คุณกำลังมองหาอะไร?

ศู

ศูนย์อนามัยที่ 11 จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพทันตบุคลากรในการขับเคลื่อนงานดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ เขตสุขภาพที่ 11 ปีงบประมาณ 2565

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

31.12.2564
13
0
แชร์
31
ธันวาคม
2564

นายแพทย์วินัย ตันติธนพร ผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ 11 เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพทันตบุคลากรในการขับเคลื่อนงานดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ เขตสุขภาพที่ 11 ปีงบประมาณ 2565 ในวันจันทร์ ที่ 27 ธันวาคม 2564
ผ่านระบบ VDO Conference Cisco Webex Meeting โดย งานทันตสาธารณสุข ศูนย์อนามัยที่ 11 เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม
มีทันตบุคลากร พยาบาล และผู้สนใจ ทั้งจาก 7 จังหวัดในเขตสุขภาพที่ 11 พื้นที่ในเขตสุขภาพอื่นๆ และส่วนกลางเข้าร่วมการประชุม
จำนวน 171 User โดยผู้เข้าร่วมการประชุมทุกท่าน จะได้รับใบประกาศนียบัตรหลังการเข้าร่วมการประชุมทันทีที่ส่งแบบประเมินหลังการประชุม และทันตแพทย์ผู้เข้าร่วมการประชุม จะได้หน่วยกิจกรรมสะสมการศึกษาต่อเนื่องของทันตแพทย์ (CDEC) 6.5 หน่วยจากทันตแพทยสภาด้วย
จากสถานการณ์ผู้สูงอายุไทยที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุแบบสมบูรณ์ (Aged Society) ในปี 2565 และยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีด้านสาธารณสุข เพื่อประชาชนสุขภาพดี มีอายุคาดเฉลี่ยสุขภาพดี (HALE) 75 ปี สู่แผนงานทันตสุขภาพผู้สูงอายุประเทศไทย พ.ศ. 2558 – 2565 มีเป้าหมายให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพช่องปากดี มีฟันใช้งานได้เหมาะสมตลอดช่วงชีวิต โดยสุขภาพช่องปากเป็นข้อบ่งชี้หนึ่งที่สำคัญในการประเมินสุขภาพองค์รวมของผู้สูงอายุ สะท้อนต่อสุขภาพองค์รวม แต่อย่างไรก็ตาม การเข้าถึงบริการทันตกรรม และสภาวะสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับกลุ่มวัยอื่นๆ จะเห็นว่า อัตราการคัดกรองสุขภาพช่องปาก การเข้าถึงบริการทันตกรรม และผลลัพธ์สุขภาพ ผู้สูงอายุ ที่มีฟันแท้ใช้งานได้ไม่น้อยกว่า 20 ซี่ และฟันหลัง (แท้) ใช้งานไม่น้อยกว่า 4 คู่สบของผู้สูงอายุ ในเขต สุขภาพที่ 11 ค่อนข้างต่ำ เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยระดับประเทศ ในปี งบประมาณ 2564 ร้อยละผู้สูงอายุ ได้รับการคัดกรองสุขภาพช่องปาก ในเขตสุขภาพที่ 11 มีอัตราการการคัดกรองสุขภาพช่องปาก เพียง 23.62 และ ผลลัพธ์ทางสุขภาพ ร้อยละของผู้สูงอายุ ที่มีฟันแท้ใช้งานได้ไม่น้อยกว่า 20 ซี่ และฟันหลัง (แท้) ใช้งานไม่น้อยกว่า 4 คู่สบ เพียง 25.6
ในปัจจุบัน มีระบบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ จากหลายแหล่ง สามารถนำไปวิเคราะห์ เชื่อมโยง เพื่อจัดทำแผนการแก้ไขปัญหา จัดระบบการดูแล ส่งเสริมสุขภาพ และบริการ ทันตกรรม เพื่อชะลอการสูญเสีย ฟื้นฟู และคงสภาพ เพื่อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี งานทันตสาธารณสุข ศูนย์อนามัยที่ 11 จึงได้จัดประชุมในครั้งนี้ขึ้น เพื่อพัฒนาศักยภาพทันตบุคลากร ให้มีความรู้ ความเข้าใจนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ในการบริหารจัดการวางแผนการดำเนินงานในการดูแลผู้สูงอายุ รวมทั้งได้รับทราบแนวทางการนำเทคโนโลยี ต่างๆมาใช้ประโยชน์ให้ตรงกับบริบทของพื้นที่ เข้าใจแหล่งงบประมาณ และแนวทางการใช้งบประมาณที่เกี่ยวข้องในการดูแลผู้สูงอายุ ที่ได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และ กลไกการขับเคลื่อนงานทั้งระดับพื้นที่ ชุมชน จังหวัด เขตสุขภาพ และการขับเคลื่อนงานร่วมกับภาคีเครือข่ายอื่นๆ ซึ่งการประชุมในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากวิทยากร นายเชาวลิต ลิบน้อย กลุ่มภารกิจการเข้าถึงบริการปฐมภูมิและการจัดหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 11 สุราษฏร์ธานี บรรยายเรื่อง แหล่งงบประมาณ และแนวทางการใช้งบประมาณที่เกี่ยวข้องในการดูแลผู้สูงอายุ จากงบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และงบประมาณที่เกี่ยวข้อง
ทันตแพทย์พูลพฤกษ์ โสภารัตน์ ทันตแพทย์ชำนาญการพิเศษ สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย บรรยายเรื่อง “การใช้ข้อมูลระดับบุคคล ครอบครัว และ ประชากรเพื่อการออกแบบการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ” นางรัชนี บุญเรืองศรี นักสังคมสงเคราะห์ชำนาญการพิเศษ สำนักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย บรรยายเรื่อง “ความเชื่อมโยงของแหล่งข้อมูลต่อการนำข้อมูลมาใช้ในการพัฒนาระบบการส่งเสริมสุขภาพและระบบบริการในทุกระดับของการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ” อาจารย์ ทญ.ดร. มัทนา เกษตระทัต อาจารย์สาขาทันตกรรมผู้สูงอายุ
คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บรรยายเรื่อง “การนำเทคโนโลยี และข้อมูลมาใช้ประโยชน์ในการบริหารจัดการวางแผนการดำเนินงานในการดูแลผู้สูงอายุ” และการอภิปราย กลไกการขับเคลื่อนงานทั้งระดับพื้นที่ ชุมชน จังหวัด เขตสุขภาพ และการขับเคลื่อนงานร่วมกับภาคีเครือข่ายอื่นๆ โดยมี อาจารย์ ทันตแพทย์หญิง ดอกเตอร์ มัทนา เกษตระทัต อาจารย์สาขาทันตกรรมผู้สูงอายุ
คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดอกเตอร์ จิราพร วัฒนศรีสิน กรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขต11 อดีตคณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ ม.ราชภัฎสุราษฎร์ธานี ดอกเตอร์ ปรเมษฐ์ จินา รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ทันตแพทย์หญิง ธราพร พัชรินทร์ไพจิต ทันตแพทย์ชำนาญการพิเศษ รพช. นาสาร จ.สุราษฏร์ธานี และ ทันตแพทย์ ธนัฏฐนนท์ อัศววัฒฑกี ทันตแพทย์ชำนาญการพิเศษ รพช.พระพรหม จ.นครศรีธรรมราช ร่วมอภิปราย ซึ่งการขับเคลื่อนงาน สามารถเริ่มจากงานที่ชอบหรือทำอยู่แล้ว ก็ได้ แต่ต้องสร้างคุณค่าของงานโดยนำเสนอข้อมูลให้กับแกนนำ เครือข่ายในการขับเคลื่อนงาน ให้ตรงกับความต้องการ ของเครือข่าย โดยทำให้แกนนำมี Health Literacy เห็นความสำคัญ แล้วจึงร่วมกันสร้างทีม และออกแบบกระบวนการ ผ่านกลไก หรือมาตรการการขับเคลื่อนงานที่มีอยู่แล้วในระดับพื้นที่ เช่น ชมรมผู้สูงอายุ โรงเรียนผู้สูงอายุ โดยแทรกทั้งกิจกรรม การออกแบบกระบวนการ หลักสูตรกลางโรงเรียนผู้สูงอายุ การขับเคลื่อนงานผ่านเครือข่ายในระดับต่างๆ เช่น องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ซึ่งดำเนินการขับเคลื่อนพัฒนาแกนนำท้องถิ่นในการดูแลผู้สูงอายุ การขับเคลื่อนผ่านสมาคมสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทย ระดับ จังหวัด/เขต รวมถึงคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน การขับเคลื่อนงานองค์กรกลางสร้างสุข ภาคใต้ ซึ่งจะผลักดันขับเคลื่อนเสนอผ่านสมัชชาสุขภาพภาคใต้ จึงจำเป็นต้องรู้ว่ามีนโยบายการขับเคลื่อนงาน หรือเครือข่ายในพื้นที่ทำอะไร อยู่ที่ไหน แล้วบูรณราการงานส่งเสริมสุขภาพช่องปากไปด้วยกัน

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน