คุณกำลังมองหาอะไร?

รวจราชการและนิเทศงานในโครงการเกี่ยวกับพระราชวงศ์ หัวข้อโครงการราชทัณฑ์ปันสุข ทำความ ดี เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ของจังหวัดระนอง

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

11.07.2565
5
0
แชร์
11
กรกฎาคม
2565

ทันตแพทย์หญิงศศิธร บัณฑิตมหากุล ทันตแพทย์เชี่ยวชาญ งานทันตสาธารณสุข ศูนย์อนามัยที่ 11 ในบทบาทผู้นิเทศงานตรวจราชการกระทรวงร่วมกับผู้นิเทศงานตรวจราชการจากศูนย์ควบคุมโรคที่ 11 กรมควบคุมโรค ศูนย์สุขภาพจิตที่ 11 กรมสุขภาพจิต กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ และ กองบริหารสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ตรวจราชการและนิเทศงานในโครงการเกี่ยวกับพระราชวงศ์ หัวข้อโครงการราชทัณฑ์ปันสุข ทำความ ดี เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ของจังหวัดระนองในวันที่ 6 กรกฎาคม 2565 โดยมีผู้รับผิดชอบงานโครงการราชทัณฑ์ปันสุข ทำความ ดี เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ของจังหวัดระนอง ร่วมรับการนิเทศ ทั้ง Onsite ที่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกระบี่ และ ผ่านระบบ VDO Conference โปรแกรม Microsoft Teams
โดย มีประเด็นการตรวจราชการ โครงการราชทัณฑ์ปันสุข ทำความ ดี เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ใน 4 ประเด็นหลัก คือ
1. การพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขสำหรับผู้ต้องขังในเรือนจำ (กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ และกองบริหารการสาธารณสุข สป.)
2. การบริการสุขภาพช่องปาก (กรมอนามัย)
3. การบริการสุขภาพจิต (กรมสุขภาพจิต)
4. การป้องกันและควบคุมโรค (กรมควบคุมโรค)

ทีมทันตบุคลากรเครือข่ายจังหวัดระนอง (ทั้งเครือข่ายโรงพยาบาลระนอง และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระนอง) ร่วมออกให้บริการทันตกรรมในเรือนจำจังหวัดระนอง โดยผู้ต้องขังได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพช่องปาก สูงถึง ร้อยละ 83.10 (เป้าหมาย 60 %) ผู้ต้องขังได้รับบริการทันตกรรมอย่างน้อย 1 ครั้ง/ปี ร้อยละ 83.78 (เป้าหมาย 30 %) ซึ่งมีผลงานสูงเกินเป้าหมายอย่างมาก แม้ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 หลายระลอกอย่างต่อเนื่อง ทำให้ต้องหยุดให้บริการในเรือนจำ ไประยะหนึ่ง แต่ยังมีแผนการจัดรณรงค์ให้บริการทันตกรรมอีกครั้งในวันที่ 27 กรกฎาคม 2565 โดยตั้งเป้าหมายถอนฟัน และขูดหินน้ำลาย 200 คน นอกจากการจัดบริการรักษาทันตกรรมแล้วยังดำเนินการ ทั้งการส่งเสริม ป้องกัน ควบคู่ไปด้วย โดยมีกิจกรรมการฝึกอบรมการตรวจช่องปากด้วยตนเอง การฝึกทักษะการแปรงฟัน และยังผลักดันให้มี อสรจ. เป็นแกนนำชวนเพื่อนผู้ต้องขังแปรงฟันก่อนขึ้นเรือนนอนอีกด้วย นอกจากนี้ การบันทึกข้อมูลในระบบรายงานมาตรฐานก็ยัง ถูกต้อง ครบถ้วน ทันเวลา โดยการทำงานร่วมกันของทุกภาคส่วน เช่น การจ้างบุคลากรช่วยบันทึกข้อมูลในบางช่วงเวลา ควบคู่กับการพัฒนาศักยภาพทีมพยาบาลในเรือนจำให้สามารถจัดการบันทึกข้อมูลได้เอง มีคู่มือการใช้งานการบันทึกข้อมูลให้ถูกต้องตามมาตรฐาน เพื่อให้สามารถศึกษา ทบทวน และมีทีมที่ปรึกษาสามารถควบคุมทางไกล (remote) เมื่อต้องการความช่วยเหลือในการแก้ไขปัญหาในการบันทึก หรือ จัดการข้อมูล ทั้งนี้ เนื่องจาก มีการบริหารจัดการที่ดี โดยใช้กลไกการขับเคลื่อนงาน ของคณะกรรมการพัฒนาระบบบริการสาธารณสุข สำหรับผู้ต้องขังในเรือนจำระนอง (กสรจ.จังหวัดระนอง) ในการจัดทำแผน สื่อสาร สะท้อนปัญหา ระดม ความร่วมมือ ประสานการทำงาน และมีการสื่อสารการทำงานในทุกระดับ ทุกภาคส่วน ทำให้เกิดแผนงาน ผลงานที่ดีและเกินค่าเป้าหมายอย่างมาก ซึ่งหากเรือนจำจังหวัดระนอง สามารถจัดหาแหล่งทุน จากเครือข่ายอื่นๆ เพื่อรับการจัดสรรงบประมาณ หรือ เสนอให้กรมราชทัณฑ์บรรจุ สร้างคลินิกทันตกรรม พร้อมระบบระบายอากาศ และยูนิตทันตกรรม ในเรือนจำเข้าแผนงบลงทุน ก็น่าจะช่วยให้ ผู้ต้องขังเข้าถึงบริการทันตกรรมตามหลักมนุษยธรรมและมีคุณภาพมากขึ้น
ส่วนประเด็นปัญหาการระบุตัวตนผู้ต้องขัง โดยเฉพาะชาวต่างด้าว เพื่อประโยชน์ ในการเบิกจ่าย บันทึกข้อมูล ติดตามผู้ป่วย ควรนำเข้าหารือในการประชุม คณะกรรมการพัฒนาระบบบริการสาธารณสุข สำหรับผู้ต้องขังในเรือนจำระนอง (กสรจ.จังหวัดระนอง) เพื่อประสานขอความร่วมมือ และแนวทางการแก้ไขปัญหา จากผู้เกี่ยวข้องทุกระดับ รวมทั้งประสานส่วนกลางที่เกี่ยวข้องเพื่อหาทางแก้ไขปัญหาเชิงระบบต่อไป

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน