คุณกำลังมองหาอะไร?

ศู

ศูนย์อนามัยที่ 11 เข้าร่วมการประชุมหารือขับเคลื่อนงานรอยโรคเสี่ยงมะเร็งและมะเร็งช่องปาก

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

21.05.2565
0
0
แชร์
21
พ.ค.
2565

งานทันตสาธารณสุข ศูนย์อนามัยที่ 11 เข้าร่วมการประชุมหารือขับเคลื่อนงานรอยโรคเสี่ยงมะเร็งและมะเร็งช่องปาก ซึ่งจัดโดยสำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย ผ่านระบบการประชุมทางไกล (VDO Conference) ในวันที่ 11 พฤษภาคม 2565 เพื่อร่วมหารือการนำเทคโนโลยีใหม่ มาใช้ในการดำเนินงานคัดกรองรอยโรคเสี่ยงมะเร็งและมะเร็งช่องปาก โดยมีผู้ร่วมการประชุม 5 คน คือ ศาสตราจารย์ ดร. ไพศาล มุณีสว่าง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ทันตแพทย์นิติโชติ นิลกำแหง ทันตแพทย์เชี่ยวชาญ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ ทันตแพทย์หญิงศศิธร บัณฑิตมหากุล ทันตแพทย์เชี่ยวชาญ งานทันตสาธารณสุข ศูนย์อนามัยที่ 11 และ ทันตแพทย์หญิงพัชรวรรณ สุขุมาลินท์ ทันตแพทย์ชำนาญการพิเศษ ทันตแพทย์พูลพฤกษ์ โสภารัตน์ ทันตแพทย์ชำนาญการพิเศษ ผู้รับผิดชอบงานกลุ่มผู้สูงอายุ สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย
การดำเนินงานคัดกรองรอยโรคเสี่ยงมะเร็งและมะเร็งช่องปาก มีความยากในการประเมินลักษณะรอยโรคก่อนมะเร็งช่องปาก เพื่อส่งต่อมาพบทันตบุคลากร ในการรับการวินิจฉัยเพิ่มเติม หรือการรักษาตั้งแต่ในระยะเริ่มต้น ปัจจุบันมีเทคโนโลยีการถ่ายภาพ เพื่อเป็นข้อมูลนำเข้าเพื่อฝึก (Training set) ให้ AI เรียนรู้ สี ลักษณะ รอยโรค ลักษณะพื้นผิว ในการประเมินความน่าจะเป็นความเสี่ยงของการเกิดรอยโรคก่อนมะเร็งช่องปาก พร้อมส่งรายงานแจ้งผลให้ผู้เกี่ยวข้อง ติดตามผู้รับบริการมารับบริการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมได้ โดยมีขั้นตอนในการพัฒนาคือ รวบรวมคลังรูปทั้งจากภาพถ่ายรอยโรคที่ได้รับการวินิจฉัยแล้ว ซึ่งไม่จำเป็นต้องระบุตัวบุคคลของผู้ป่วย แยกประเภทเป็นกลุ่ม ตามการวินิจฉัย โดยผู้เชี่ยวชาญ และแยกตำแหน่งที่พบในช่องปาก แล้วนำเข้าเครื่องฝึก (Engine) Training data set เพื่อ Training AI และ ประมวลผลความน่าจะเป็น ความเสี่ยงของการเป็นรอยโรคเสี่ยงมะเร็งและมะเร็งช่องปาก โดยสามารถเลือกตั้งค่าเปอร์เซ็นต์ Threshold ได้ตามต้องการ รวมทั้งสามารถคืนข้อมูลในรูปแบบ JSON นอกจากนี้ ยังสามารถ นำข้อมูลข้อความที่ได้จากการคัดกรองตามแบบประเมินปัจจัยเสี่ยง หรือ ข้อความที่เป็นการพิมพ์ตัวอักษร ข้อความเสียง จากการให้ประวัติผู้ป่วย ประมวลผลผ่าน TEXT NLP (National Language Processing) แล้วนำเข้ากระบวนการ Training AI จะช่วยสนับสนุนข้อมูลที่ได้จากภาพถ่าย เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการประเมินความเสี่ยงได้ด้วย
ที่ประชุมมอบหมายให้ สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย เป็นเจ้าภาพหลักในการรวบรวมข้อมูลคลังภาพถ่าย รอยโรคเสี่ยงมะเร็งและมะเร็งช่องปาก โดยประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้ง อาจารย์ในมหาวิทยาลัยต่างๆ ราชวิทยาลัยแพทย์ ทันตแพทย์ โรงพยาบาล ค้นหารวบรวมคลังภาพใน ตำรา และ ฐานข้อมูล Standard Data Set ที่มีผู้รวบรวมไว้แล้วใน จาก website ต่างๆ และ มอบ ทันตแพทย์หญิงศศิธร บัณฑิตมหากุล ทันตแพทย์เชี่ยวชาญ งานทันตสาธารณสุข ศูนย์อนามัยที่ 11 ออกแบบความเชื่อมโยงของข้อมูลในการดูแลผู้ป่วยแบบครบวงจร ตาม Patient Journey โดยกำหนดรายละเอียด ใคร (Who) ทำอะไร (What/Service) ที่ไหน (Where) เมื่อไร (When) เพื่อใช้ในการกำหนดทิศทางการส่งข้อมูลในการดูแลผู้ป่วย (Case Management) ผ่านระบบ Application เพื่อเตรียมเป็นข้อมูลนำเข้าในการประชุมครั้งต่อไป พร้อมเชิญทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ด้าน Oral Medicine และ Oral Pathology จากมหาวิทยาลัย เข้าร่วมประชุมในการขับเคลื่อนงานในครั้งต่อไปด้วย
ผลการดำเนินงานนี้จะช่วยสนับสนุนการคัดกรองเชิงรุก ทั้งการคัดกรองโดย อสม. และประชาชนเอง ให้รับรู้ปัญหา เพื่อมารับการวินิจฉัยเพิ่มเติม ซึ่งการตรวจวินิจฉัยรอยโรคก่อนมะเร็งช่องปากและมะเร็งช่องปากเป็น รายการที่บรรจุในชุดสิทธิประโยชน์การรักษาของคนไทยทุกสิทธิแล้ว จะทำให้ผู้ป่วยได้รับการค้นหา คัดกรอง และเข้าสู่กระบวนการรักษาได้ตั้งแต่ในระยะเริ่มแรก

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน