คุณกำลังมองหาอะไร?

รุปการลงเยี่ยมเครือข่ายบริการภาคใต้ เขตบริการสุขภาพที่ 11 (9/7/2563)

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

24.09.2563
3
0
แชร์
24
กันยายน
2563

วันที่ 1-3 กรกฎาคม 2563 กลุ่มงานพัฒนาการสุขภาพวัยรุ่น เข้าร่วมสรุปการลงเยี่ยมเครือข่ายบริการภาคใต้ เขตบริการสุขภาพที่ 11 



ผู้ลงเยี่ยม ประกอบด้วย



1. นพ.นิธิวัชร์ แสงเรือง??ผู้ประสานงานเครือข่าย RSA



2. นางสายใจ โฆษิตกุลพร??ศูนย์อนามัยที่ 11



3. นางสาวรุ่งระวี พิทักษ์กาญจน์?สสจ.นครศรีธรรมราช



4. นางสาวบุษยา หล้าประสพ??เจ้าหน้าที่โครงการฯ



การดำเนินงาน



 

    • ลงเยี่ยม 5 โรงพยาบาล ใน 3 จังหวัด

        • จ.นครศรีธรรมราช: รพ.ลานสกา, รพ.ค่ายวชิราวุธ

        • จ.สุราษฎร์ธานี: รพ.บ้านนาสาร, รพ.ไชยา

        • จ.พังงา: รพ.ตะกั่วป่า


 

    • มีผู้สนใจสมัครสมาชิกเครือข่าย RSA จำนวน 32 คน

        • แพทย์ 3 คน

        • สหสาขาวิชาชีพ 29 คน


 



รพ.ลานสกา จ.นครศรีธรรมราช



 

    • บริบท

        • ห่างจากอ.เมือง 23 km มีพื้นที่ติดต่อหลายอำเภอ

        • ประชากร 41,000 คน

        • มีแหล่งทำแท้งเถื่อน 2 แห่งในอำเภอ มีเคสมาเป็นระยะ ๆ

        • มีเคสท้องไม่พร้อมจาก OSCC 5-10 คน/ปี


 

    • จุดแข็ง

        • มีระบบ OSCC และคลินิกวัยรุ่นที่เข้มแข็ง ทำงานเชิงรุกร่วมกับท้องถิ่น

        • อัตราคลอดวัยรุ่น 14.35 ต่อพันประชากร คุมกำเนิดหลังคลอด/แท้ง 100% ตั้งครรภ์ซ้ำ 0%

        • พ.ศักดิ์ชัย เคยมีประสบการณ์การใช้ MVA ในการยุติการตั้งครรภ์ใน รพช. เขตสามจังหวัดชายแดนใต้


 

    • ปัญหา

        • บุคลากรบางส่วนยังมีทัศนคติเชิงลบต่อการยุติการตั้งครรภ์

        • แพทย์บางคนไม่ยอมเกี่ยวข้องในกระบวนการช่วยเหลือผู้หญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อม

        • ระบบการ Refer ผู้ป่วยสูตินรีเวชค่อนข้างยาก ทำให้พ.ศักดิ์ชัยกังวลเรื่องการ refer case ที่มี complication จาก safe abortion ใน รพช.

        • ผู้หญิงยังไม่ทราบบริการ มาโรงพยาบาลเมื่ออายุครรภ์เกิน 12 wk


 

    • สิ่งที่ต้องติดตาม

        • ระบบส่งต่อ case ที่เกิด complication จากการให้บริการ safe abortion ของรพ.มหาราช นครศรีธรรมราช

        • การทำความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาล


 



รพ.ค่ายวชิราวุธ จ.นครศรีธรรมราช



 

    • บริบท

        • โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม เจ้าหน้าที่บางส่วนยังมองว่าไม่ใช่ภารกิจของทางโรงพยาบาล

        • ให้บริการเฉพาะ MVA ในอายุครรภ์ไม่เกิน 16 wk

        • การลงเยี่ยมของเครือข่าย RSA ทำให้ผู้บริหาร และหน่วยงานต่าง ๆ ของโรงพยาบาลเข้าใจการทำงานของ พ.กษมพล มากยิ่งขึ้น


 

    • จุดแข็ง

        • มีการจัดระบบส่งต่อโดยใช้ line official ที่ช่วยรักษาความลับของเคส

        • สหสาขาวิชาชีพในเขต 11 มาร่วมกันบริหารจัดการเคส


 

    • ปัญหา

        • ผู้รับบริการต้องเดินทางไปประเมินที่ศูนย์อนามัยที่ 11 (อยู่ห่างกัน 23 km ไม่มีรถประจำทางผ่าน) ก่อนทุกเคส เนื่องจากไม่มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบเรื่อง counselling ในโรงพยาบาลค่ายฯ

        • เจ้าหน้าที่การเงินไม่ค่อยเข้าใจระบบการเคลมของ สปสช.


 

    • สิ่งที่ต้องติดตาม

        • หาช่องทางในการพัฒนาให้ผู้รับบริการไม่ต้องเดินทางไป ศอ.11 ก่อนไปพบแพทย์ที่รพ.ค่ายฯ เช่น ให้รพช.ในเครือข่ายทำเอกสาร

        • ปัญหาในการเบิกจ่ายค่าบริการยุติการตั้งครรภ์ และการคุมกำเนิดกึ่งถาวร


 



รพ.บ้านนาสาร จ.สุราษฎร์ธานี



 

    • บริบท

        • อยู่ทางตอนใต้ของจ.สุราษฎร์ธานี ห่างจากอ.เมือง 37 km

        • ในอดีตเคยมี ผอ.โรงพยาบาล เคยให้บริการยุติการตั้งครรภ์ในโรงพยาบาลมาก่อน


 

    • จุดแข็ง

        • ผอ.มีความมุ่งมั่นที่จะเปิดบริการยุติการตั้งครรภ์

        • ทีมพยาบาลไม่ได้ต่อต้านการทำงานของผอ. (หัวหน้าพยาบาลเป็นมุสลิมเคยเข้าเคสช่วยยุติการตั้งครรภ์ในห้องผ่าตัด)


 

    • ปัญหา

        • ยังไม่มีประสบการณ์ในการเปิดบริการยุติการตั้งครรภ์


 

    • สิ่งที่ต้องติดตาม

        • ทีมสสจ. และรพ.บ้านนาสารจะไปเยี่ยมชมการจัดบริการของ รพร.ฉวาง ภายใน 1-2 wk เพื่อหาแนวทางในการเปิดบริการที่โรงพยาบาล


 



รพ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี



 

    • บริบท

        • เป็นโรงพยาบาลระดับ M2 เป็นแม่ข่ายรับ refer จากโรงพยาบาลในโซนเหนือของจ.สุราษฎร์ธานี

        • ผอ.รพ. เปิดคลินิกแล้วมีเคสไปปรึกษาเรื่องตั้งครรภ์ไม่พร้อมบ่อย ๆ

        • น่าจะมีแรงต้านด้านทัศนคติจากคนในโรงพยาบาล

        • กำลังจะมีสูตินรีแพทย์จบใหม่มาประจำที่โรงพยาบาลในอีก 2 wk ข้างหน้า


 

    • จุดแข็ง

        • ผอ.รพ.พร้อมสนับสนุนให้มีการจัดบริการในรพ. หากสูติแพทย์ยินดีทำ

        • เครือข่ายที่ทำงานเชิงรุก คลินิกวัยรุ่น คลินิกให้คำปรึกษาค่อนข้างเข้มแข็ง มีประสบการณ์ให้คำปรึกษาและส่งต่อเคสท้องไม่พร้อม


 

    • สิ่งที่ต้องติดตาม

        • ความพร้อมของสูติแพทย์ที่มาประจำว่าพร้อมให้บริการ safe abortion ไหม หลังทำงาน 1 เดือน (ปลายเดือนสิงหาคม 2563)

        • ติดตามทีมรพ.ไชยาหลังลงเยี่ยม รพร.ฉวาง


 



รพ.ตะกั่วป่า จ.พังงา



 

    • บริบท

        • เป็นโรงพยาบาลระดับ M1 เป็นแม่ข่ายรับ refer จากโรงพยาบาลตอนเหนือติดทะเลของจ.พังงา

        • มีสูติแพทย์ 3 คน (เห็นด้วยกับการยุติ 2 คน)

        • Flow การให้บริการ: คลินิกให้คำปรึกษา à ประเมินภาวะซึมเศร้าโดยจิตแพทย์ à ตรวจอัลตร้าซาวด์โดยสูติแพทย์ à ให้ยาเม็ดแรก แล้วนัดมา admit อีก 24-36 hr ทุกอายุครรภ์ à จัดทำเอกสารส่งกรมอนามัย

        • หากอายุครรภ์เกินจะ Refer ไปรพ.ค่ายวชิราวุธ

        • เงื่อนไขบริการ รับเฉพาะในจ.พังงา

            • Case rape, OSCC, anomaly รับถึง GA 24 wk

            • Case mental health รับถึง GA 12 wk (พิจารณา 16 wk บางกรณี)




 

    • จุดแข็ง

        • ผอ.เห็นสภาพปัญหา เข้าใจความจำเป็นของผู้หญิง และยินดีสนับสนุนการทำงานของเครือข่าย RSA


 

    • ปัญหา

        • ทัศนคติของเจ้าหน้าที่ในหอผู้ป่วยบางคนไม่ยอมเหน็บยา หรือกำจัดซาก

        • แนวทางการกำจัดซากไม่ชัดเจน

        • ไม่มีห้องให้คำปรึกษาที่เป็นสัดส่วน


 

  • สิ่งที่ต้องติดตาม

      • รพ.ตะกั่วป่าจะนำเรื่อง RSA ไปประสานกับรพ.พังงาในการประชุม MCH จังหวัด เพื่อขยายการทำงานในฝั่งอันดามันทั้งหมด หากรพ.พังงารับด้วยจะแบ่งเขตรับผิดชอบกันแล้วรับเคสในเขตจ.พังงา ภูเก็ต กระบี่ และระนอง

      • ผอ.ให้ใช้ห้องเฟื่องฟ้าสำหรับให้คำปรึกษา

      • ทีมจะไปหารือเรื่องแนวทางการกำจัดซาก เนื่องจากต้องจัดการเคส anomaly ที่ต้องดำเนินการอยู่แล้ว

      • ปรับระบบการให้ยา misoprostol เป็นการอมแทนการเหน็บยา เพื่อลดภาระของบุคลากร


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน