คุณกำลังมองหาอะไร?

หัศจรรย์ 1,000 วันแรกของชีวิต จังหวัดระนอง 

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

11.07.2565
1
0
แชร์
11
กรกฎาคม
2565

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระนอง โดย นพ.นรเทพ อัศวพัชระ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดระนอง ได้กำหนดเป้าประสงค์ในการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็ก “ตั้งครรภ์คุณภาพ ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย เด็กพัฒนาการสมวัย สูงดี สมส่วน ฟันไม่ผุ”  ประชาสัมพันธ์เปิดตัวโครงการครั้งแรกเมื่อปี 2561 ในงานกาชาดจังหวัด   ขับเคลื่อนโครงการมหัศจรรย์ 1,000 วันแรก ของชีวิต ครอบคลุมทั้งจังหวัด   โดย “ทีมระนอง” ผ่านคณะกรรมการ MCH Board โดยโรงพยาบาลระนองเป็นแม่ข่าย  กำหนดประชุมร่วมกันทุก 3 เดือน โดยสูติแพทย์เป็นประธาน  แบ่งโซนรับผิดชอบของสูติแพทย์ในการเป็นพี่เลี้ยงแก่โรงพยาบาลภายในจังหวัด  

 มีการทำ MOU ร่วมกัน 5 กระทรวงหลัก ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์    มีการบูรณาการดำเนินงานร่วมกันเชิงพื้นที่ โดยผ่านกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) และ มีอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ร่วมสนับสนุนขับเคลื่อนงานในพื้นที่อย่างเข้มแข็ง 

การดำเนินงานด้านส่งเสริมสุขภาพแม่และเด็ก เน้นการส่งเสริมให้ประชาชนมีความรอบรู้ในการดูแลสุขภาพตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ ระหว่างตั้งครรภ์ และหลังคลอด  รวมถึงการพัฒนาสถานบริการสาธารณสุขทุกระดับ ให้ได้มาตรฐานอนามัยแม่และเด็ก และผ่านเกณฑ์คุณภาพ ได้แก่ คลินิก ANC คุณภาพ ร้อยละ 100  ห้องคลอดคุณภาพ ร้อยละ 100 คลินิกสุขภาพเด็กดีคุณภาพ ร้อยละ 100 และ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กคุณภาพ   จังหวัดระนองยังได้รับ “โล่ประกาศเกียรติคุณ ด้าน 1,000 วัน เด่น พัฒนาการดี ไม่มีแม่ตาย ระดับเขตสุขภาพที่ 11” 

ผลการดำเนินงาน จังหวัดระนองไม่มีมารดาตาย ตั้งแต่ปี ๒๕๕๙ - ๒๕๖๔ การฝากครรภ์ก่อน ๑๒ สัปดาห์  ร้อยละ ๘๖.๔๐ (เกณฑ์เป้าหมาย ร้อยละ ๗๕ )    หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ ๕ ครั้งตามเกณฑ์ ร้อยละ ๘๑.๗๙ (เกณฑ์เป้าหมาย ร้อยละ ๗๕)  เด็กทารก  แรกเกิดน้ำหนักต่ำกว่า ๒,๕๐๐ กรัม ร้อยละ ๔.๗๙ (เกณฑ์เป้าหมายไม่เกินร้อยละ ๗) เด็ก ๖ เดือน – ๑๒ เดือน  มีภาวะโลหิตจาง ร้อยละ ๑๔.๕๙ (เกณฑ์เป้าหมายไม่เกิน ร้อยละ ๒๐) เด็กปฐมวัยได้รับการคัดกรองพัฒนาการ ร้อยละ ๙๔.๐๔  (เกณฑ์เป้าหมาย ร้อยละ ๙๐) พบพัฒนาการสงสัยล่าช้า ร้อยละ ๒๔.๐๗ (เกณฑ์เป้าหมาย ร้อยละ ๒๐)  และพัฒนาการสมวัย ร้อยละ ๙๑.๒๑ (เกณฑ์เป้าหมาย ร้อยละ ๘๕)  ข้อมูล HDC, ๓๐ มิย.๖๕ 

ปัจจัยความสำเร็จ  ผู้บริหารทุกระดับให้ความสำคัญงานส่งเสริมสุขภาพแม่และเด็ก มีการกำหนดเป็นนโยบายระดับจังหวัด บุคลากรทุกระดับได้รับการพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่อง      มีทรัพยากรในการสนับสนุนการดำเนินงานอย่างเพียงพอ และภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี  

 

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน