กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ
งานทันตสาธารณสุข ศูนย์อนามัย ที่ 11 ร่วมเป็นวิทยากรและเข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาทันตบุคลากร การเฝ้าระวังทันตสุขภาพและปัจจัยเสี่ยงตามกลุ่มอายุ ซึ่งจัดโดยสำนักทันตสาธารณสุข ระหว่างวันที่ 19-20 กุมภาพันธ์ 2563 ณ โรงแรมอมารี ดอนเมือง แอร์พอร์ต กรุงเทพมหานคร เพื่อให้ได้ชุดข้อมูลเฝ้าระวังทันตสุขภาพ และปัจจัยเสี่ยงตามกลุ่มอายุที่จำเป็นสำหรับงานทันตสาธารณสุข ในระดับส่วนกลาง เขตสุขภาพ และจังหวัด สามารถนำมาวิเคราะห์ ร่วมกันแก้ไขปัญหา และสื่อสารข้อมูลให้กับผู้เกี่ยวข้องนำไปใช้ประโยชน์ในการทำงาน โดยมีทันตบุคลากรเข้าร่มประชุม จำนวนทั้งสิ้น 40 คน ประกอบด้วย
- ทันตบุคลากร จากศูนย์อนามัยที่ 1-12
- หัวหน้ากลุ่มงานทันสาธารณสุข จาก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สิงห์บุรี สุพรรณบุรี ชัยนาท สุรินทร์
- ทันตบุคลากร จากสำนักงานทันตสาธารณสุข
กิจกรรมการประชุม ประกอบด้วย
- เขตสุขภาพที่ 11 นำเสนอตัวอย่างการเฝ้าระวัง ระบบข้อมูล และการนำข้อมูลที่มีในระบบ มาวิเคราะห์ ออกแบบ ขับเคลื่อนงาน และพัฒนางานเพื่อแก้ปัญหา ในพื้นที่
- ที่ประชุมทบทวนประเด็นแบบสำรวจ เพื่อให้สอดคล้องและตรงกับความต้องการใช้ประโยชน์ของพื้นที่
- การนำเสนอการออกรหัส ICD 10 TM เพิ่มเติม ในระบบ 43 แฟ้ม เพื่อพัฒนางานส่งเสริมสุขภาพ
ข้อสรุปจากการทบทวนประเด็นคำถามในแบบสำรวจ
1.ทบทวนข้อคำถามในแบบสำรวจ เช่น
ในกลุ่มวัยเรียน เพิ่มประเด็นกิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน มีการประเมินความสะอาดการแปรงฟัน และ การจัดการเรียนรู้ การดูแลสุขภาพช่องปาก และ การเลือกบริโภค อาหาร การอ่านฉลากเครื่องดื่ม ขนม
ในกลุ่มวัยทำงาน เนื่องจากเป็นช่วงอายุที่กว้าง และมีปัญหาในการเก็บข้อมูล จึง เสนอให้ระบุการสำรวจ เฉพาะในกลุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียฟันสูง และเข้าถึงง่าย คือ กลุ่ม NCDs ก่อน
ในกลุ่มผู้สูงอายุ เสนอเพิ่มเติมการสำรวจ ใน setting ตำบล เพื่อทราบสถานการณ์ ผู้สูงอายุ ในชมรม การจัดบริการ Long term Care
2. เสนอเพิ่มเติม ประเด็นหัตถการ /รหัส ICD 10 TM ในระบบ เพื่อการส่งเสริมป้องกัน เช่น white spot ในกลุ่มเด็กเล็ก
และ 2330047 Screening for potential malignant disorder and oral cancer
และใช้คู่กับรหัส การวินิจฉัย Z12.8 ในกลุ่มวัยทำงาน และผู้สูงอายุ
แผนที่จะต้องดำเนินการต่อ
1. สำนักทันตสาธารณสุข ปรับแก้แบบสำรวจตามที่เสนอ เพื่อถามความเห็น จังหวัดอีกครั้ง
2. ศูนย์อนามัย มีหน้าที่ผลักดันให้ ทุกจังหวัดมีการสำรวจตามระบบเฝ้าระวังทุกปี อย่างน้อย 3 กลุ่มวัย คือ เด็กปฐมวัย วัยเรียน และ ผู้สูงอายุ และ ทำข้อตกลงร่วมกับพื้นที่ให้ส่งข้อมูลทันรอบการประมวลผล เนื่องจากขณะนี้ มีจังหวัดรายงานตามระบบเฝ้าระวังเพียง 20-22 จังหวัดจากทั่วประเทศเท่านั้น