คุณกำลังมองหาอะไร?

ลุ่มพัฒนาการส่งเสริมสุขภาพวัยรุ่น เข้าร่วมประชุม การเยี่ยมประเมิน สถานพินิจจังหวัดนครศรีธรรมราชตามมาตรฐานการบริการสุขภาพที่เป็นมิตรสำหรับเด็กและเยาวชนในสถานควบคุม ปี 2565 (YFHS)

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

19.06.2565
2
0
แชร์
19
มิถุนายน
2565

วันที่ 16 มิถุนายน 2565 เวลา 09.00-12.00 น. ณ ห้องประชุมสิริธรรม 1 ศูนย์อนามัยที่ 11 นครศรีธรรมราช ผู้รับผิดชอบงานกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมสุขภาพวัยรุ่น เข้าร่วมประชุม การเยี่ยมประเมิน สถานพินิจจังหวัดนครศรีธรรมราชตามมาตรฐานการบริการสุขภาพที่เป็นมิตรสำหรับเด็กและเยาวชนในสถานควบคุม ปี 2565 (YFHS) ผ่านระบบ Video Conference โปรแกรม Cisco WebEx โดยสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย และ ผู้ทรงคุณวุฒิ วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาหน่วยงานตามมาตรฐานการบริการสุขภาพที่เป็นมิตรสำหรับเด็กและเยาวชนในสถานควบคุม และประเมินรับรองคุณภาพ มาตรฐาน โดยให้สถานพินิจ นครศรีธรรมราช ได้นำเสนอวิสัยทัศน์ พันธกิจ นโยบาย ในการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมผู้ต้องขัง กิจกรรม แผนงาน โครงการ งบประมาณ ที่ได้ดำเนินการกับเด็ก การดำเนินกิจกรรมค่อนข้างจะมีความครอบคลุม มีข้อเสนอแนะจากทีมเยี่ยมประเมินตามองค์ประกอบดังนี้ ข้อชื่นชม
องค์ประกอบที่ 1 นโยบายและการบริหารจัดการ คือ 1.ผู้บริหารและทีมงานมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาที่สอดคล้องและสนองรับนโยบายจากกรมพินิจฯ โดยมีการบูรณาการด้านสุขภาพอนามัย เข้ากับงานที่ดำเนินการอยู่ทั้งในด้านวิสัยทัศน์และพันธกิจ 2.มีคณะกรรมการที่มีความหลากหลายเป็นสหวิชาชีพ ได้แก่ แพทย์ นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ นักวิชาการศึกษา เป็นต้น จากภายในหน่วยงานและภาคีเครือข่าย รวมทั้งการคัดเลือกเด็กและเยาวชนเข้ามาเป็นผู้แทน 3.มีกระบวนการที่ชัดเจนในการประเมินและคัดกรองเด็กและเยาวชน ตั้งแต่แรกรับตัว ทั้งด้านกายและจิต ที่สามารถนำไปสู่การจัดการและการดุแลที่เป็นองค์รวม เช่น ปัญหาของสุขภาพช่องปากกับการติดยาเสพติด 4.สถานที่มีการจัดการที่สะอาดเรียบร้อย และเอื้อต่อการจัดกิจกรรมของเด็กและเยาวชนในการออกกำลังกาย รวมทั้งการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การจัดการน้ำเสีย และการเลิกใช้โฟม
5.สถานพินิจฯ มีศักยภาพในการบริหารจัดการทรัพยากร ทั้งภายในหน่วยงานและภาคีเครือข่าย
องค์ประกอบที่ 2 ระบบริการ 1.หน่วยงานมีการเฝ้าระวังปัญหาด้านสุขภาพกาย สุขภาพจิต พฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ ในระหว่างวิชาชีพกรณีมีปัญหาซับซ้อน มีการรายงานต่อผู้อำนวยการในการประชุมประจำเดือนเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และแก้ไขปัญหาร่วมกัน 2. หน่วยงานมีการสื่อสารกับผู้ปกครองผ่านแอพลิเคชันไลน์ เพื่อให้ข้อมูลความรู้และชีวิตประจำวันของเด็กและเยาวชนเพื่อลดความวิตกกังวล โดยหน่วยงานมีการทำข้อตกลง และมีผู้ดูแลระบบชัดเจน 3.หน่วยงานมีการแสวงหาความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกในการให้บริการในมิติที่หน่วยงานไม่สามารถให้บริการได้ 4.มีการปรับรูปแบบการให้ความรู้เป็นแบบ Walk rally
และมีการประเมินความรู้โดยให้เด็กและเยาวชนสาธิตย้อนกลับ และทำให้เกิดกิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน 5.มีแผนผังในการปฏิบัติงานในการให้บริการที่เป็นมิตรสำหรับเด็กและเยาวชนครอบคลุมในทุกด้าน 6.มีการซักซ้อมแผนเผชิญเหตุและสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม
องค์ประกอบที่ 3 ชุมชนและภาคีเครือข่าย 1.มีภาคีเครือข่ายที่มีความเข้มแข็งและความชำนาญในหลายมิติของการพัฒนาเด็กและเยาวชน 2.มีทำเนียบภาคีเครือข่ายที่มีโครงสร้างการประสานงานที่ชัดเจน ทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน ชุมชนและครอบครัว 3.มีรูปแบบการดำเนินงานที่สามารถแสดงผลงานที่เป็นรูปธรรมของการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในเชิงของการบูรณาการรอบด้าน ตั้งแต่ด้านสุขภาพ การศึกษา การประกอบอาชีพ และการสร้างความมั่นใจของเด็กและเยาวชนในการดำรงชีวิตนอกสถานพินิจฯ “look ใสสะอาด”
องค์ประกอบที่ 4 ระบบข้อมูลสารสนเทศ 1.มีการรวบรวมข้อมูลสุขภาพกาย สุขภาพจิต รวมถึงพฤติกรรมเสี่ยงที่ครบถ้วนและเป็นระบบ และมีการเก็บรวบรวมข้อมูลย้อนหลัง 3 ปี 2.มีการนำข้อมูลไปใช้เพื่อการแก้ปัญหาสุขภาพเด็กและเยาวชนและปรับปรุงบริการ
องค์ประกอบที่ 5 ผลลัพธ์ 1.มีการจัดเก็บข้อมูลการเข้ารับบริการและการลำดับความสำคัญของโรค ย้อนหลัง 3 ปี 2.หน่วยงานมีการจัดทำแบบประเมินความพึงพอใจครอบคลุมทั้งเด็กและเยาวชน ครอบครัว เจ้าหน้าที่ และภาคีเครือข่าย และเริ่มมีการนำข้อมูลมาปรับปรุงและพัฒนาบริการ

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน