขภาพสตรีและเด็กปฐมวัยภายใต้กิจกรรม กิน กอด เล่น เล่า นอน เฝ้าดูฟัน
2. เพื่อเตรียมความพร้อมสู่เวทีถอดบทเรียนความสำเร็จพื้นที่ต้นแบบการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพสตรีและเด็กปฐมวัยที่เป็นเลิศ (Best Practice) 4 ภาค
โดยมี ดร.แพทย์หญิงสายพิณ โชติวิเชียริ ผู้อำนวยการสำนักโภชนาการ กรมอนามัย กล่าวเปิดการประชุม บรรยายโดยท่านวิทยากร ดร. จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร ในหัวข้อเรื่อง การถอดบทเรียน Practice สู่ Best Practice และ การยกระดับงานส่งเสริมสุขภาพสตรีและเด็กปฐมวัย
สรุปผลการประชุม
- จังหวัดคัดเลือกพื้นที่ต้นแบบการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพสตรีและเด็กปฐมวัยที่เป็นเลิศ (Best Practice) จังหวัดละ 1 แห่ง โดยเกณฑ์ในการคัดเลือกพื้นที่ Best Practice
1. เป็นพื้นที่มหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus ภายใต้กิจกรรมสำคัญ กิน กอด เล่น เล่า นอน เฝ้าดูฟัน
2. เป็นพื้นที่ที่มีการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพสตรีและเด็กปฐมวัย ผ่านการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในพื้นที่อย่างน้อย 2 หน่วยงานขึ้นไป
3. มีรางวัลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพสตรีและเด็กปฐมวัยเชิงประจักษ์ เช่น เกียรติบัตร โล่ รางวัลต่างๆ
4. มีผลลัพธ์การดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพสตรีและเด็กปฐมวัยบรรลุค่าเป้าหมายหรือมีผลลัพธ์ดีขึ้นกว่าเดิม
4.1 หญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจาง ครั้งที่ 2 (ค่าเป้าหมาย ไม่เกินร้อยละ 14)
4.2 เด็กแรกเกิดมีน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม (ค่าเป้าหมาย ไม่เกินร้อยละ 7)
4.3 การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน (ค่าเป้าหมาย ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50)
4.4 เด็กอายุ 0-5 ปี สูงดีสมส่วน (ค่าเป้าหมาย ไม่น้อยกว่าร้อยละ 62)
4.5 เด็กอายุ 0-5 ปี มีพัฒนาการสมวัย (ค่าเป้าหมาย ไม่น้อยกว่าร้อยละ 85)
4.6 เด็กอายุ 3 ปี ปราศจากฟันผุ (ค่าเป้าหมาย ไม่น้อยกว่าร้อยละ 73)
- จัดทำแบบบันทึกข้อมูลถอดบทเรียน Best Practice โดยใช้รูปแบบการถอดบทเรียนแบบ Retrospective technique ซึ่งมีประเด็นการถอดบทเรียน คือ
1. สถานการณ์/บริบทของงาน ในพื้นที่
2. เป้าหมาย/ผลลัพธ์ที่ต้องการของงาน กระบวนการดำเนินงานสอดคล้องทั้ง KPI และปัญหาของพื้นที่
3. ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการขับเคลื่อนพื้นที่มหัศจรรย์ 1,000วัน
4. บทเรียนที่เกิดขึ้น (ปัจจัยความสำเร็จ/ล้มเหลว)
5. ข้อเสนอแนะที่จำเพาะเจาะจงและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายงานพื้นที่มหัศจรรย์ 1,000วัน
- เวทีถอดบทเรียนความสำเร็จและแลกเปลี่ยนเรียนรู้พื้นที่ Best Practice เวที่ 4 ภาค โดยภาคเหนือ เขตที่ 1-3 จัดที่ จ.พิษณุโลก วันที่ 22-23 ธ.ค. 64 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขตที่ 7-10 จัดวันที่ 13-14 ม.ค. 65
ภาคกลาง เขตที่ 4-6 จัดที่ กทม/ปริมณฑล วันที่ 2-21 ม.ค. 65 และภาคใต้ เขตที่ 11-12 จัดที่ จ.สงขลา ในช่วงเดือน ก.พ. - มี.ค. 65
- มอบโล่เชิดชูเกียรติพื้นที่ Best Practice เวทีระดับเขตสุขภาพ

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน