คุณกำลังมองหาอะไร?

ระชุมพัฒนาการจัดบริการสุขภาพที่เป็นมิตรและการขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นระดับท้องถิ่น (12/5/2563)

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

24.09.2563
11
0
แชร์
24
กันยายน
2563

วันที่ 12 พฤษภาคม 2563  เวลา 09:00 น. - 16:30 น.  กลุ่มพัฒนาเครือข่ายอนามัยการเจริญพันธุ์จัดประชุมพัฒนาการจัดบริการสุขภาพที่เป็นมิตรและการขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นระดับท้องถิ่น ผ่านระบบประชุมทางไกลออนไลน์ (web conference) โดยมีนายแพทย์มนัส รามเกียรติศักดิ์ รองผู้อำนวยการสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ เป็นประธานในการประชุม วัตถุประสงค์ เพื่อติดตามการดำเนินงานรอบ 6 เดือนหลัง และชี้แจงทิศทางการดำเนินงานรอบ 6 เดือนหลัง ปีงบประมาณ2563 กลุ่มเป้าหมาย ศูนย์อนามัยที่1-12 และสถาบันสุขภาวะเขตเมือง



ประเด็นการดำเนินงานผลงานใน 6  เดือนแรกที่ผ่านมา เป็นการทำงานที่ขับเคลื่อนโดยใช้พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ปี 2559 โดยการประชุมผ่านคณะอนุกรรมการจังหวัด  และขับเคลื่อนโดยใช้ 5  ยุทธศาสตร์หลักในการขยายกิจกรรมลงสู่การปฏิบัติระดับจังหวัด   อำเภอ  ตำบล เกิดกระบวนการการดำเนินงานที่แตกต่างตามต้นทุนทางด้านต่างๆ  ในพื้นที่นั้นๆ  และผลลัพธ์สุดท้ายคือ  อัตราการคลอดมีชีพในมารดา  อายุ  10-14  ปี   อัตราการคลอดมีชีพในมารดาอายุ   15-19  ปี  (  และอัตราการตั้งครรภ์ซ้ำในมารดาอายุน้อยกว่า  20 ปี  และอัตราการคุมกำเนิดกึ่งถาวร ในมารดาวัยรุ่นหลังคลอดและหลังแท้ง )



กลไกเหล่านี้ผ่านการทำงานของหลายกระทรวงในแต่ละประเด็นการพัฒนาและแก้ไขปัญหา  จะติดตามโดย  การประชุมคณะอนุกรรมการจังหวัด  ปีละ 2  ครั้ง ในครึ่งปีแรก  จำนวน 7  จังหวัด  ประชุมได้ 6  จังหวัด  ยกเว้นจังหวัดภูเก็ตเป็นเมืองท่องเที่ยวและเกิดสถานการณ์โควิด  ที่ประชุมได้มีการขับเคลื่อนการจัดทำแผนโดยการจัดตั้งคณะทำงาน  และไปบูรณาการรวบรวมแผน  และดำเนินการ สู่กิจกรรมแต่ละยุทธศาสตร์



สำหรับการติดตามส่วนใหญ่เน้นการขับเคลื่อนงานในยุทธศาสตร์ที่ 3  ของกฎหมายฉบับนี้คือการพัฒนาสถานบริการสู่มาตรฐานที่เป็นมิตรสำหรับวัยรุ่น  Youth  Friendly  Health  Service  สำหรับมาตรฐานนี้สามารถขับเคลื่อนได้  ผลงานสะสม  จากโรงพยาบาลทั้งหมด  79  รพ.ผ่านมาตรฐาน 76 รพ. คิดเป็นร้อยละ 87.3 ในจังหวัดนครศรีธรรมราชร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ลงเยี่ยมเสริมพลัง จำนวน 7 รพ.เพื่อติดตามและ พัฒนาระบบการส่งต่อการยุติการตั้งครรภ์  เครือข่าย RSA ซึ่งเป็นประเด็นปัญหาที่ต้องพัฒนาระบบการเข้าถึง  ระบบการส่งต่อ  ให้ง่ายและสะดวกกับการเข้าถึงบริการ  กับมาตรการโควิด 2019 วางแผนประเมินและประเมินซ้ำไว้อย่างครอบคลุม



เครือข่ายการทำงาน มาตรฐานอำเภออนามัยการเจริญพันธุ์  จำนวน 74  อำเภอ  ผ่านมาตรฐาน 67 อำเภอ คิดเป็นร้อยละ 90.5  และในมาตรฐานนี้จะแยกออกไป  ในการส่งเสริมให้  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ได้มีการดูแล มีส่วนร่วมในการส่งเสริมป้องกันสุขภาวะวัยรุ่นและเยาวชน  ตามบทบาทหน้าที่  เป็น  อปท.เป็นแหล่งเรียนรู้  โดยการจัดทำแผน  สนับสนุน  ขับเคลื่อน  ดูแลสุขภาพวัยรุ่น โดยกำหนด  1 อปท.ต่อ จังหวัดมาตั้งแต่ปี  2560  และในปี  2563  ได้มีการพิจารณาผ่านคณะอนุกรรมการจังหวัด  เหลืออีก 2 จังหวัด คือภูเก็ต  และระนอง   ณ  จุดนี้ทางศูนย์อนามัยที่ 11 ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิแพธทูเฮลท์  และ



บริษัทเชฟรอน ฯ ได้เข้ามาสนับสนุนในเฟสที่ 2 ต่อ  เนื่องจากพื้นที่มีความพึงพอใจและเห็นประโยชน์ร่วมกัน  โดยการเน้น  อปท.เป็นเจ้าภาพ และชวนเครือข่าย  จับมือกันทำงานโดยมีครู หมอ  พ่อ  แม่  ตัววัยรุ่น เพื่อดูแลสุขภาวะ โดยอาศัยพื้นที่ที่อยากทำงาน และสนใจ  มีผู้นำเป็น  อปท.ชัดเจน ในการขับเคลื่อน



โดยเข้าไปสนับกับแผนงานโครงการเดิมที่ทำไว้   แล้ว สนับสนุน  เครื่องมือ  องค์ความรู้ เพื่อให้ครอบครัวสามารถดูแลบุตรหลาน  ได้เด็กกล้าที่จะปรึกษา  พ่อแม่สามารถเปิดใจ พบว่าในแต่ละพื้นที่  3  จังหวัด  นครศรีธรรมราช  5  อำเภอ  สุราษฎร์ธานี  1  อำเภอ  พังงา   3  อำเภอ  มีต้นทุนที่แตกต่าง  กระบวนการทำงานระดับตำบลมีความชัดเจน  ในการบูรณาการของ  5  กระทรวงหลัก  หลายๆ ตำบล 



และนอกจากนี้ยังมีการนำเสนอแผนการพัฒนาครู ข    การผลิตสื่อ  และร่วมกันพิจารณามาตรฐานอำเภออนามัยการเจริญพันธุ์   และปิดประชุม เวลา  16:30  น.     



ผู้เข้าร่วมประชุม 



- นางมยุรี  บุญวรรณ



- นางสาวปรียานุช   มณีโชติ



- นางพจณา  โชโชล 



- นางสายใจ  โฆษิตกุลพร

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน