คุณกำลังมองหาอะไร?

ลุ่มงานวัยรุ่น ศูนย์อนามัยที่ 11 ลงพื้นที่ร่วมแลกเปลี่ยนระบบการส่งต่อเครือข่าย RSA การยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย (22/2/2563)

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

13.09.2563
0
0
แชร์
13
กันยายน
2563

สืบเนื่องจากการข้อปฏิบัติที่ต้องปฏิบัติ ตามพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ตามยุทธศาสตร์ที่ 3 เกี่ยวกับการจัดบริการสาธารณสุขต้องจัดบริการเพื่อตอบสนองต่อสิทธิของวัยรุ่น มาตรา 5 วัยรุ่นมีสิทธิตัดสินใจด้วยตนเอง และมีสิทธิได้รับข้อมูลข่าวสารและความรู้ ได้รับการบริการอนามัยการเจริญพันธุ์ ได้รับการรักษาความลับและความเป็นส่วนตัว ได้รับการจัดสวัสดิการสังคม อย่างเสมอภาคและไม่ถูกเลือกปฏิบัติ และได้รับสิทธิอื่นใดที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ตามพระราชบัญญัตินี้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน และเพียงพอ ซึ่งตอบสนองต่อกฎกระทรวงที่ออกเป็นข้อบังคับ และในกระบวนการพัฒนาในบริการคือเครือข่าย RSA เป็นการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย ถูกต้องตามกฏหมาย โดยผ่านกระบวนการคัดกรอง คือการให้คำปรึกษาทางเลือก และอายุครรภ์ที่เหมาะสม ด้วยวิธี ที่ปลอดภัย เช่น MVA , Medical Abortion และในภาคใต้ได้ดำเนินการ โดยใช้ระบบการส่งต่อ ตามแนวทางที่ได้ร่วมกันกำหนด โดยแพทย์ RSA และทีม และมีระบบการสื่อสารกันโดย Social พัฒนาระบบมาตั้งแต่ สิงหาคม 2562- ปัจจุบัน มีเครือข่ายคือสหวิชาชีพของ 14 จังหวัดภาคใต้ สายด่วน 1663 เพื่อการพัฒนาเครือข่ายให้มีความเข้าใจ ในกระบวนการมากขึ้น ผู้รับบริการได้รับความสะดวก ปลอดภัย มีระบบการติดตาม มีความเข้าใจในสิทธิ มีระบบการประเมินที่ถูกต้อง



ระหว่างวันที่ 20-27 กุมภาพันธ์ 2563  สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช ร่วมกับ กลุ่มงานวัยรุ่น ศูนย์อนามัยที่ 11 จึงได้ลงพื้นที่ร่วมแลกเปลี่ยนระบบการส่งต่อเครือข่าย RSA การยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย  ร่วมดำเนินการโดยผ่านการสื่อสารช่องทาง Socail โดยใช้ระบบการบริหารจัดการสู่พื้นที่ ( รพ.ในพื้นที่ ที่ผู้รับบริการประสานผ่านสายด่วน 1663 หรือ walk in )  ในขั้นตอนต่างๆ เช่นการให้คำปรึกษาทางเลือก การเชื่อมโยงการดูแล แบบ One Stop Servic ภายในโรงพยาบาล สู่กระบวนการ และการติดตาม  ร่วมแลกเปลี่ยนโดย แพทย์ผู้เกี่ยวข้อง งานเอดส์  จิตเวช ยาเสพติด OSCC  คลินิกวัยรุ่น และงานประกัน ณ โรงพยาบาลขนอม รพ.พรหมคีรี  รพ.หัวไทร รพ.เชียรใหญ่. รพ.จุฬาภรณ์. รพ.สิชล และ รพ.ทุ่งใหญ่ และเครือข่าย รพ.สต.มีความเข้าใจ และมีทัศนคติที่ดี กับ ปัญหาเหล่านี้และจากการสะท้อนปัญหาของพื้นที่ คล้ายกัน



ปัญหายาเสพติด มีปัญหาทางจิตใจ มีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย  อายุน้อยๆ ติดสารเสพติด ความรุนแรงในครอบครัว การเปลี่ยนคู่นอน  ติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หนองใน ซิฟิลิส  เริ่มมีความรุนแรงในหลายกลุ่ม  เอดส์ ไม่ยอมมารับยาหรือรักษาต่อเนื่อง TB ดื้อยา และสุดท้ายการฆ่าตัวตาย หรือาชกรรม  ตั้งครรภ์และไม่ฝากครรภ์ บางรายคลอดเองที่บ้านในครอบครัวที่ติดยาเสพติด ที่เจอ



ทุกอำเภอมีการส่งต่อด้วยปัญหาที่มีความหลากหลาย 4-5 เดือนที่ผ่านมา หลายโรงพยาบาลมีการพัฒนาระบบ ไปในทิศทางที่ดีขึ้น มีระบบการประเมิน มีแพทย์คนที่ 1 ลงนามเห็นชอบตามแบบฟอร์มการยุติการตั้งครรภ์ของแพทย์สภา และเมื่อได้มีการแลกเปลี่ยน ทำให้ บุคลากรโรงพยาบาลได้เปิดใจกัน สร้างข้อตกลง และจะพัฒนาระบบ ให้มีความชัดเจนและถูกต้องตามแนวทาง



ปัญหาถุงยางอนามัยมีใช้ไม่เพียงพอ และ ไม่พอใช้  เป็นปัญหาเชิงนโยบายที่ต้องรีบช่วยแก้ไข 



และมีในจังหวัดนครศรีธรรมราช มีโรงพยาบาลมหาราช และ รพ.ชะอวด นำร่องในการใช้ยา PrEP



ขอขอบคุณเครือข่าย สาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช 



เพื่อการพัฒนาต่อไปในอนาคต กับปัญหาที่มีความซับซ้อน มากยิ่งขึ้น ผู้รับบริการเข้าถึงช่องทาง ลดการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย



นางสายใจ โฆษิตกุลพร ศูนย์อนามัยที่ 11 นครศรีธรรมราช สรุปผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน