คุณกำลังมองหาอะไร?

ลุ่มงานพัฒนาอนามัยแม่และเด็กลงพื้นที่ประเมินการจัดคลินิกปฐมภูมิ การฝากครรภ์คุณภาพ จังหวัดนครศรีธรรมราช (Anternal Care : ANC Module)

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

13.09.2563
110
0
แชร์
13
กันยายน
2563

กลุ่มงานพัฒนาอนามัยแม่และเด็กลงพื้นที่ประเมินการจัดคลินิกปฐมภูมิ การฝากครรภ์คุณภาพ จังหวัดนครศรีธรรมราช  (Anternal Care : ANC Module) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคลองตูก ต.กะปาง อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช ในวันที่ วันที่ 23 มกราคม 2563  เพื่อพัฒนาคุณภาพ และจัดคลินิกฝากครรภ์  ซึ่งนำทีมโดย พญ.ปารรีย์  พัฒนไทยานนท์  นายแพทย์ชำนาญการ โรงพยาบาลท่าศาลาและคุณ สุวรรณา สุทธมุสิก หัวหน้ากลุ่มงานส่งเสริมสำนักงานสาธารณสุข จ.นครศรีธรรมราช



โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ



1.จัดคลินิกฝากครรภ์ในหน่วยปฐมภูมิให้มีคุณภาพมาตรฐานเป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพโดยการกำหนดกรอบแนวคิดและเป้าหมายที่ชัดเจน



2.ค้นหาปัญหาในการดำเนินงานเพื่อแก้ไชเชิงนโยบายและนำไปสู่การพัฒนาคลินิกฝากครรภ์คุณภาพ



3.เชื่อมโยงบริการกับคลินิกอื่นได้แก่ คลินิกตรวจหลังคลอด  คลินิกสุขภาพเด็กดี เป็นต้น



การลงพื้นที่ในครั้งนี้ได้มีการค้นหา  ประเมิน และให้ข้อเสนอแนะเพื่อแก้ไขปัญหาที่พบ  ผ่านกระบวนการนำเสนอ  การสัมภาษณ์  สังเกต  การจำลองสถานการณ์



ปัญหาที่พบได้แก่



- ด้านโครงสร้างพบว่า  สถานที่ไม่พร้อม  เครื่องมือ อุปกรณ์  ไม่ได้มาตรฐาน มีจำนวน ไม่เพียงพอ



- ด้านบุคลากร ยังขาดทักษะการตรวจครรภ์  การอ่านผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ



- ด้านระบบบริการ  ยังขาดแนวทางการส่งระบบผลตรวจทางห้องปฏิบัติการให้แก่ผู้รับบริการ  และ ยังขาดการจัดกิจกรรมให้ความรู้ผ่านกิจกรรมโรงเรียนพ่อแม่ทั้งในทั้งในระดับ รพ.สต. และโรงพยาบาล



ข้อเสนอแนะ



ด้านโครงสร้าง  ควรจัดสถานที่ให้เป็นไปมาตรฐานตามที่กำหนด  มีห้องชัดเจน  มีอุปกรณ์ เครื่องมือที่จำเป็นที่ได้มาตรฐาน  พร้อมใช้งาน มีจำนวนเพียงพอต่อความต้องการ



ด้านบุคลากร 



- ควรมีจัดทำแผนพัฒนาสมรรถนะบุคลาการในเรื่อง ทักษะการตรวจครรภ์ การแปลค่าผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ  ทักษะการให้ความรู้ให้ครอบคลุมมากขึ้น  และทักษะอื่นๆที่จำเป็น 



- มีแนวทางในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน  เช่น  การดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์  หญิงตั้งครรภ์ที่มีปัญหาเรื่องหัวนมบอดบุ๋ม  การจ่ายยา Triferdine และ CaCo3 แก่หญิงตั้งครรภ์



ระบบบริการ



- บริหารการจัดการระบบการส่งผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อไม่ให้กระทบต่อผู้รับบริการ



-ควรมีกิจกรรมให้ความรู้โรงเรียนพ่อแม่ที่ รพ.สต.และโรงพยาบาลให้ชัดเจนขึ้น



และในการลงพื้นที่ในครั้งนี้นอกจากได้มีการค้นหาปัญหา  เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคลินิกฝากครรภ์คุณภาพแล้ว  ยังได้มีการการสร้างกระบวนการเรียนรู้สู่การพัฒนา มี เตรียมความพร้อมให้แก่บุคลาการที่ปฏิบัติงานทั้งในด้านความรู้และด้านทักษะ  โดยใช้วิธีการการสอนงาน ผ่านระบบเลี้ยงที่คอยให้คำแนะนำปรึกษา  ส่วนหน้าที่หลักของศูนย์อนามัยในครั้งนี้คือกระตุ้น  ส่งเสริม รวมทั้ง นำเสนอแนวทางการจัดทำกิจกรรมโรงเรียนพ่อแม่ตามมาตรฐาน

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน