คุณกำลังมองหาอะไร?

ศู

ศูนย์อนามัยที่ 11 นครศรีธรรมราช ประชุมคณะอนุกรรมการจังหวัดพังงา ( พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ.2559 ) ครั้งที่ 1 / 2565

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

26.01.2565
7
0
แชร์
26
มกราคม
2565

วันที่ 25 มกราคม 2565 เวลา 9.00-12.05 น.
ณ ห้องประชุมสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพังงา ประชุมคณะอนุกรรมการจังหวัดพังงา ( พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ.2559 ) ครั้งที่ 1 / 2565
ประธานโดย นายเถลิงศักดิ์ นุชประหาร รองผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา ผู้เข้าร่วมประชุม ตัวแทนกระทรวงต่างๆ ในจังหวัด พมจ. ปลัดจังหวัด ศึกษาธิการจังหวัด ยุติธรรมจังหวัด ท้องถิ่นจังหวัด ตัวแทนสภาเด็กและเยาวชนชาย หญิง
บ้านพักเด็กและสตรี และภาคเอกชน จำนวน 30 คน เลขานุการและอนุกรรมการ นายแพทย์วิทยา วัฒนเรืองโกวิท นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพังงา และงานส่งเสริมสุขภาพวัยรุ่น เพื่อนำเสนอแผนในการพัฒนาการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
ประธาน มีข้อตกลง คุยประเด็นลดการตั้งครรภ์ในมารดาวัยรุ่น ( มารดาอายุ 10-20 ปี ) จำนวน 3 ประเด็น
- เป้าหมายอัตราการคลอดลดลง ร้อยละ 10 ( การคลอดมีชีพมารดาอายุ 15-19 ปี และเป็น กพร.ของจังหวัดพังงาด้วย )
- แยกพื้นที่รายอำเภอให้ชัด ว่ามารดาวัยรุ่นคลอดมาก คือ อำเภอท้ายเหมือง ตะกั่วป่า และอำเภอคุระบุรี
- ตอบการบริหารจัดการโครงการใน 3 อำเภอ How to หรือปัจจัยแห่งความสำเร็จ เมื่อสิ้นงบประมาณ ต้องเป็นรูปธรรม ที่ชัดเจน
ทีมเลขานุการ ได้นำเสนอสถานการณ์อัตราคลอด มารดาอายุ 10-14 ปี และ 15-19 ปี เป็นอัตราและจำนวน และพบว่า 3 อำเภอที่กล่าวมามีอัตราสูงตามลำดับ และคิดว่าผู้เกี่ยวข้องคือกระทรวงศึกษาธิการทั้งระบบ ในการที่จะจัดหลักสูตรการเรียนการสอนเพศวิถีศึกษาตามช่วงชั้น และต้องสอนจริง เด็กเข้าใจ สามารถมีพฤติกรรมในเพศที่ถูกต้อง เช่นการสวมถุงยางอนามัย ควรจะทำการป้องกันต้นเหตุ
ในจังหวัดพังงาได้ร่วมกับมูลนิธิแพธ ทู เฮลท์ สนับสนุนโดยบริษัทเชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิตจำกัด และ สสส. ศูนย์อนามัยที่ 11 นครศรีธรรมราช และ งานวัยรุ่นสำนักงานสาธารณสุขพังงา ลงทำงานกับ อปท. จำนวน 3 อปท. คือ อบต.ถ้ำ อำเภอตะกั่วทุ่ง อบต.โคกเจริญ อำเภอทับปุด และเทศบาลตำบลบางนายสี อำเภอตะกั่วป่า ที่ทีมมีความตั้งใจในการพัฒนาคุณภาพชีวิตเยาวชนอย่างต่อเนื่อง ในปี 2563 และ ถึงปัจจุบัน กระบวนการที่สำคัญคือ การสื่อสารเชิงบวกเรื่องเพศกับลูกหลานในครอบครัว หรือเปิดห้องเรียนพ่อแม่
นำเสนอเครื่องมือ โดยตัวแทนมูลนิธิแพธ ทู เฮลท์ ( p2h ) เครื่องมือและความคาดหวัง ในการสนับสนุนเครื่องมือ เพื่อคุณภาพชีวิตที่มีคุณภาพของเยาวชน
เครื่อมือ 1.พัฒนาวิทยากรเปิดห้องเรียน พ่อแม่ / 2.พัฒนาแกนนำเยาวชน / 3.การช่วยเหลือเคสรายกรณี (case conฯ)
ในจังหวัดพังงา เมื่อวันที่ 1-3 พฤศจิกายน 2564 ได้มีตัวแทนที่หลากหลาย ครบทุกอำเภอเข้ามาพัฒนาในหลักสูตรการเป็นกระบวนกร และไปเปิดเป็นห้องฝึกปฏิบัติจริงในพื้นที่เช่น ในอำเภอ ตำบล และในโรงเรียนมัธยมศึกษา
โดยที่อาจารย์วิภาวี ชายเขาทอง รองผู้อำนวยการโรงเรียนดีบุกวิทยายนต์ ได้สร้างช่องทางในระบบออนไลน์ แล้วทำการสำรวจความคิดเห็นผู้ปกครอง นักเรียน และได้เปิดห้องเรียนพ่อแม่ ในโรงเรียนเมื่อปลายพฤศจิกายน 2564 และมีการเก็บข้อมูลต่อยอด และมีทีมอบรมกระบวนกร 5 คน ได้ขยายเพิ่มเติม และร่วมเสนอรูปแบบในการพัฒนาในเวทีวันนี้ด้วย ในการสร้างทักษะ การปรับเปลี่ยนทัศนคติของพ่อแม่ รวมทั้งการวางแผนในระบบการช่วยเหลือนักเรียน การติดตามประเมินผล ( 2DPH Model ) และจะพัฒนาต่อไป
มีฉันทะ ที่จะทำ ขอชื่นชมคุณครู และประธานขอให้ขยายไปโรงเรียนมัธยมศึกษาอื่นๆ ในพื้นที่ที่มีปัญหาในเรื่องดังกล่าว
และทางทีมเลขานุการได้นำเสนอแผนตามยุทธศาสตร์ที่คณะทำงานได้ทำแผนปฏิบัติการเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นจังหวัดพังงา โดยกำหนดเจ้าภาพหลักแต่ละยุทธศาสตร์
ยุทธศาสตร์ที่ 1 ศึกษาธิการจังหวัด
ยุทธศาสตร์ที่ 2 ท้องถิ่นจังหวัด
ยุทธศาสตร์ที่ 3 สาธารณสุข
ยุทธศาสตร์ที่ 4 บ้านพักเด็กฯ
ยุทธศาสตร์ที่ 5 ตัวแทนทุกยุทธศาสตร์ร่วมกัน
สุดท้ายข้อเสนอจากประธาน จะต้องมีการประชุมติดตาม ทุก 3 เดือน ครั้งต่อไป เมษายน 2565
สนับสนุนงบประมาณ จากศูนย์อนามัยที่ 11 นครศรีธรรมราช

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน