คุณกำลังมองหาอะไร?

ลุ่มพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อม ร่วมประชุมคณะกรรมการสาธารณสุขจังหวัด จังหวัดระนอง ครั้งที่ 1/2563 (4/2/2563)

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

13.09.2563
0
0
แชร์
13
กันยายน
2563

วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2563 กลุ่มพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อม ร่วมประชุมคณะกรรมการสาธารณสุขจังหวัด จังหวัดระนอง ครั้งที่ 1/2563 โดยมีสาระการประชุมดังนี้



วาระที่ 1 : แจ้งให้ทราบ (ประธาน นายพรเทพ ผ่องศรี รองผู้ว่าฯ)



> บทบาทหน้าที่คณะกรรมการตาม พรบ.การสาธารณสุข 2535



> กำหนดการประชุม ปี 2564 จำนวน 2 ครั้ง



วาระที่ 2 : รับรองรายงานการประชุม



> ครั้งล่าสุด 19 ก.ค. 2563



> มติ รับรอง



วาระที่ 3 : สืบเนื่อง



1. ประเด็นการจัดการขยะ ทม.ระนอง/ทม.บางริ้น/ทต.ปากน้ำ/ทต.ปากน้ำท่าเรือ(ท้องถิ่นจังหวัด)



> ทม.เมือง > เก็บขยะทุกวัน 2ทุ่ม-เที่ยงคืน ขยะ 25 ตัน



> ทม.บางริ้น > พื้นที่จัดเก็บเยอะ ขยะ 25 ตัน ขนขยะไปไซด์ 2 รอบ



> ทต.ปากน้ำ > ขยะ 2.5ตัน ส่งขยะช่วงเที่ยง-บ่าย2



> ทต.ปากน้ำท่าเรือ > ขยะ 8 ตัน



> บริษัท รับกำจัดช่วงบ่าย 2 โดยการฝังกลบ



> ข้อกำหนดร่วมให้ส่งขยะก่อนบ่าย 2 ของทุกวัน เพื่อให้บริษัททำการฝังกลบได้ทุกวัน



> สาเหตุที่เกิดกลิ่น เนื่องจากช่วงที่รถขยะรอนำขยะลงหลุม บางส่วนเกิดจากน้ำชะขยะที่ไหลจากรถ แจ้งบริษัทให้เน้นดูแล



> บ่อขยะทุกแห่งยังมีปัญหาเรื่องมาตรฐานที่ยังไม่ได้ > กะเปอร์/บางนอน>แจ้ง สวภ.14 ช่วยตรวจมาตรฐาน



> ให้เน้นการจัดการขยะที่ต้นทาง หากจัดการได้ดีจะลดได้มาก



> มี อปท. 13 แห่งที่จัดการได้โดยไม่มีการจัดเก็บ



> บ่อขยะบางนอน > ปัจจุบันเต็มพื้นที่แล้ว กำลังหาพื้นที่ใหม่ ขยะปัจจุบัน 14 ตัน



> ทสจ. ลงติดตามตรวจสอบเดือนเว้นเดือน พบว่า ขยะบางส่วนยังกองอยู่โดยไม่มีการกลบทับ ล่าสุดมีการขุดบ่อใหม่ ได้แจ้งให้ผู้ประกอบการดำเนินการตามมาตรฐาน โดยปูพื้นบ่อก่อนให้เรียบร้อย



> ภาคประชาชน > นอกจากปัญหาเรื่องกลิ่นแล้ว ยังมีปัญหาเรื่องน้ำเสียจากบ่อขยะ เคยมีการศึกษาในพื้นที่ร่วมกับทาง scg ในการนำขยะไปทำ rdf  แต่ต้องทำทั้งจังหวัดเพื่อให้ปริมาณเพียงพอ



> ท้องถิ่นจังหวัด > จากการดูงานการจัดการขยะอินทรีย์ ในเรือนจำมีพื้นที่จัดการ 30 ไร่ หากท้องถิ่นต่างๆ มีการคัดแยกแล้วนำขยะไปส่งจะช่วยลดขยะได้อีกทางหนึ่ง



> บ.ระนองบีคลีน มีพื้นที่ 9 ไร่ อยู่ใกล้ไซด์ขยะเดิม อยู่ระหว่างขออนุญาตประกอบการ+ทำประชาพิจารณ์ สามารถกำจัดได้ 100ตัน/วัน ซึ่งจะเป็นตัวเลือกอีกทางหนึ่ง ใช้งบประมาณ 50 ล้าน



> ของเอซีเจ รับได้ 70 ตัน/วัน



> บ.ไทโก > เข้ามาสำรวจข้อมูลเพื่อทำ rdf ส่งไปกำจัดที่ชุมพร (มีโครงการสร้างโรงไฟฟ้า) ซื้อที่ดินไว้เขต ทต.ปากน้ำและปากน้ำท่าเรือ(โฉนดที่ดินคร่อมกันอยู่)



ประธานฝาก



> ให้ ทต.ปากน้ำท่าเรือกำกับการดูแลตามข้อตกลง ที่ได้ทำร่วมกัน



> ให้ ทต.บางนอน พิจารณาพื้นที่เพื่อเป็นสถานที่กำจัดร่วมในอนาคต



> เป็นห่วงเรื่องปริมาณขยะที่จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 7 +นักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10



2. การทำปุ๋ยหมักตามหลักวิชาการ(เกษตรจังหวัด)



> รณรงค์ลดการเผาในภาคการเกษตรโดยการหมักทำเป็นปุ๋ย



> การกำจัดขยะในครัวเรือนโดยใช้วงขอบ >ใช้วงขอบ3 วงต่อกันใส่ขยะแล้วใช้ พด. โรยลงไปเพื่อเร่งผลและช่วยลดกลิ่น ปี 60 แจกไป 1000 ชุด



> (ปลัดจังหวัด) ของมหาดไทยมีการส่งเสริมการจัดการขยะครัวเรือน โดยใช้ถังหมัก(ฝังดิน) และบางพื้นที่ใช้เสวียนสานรอบต้นไม้และใส่ใบไม้ลงไปเพื่อให้หมักเป็นปุ๋ย



> (ภาค ปชช.) ชุมชนในลำพูน สามารถหมักแก๊สได้จากขยะอินทรีย์/มูลสัตว์ และนำมาใช้ร่วมกันในชุมชน



3. การพิจารณาเกณฑ์ EHA (ท้องถิ่นจังหวัด)



>เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานท้องถิ่นจังหวัดจะเชิญท้องถิ่นเข้าร่วมประชุม วันที่ 12 มีนา



>เสียงสะท้อนจากท้องถิ่น คือมีความยากในการทำงาน เนื่องจาก lpa มีการประเมินหลายด้าน



วาระที่ 4 เสนอเพื่อพิจารณา



4.1 EHA



> เทศบาล 12 แห่ง เข้าร่วม 8 แห่ง ผ่าน 7 แห่ง



> ท้องถิ่นที่ไม่ได้สมัครเนื่องจากไม่มีบุคลากรและบางแห่งบอกว่ายาก



> มีการพูดคุยในคณะทำงานพิจารณาเลือกในประเด็น 1-4 เป็นหลัก



> ประธานฝากให้ท้องถิ่นทุกแห่งเข้าร่วมดำเนินการ เพื่อขับเคลื่อนทั้งจังหวัด



4.1.2 คำสั่งคณะทำงานขับเคลื่อน



> มติ เพิ่ม ทสจ. เข้าร่วมเป็นกรรมการ



4.1.3 ประเด็นการพัฒนา



> บังคับเลือก 1 ใน 4 ประเด็น ให้ผ่านอย่างน้อย 1 ระบบ



> ขยะติดเชื้อ > การจัดการในภาพรวม สา'สุข จัดจ้างบริษัทเข้ามาทำการเก็บขนและรวบรวมนำไปกำจัด ยังขาดข้อมูลด้านสัตวแพทย์



> ปศุสัตว์ ของคลินิก จะเก็บเข็มแล้วส่งปีละครั้ง(สา'สุขยินดีรับเข้าระบบ) ซากสัตว์ฝังกลบ



> มติ : เห็นชอบ



4.1.4 แผนขับเคลื่อน EHA >สา'สุขรับไปดำเนินการขับเคลื่อนงาน



> มติ : เห็นชอบ



4.2 ขยะทางทะเล(ดำเนินการมาแล้ว 3เดือน)



> ร่วมกับเทศบาล 5 แห่ง ดำเนินงานทุกเดือนหมุนกันไป เก็บขยะได้ กว่า 1 ตัน ร้อยละ 77 เป็นถุงพลาสติก



> กิจกรรมร่วมมือร่วมใจ เก็บขยะจากเรือและที่ลูกเรือเก็บจากในทะเล พบเป็นเศษอวนมากที่สุด ขยะจากเรือ+ทะเล ประมาณ 500 กก.



> วันที่ 17 กพ. จะมีกิจกรรมดีเดย์ร่วมกันในภาพประเทศ(เก็บขยะทะเล)



> มาตรการลด คัดแยกขยะภาครัฐ ดำเนินการได้ตามเกณฑ์



> เป้าหมายปี 63 งดใช้โโฟม 100% และลดปริมาณขยะ 10% เป้าหมาย 35 หน่วยงาน รายงาน e-report ภายใน 10 ก.พ.



> กิจกรรมลดใช้ถุงพลาสติกในตลาดสด มองเป้าหมายไว้ที่เทศบาลเมืองระนอง



4.3 รายงานสถานการณ์ pm2.5



> สถานการณ์ในจังหวัดจะอยู่โซนสีฟ้า



> แนวทางการลดฝุ่น



4.4 การจัดทำ EIA ในหน่วยงานภาครัฐ



> รพ.ใหม่/ขยายเตียง



> อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานตามระยะเวลา ของหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งต้องผ่านก่อนขอส่งงบประมาณ



4.5 ภัยแล้ง



> ภาคสา:สุขจะกระทบในการจัดบริการ ซึ่งต้องแก้ไขเฉพาะหน้า



สรุปประเด็นสำคัญในการขับเคลื่อนงานของจังหวัดระนอง



1.การพัฒนาคุณภาพระบบยริการอนามัยสิ่งแวดล้อม



2.การจัดการขยะบกและขยะทางทะเล



3.กิจกรรมลดใช้ถุงพลาสติก



ผู้ปฏิบัติงาน



1.นายกฤตธน พงศ์ธนากูล นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ



2.น.ส.เกศรา วัฒนสมัย นิติกร

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน