คุณกำลังมองหาอะไร?

ผนกผู้ป่วยในเข้าร่วมประชุมการดำเนินงานพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan) สาขาการดูแลแบบประคับประคอง (24/7/2563)

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

24.09.2563
11
0
แชร์
24
กันยายน
2563

วันที่ 24 กรกฎาคม 2563 เวลา 08.30-16.00 น. เจ้าหน้าที่แผนกผู้ป่วยในเข้าร่วมประชุมการดำเนินงานพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan) สาขาการดูแลแบบประคับประคอง ณ ห้องประชุมชั้น 3 อาคาร 9 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครศรีธรรมราช  โดยมีวาระการประชุม ดังนีั้



- นำเสนอผลการดำเนินงาน ปี 2560-2562 โดยผู้ประสานงานพัฒนาระบบบริการสุขภาพ สาขาการดูแลแบบประคับประคอง (Palliative Care) ระดับจังหวัด



- ชี้แจงแนวทางการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ สาขาการดูแลแบบประคับประคอง (Palliative Care)



- แนวทางการบริหารจัดการกองทุนย่อยการดูแลแบบประคับประคอง (Palliative Care) โดยคุณอาคม เดชประมวลหล สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 11 สุราษฎร์ธานี



- นำเสนอแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานการดูแลแบบประคับประคอง (Palliative Care) โดย โรงพยาบาลท่าศาลา โรงพยาบาลปากพนัง โรงพยาบาลทุ่งสง โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชฉวาง และโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช



- ระดมความคิดการพัฒนาดำเนินงานการดูแลแบบประคับประคอง (Palliative Care) เครือข่ายบริการ



ผู้ป่วยระยะสุดท้าย หมายถึง ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยแล้วว่า สภาพการป่วยไข้เป็นระยะลุกลาม เรื้อรัง หรือเข้าสู้ระยะท้ายๆ ของโรค ซึ่งไม่มีวันรักษาให้หายได้ โดยมากจะมีชีวิตอยู่น้อยกว่า 1 ปี



เงื่อนไข  Palliative Care



1. PDX ต้องเป็นโรคเรื้อรัง ตามแนวทาง Palliative Care ของสมาคม



2. SDX ระบุ Z515



3. ลงทะเบียนวินิจฉัย เยี่ยมบ้านครั้งแรก



4. ไปบันทึกที่ F6 บันทึกกรณีการดูแลผู้ป่วยระยะท้าย เลือกรายการ 3 End of Life Care และระบุวันที่เริ่มเยี่ยมบ้าน แล้วกดปุ่มเพิ่มรายการ



5. บันทึกหน้า F7 เลือกที่ปุ่มรายการอื่น ที่ยังไม่ได้จัดหมวด บันทึกการให้ยา ทำแผล ให้ออกซิเจน(ไม่จ่ายเพิ่ม) ถ้าเยี่ยมบ้านเฉยๆ ไม่ต้อง บันทึกในส่วนนี้



6. ณ 1 เม.ย. ของทุกปี ควรลงทะเบียนใหม่



วิธีการบันทึกข้อมูล



 บันทึกข้อมูล e-claim : ประเภทผู้ป่วยนอก



 เมนู F1 = ข้อมูลทั่วไป



 เมนู F2 = การวินิจฉัยโรค



 เมนู F3 = กาผ่าตัดหัตถการ



 เมนู F6 = Palliative Care



 เมนู F7 = ค่ารักษาพยาบาล



ประเด็นหารือแนวทางการจัดการเครืองข่าย Palliative Care



1. การจัดเครือข่าย ฯ บริการ



- รพศ.รพท.เมื่อ D/C ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัย Palliative Care นอกพื้นที่บริการ ควรจะกำหนดแนวทางประสานผู้รับผิดชอบในพื้นที่เพื่อดูแลผู้ป่วยตามเกณฑ์



2.การจัดสรรค่าบริการภายในเครือข่าย



- ทีมสหวิชาชีพร่วมระหว่าง รพ.แม่ข่ายฯ และลูกข่าย



- ดำเนินการโดย รพ.สต.  รพ.แม่ข่ายสนับสนุนเวชภัณฑ์

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน