คุณกำลังมองหาอะไร?

กา

การยกระดับสถานบริการและอนามัยสิ่งแวดล้อม สู่ Premium Service ในรูปแบบวิถีใหม่ New Normal (31/7/2563)

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

24.09.2563
28
0
แชร์
24
กันยายน
2563

เป็นที่ทราบกันดีว่า การทำหัตถการทางทันตกรรมส่วนใหญ่ จะก่อให้เกิดการฟุ้งกระจายของละออง (Droplet) ทั้งละอองฝอย และละอองลอย จึงจำเป็น จะต้องมีการจัดการและออกแบบระบบระบายอากาศ  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภายใต้การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 หน่วยบริการ ยิ่งต้องมีมาตรการการป้องกัน และเน้น ความปลอดภัยในการให้บริการ ทั้งในเรื่องโครงสร้าง การจัดการสิ่งแวดล้อมของคลินิกทันตกรรมและการจัดระบบการให้บริการ โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ให้บริการและผู้รับบริการเป็นหลัก 



นอกจากนี้ หน่วยบริการสาธารณสุข ยังต้องเตรียมความพร้อม และจัดบริการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกัน รักษา และฟื้นฟู ให้กับผู้รับบริการทุกกลุ่มวัย แบบ “New Normal” ด้วย ยิ่งกว่านั้น กรมอนามัย มีนโยบายให้ศูนย์อนามัย ยกระดับการบริการ สู่การเป็น “Prevention Promotion Premium clinic” รวมทั้งเป็นต้นแบบในการจัดการสิ่งแวดล้อมในคลินิก ให้ได้มาตรฐานของสถานบริการ เพื่อให้ผ่านการรับรองของ สถาบันรับรองคุณภาพสถานบริการ (องค์การมหาชน) มาตรฐานวิชาชีพ และมาตรฐานสากลของสถานบริการ และที่สุดคือ การทำให้ สถานบริการเป็นสถานที่พร้อมในการดูแลรักษาผู้รับบริการ ทั้งมิติของ “Disease” และ “Iillness”



ภายใต้การนำ และวิสัยทัศน์ของนายแพทย์วินัย ตันติธนพร ผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ 11 ที่ต้องการเห็นการปรับเปลี่ยนโครงสร้าง และสิ่งแวดล้อมของหน่วยบริการ ให้ได้มาตรฐาน เอื้อต่อการยกระดับการบริการ และมีแนวทางการพัฒนาอย่างเป็นระบบ จึงเห็นชอบ ให้งานทันตสาธารณสุข ศูนย์อนามัยที่ 11 จัดการประชุม ยกระดับการพัฒนาสถานบริการและอนามัยสิ่งแวดล้อม ในการจัดบริการคลินิก Premium Service สู่วิถีใหม่ New Normal ในวันที่ 31 กรกฎาคม 2563 ณ ห้องประชุมสิริธรรม ศูนย์อนามัยที่ 11 อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อให้บุคลากรของศูนย์อนามัยที่ 11 และผู้สนใจ ได้เปิดมุมมอง และมีแนวคิด ในการพัฒนาการออกแบบคลินิก ให้มีความสุข ทั้งผู้รับ และให้บริการ รวมทั้งให้ผู้เชี่ยวชาญด้านสถาปัตยกรรม และวิศวกรรม ให้ความเห็น และชี้แนะแนวทางการพัฒนา



ผู้เข้าประชุมในครั้งนี้ ประกอบด้วย บุคลากรในศูนย์อนามัยที่ 11 ทันตบุคลากรจาก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน จากจังหวัดนครศรีธรรมราช และผู้สนใจ จำนวน 50 คน



โดยได้รับเกียรติ จาก อาจารย์โกศล จึงเสถียรทรัพย์ สถาปนิก นักวิจัย, ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อการเยียวยา นายอานุภาพ ละออ วิศวกรเครื่องกลชำนาญการพิเศษ กองวิศวกรรมการแพทย์และ คุณอภิกันต์ อ้วนสกุลเสรี : Technical Engineering : AAF International (Thailand) บรรยายในช่วงเช้า



ช่วงบ่าย เป็นการระดมความคิดเห็นในการออกแบบคลินิกทันตกรรม โดยทีมสถาปนิก วิศวกร จากหน่วยงานอิสระ อาจารย์สาขาวิชาสถาปัตยกรรม สำนักวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์เเละการออกแบบ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กองวิศวกรรมการแพทย์ ศูนย์สนับสนุนบริการสุขภาพเขต 11 ช่างผู้เชี่ยวชาญด้านการเขียนแบบ ออกแบบภายใน ช่างติดตั้งระบบระบายอากาศ และ ช่างดูแลยูนิตทันตกรรม เพื่อร่วมกันให้ความเห็นและเสนอรูปแบบการปรับปรุงคลินิกทันตกรรม  และ แนวทางการพัฒนาสถานบริการในภาพรวม ต่อผู้อำนวยการ ศูนย์อนามัยที่ 11



ซึ่งสรุปประเด็นสำคัญ และแนวทางพัฒนาดังนี้



1. ปัญหาภาพรวม คือหลังคารั่ว ทั่วทั้งอาคาร ในหลายบริเวณ เนื่องจาก หลังคาที่ซ้อนกัน มีช่องรอยต่อมาก หลังคามีความชันน้อย และ หลังคาในแต่ละจุดไม่รางรองรับน้ำฝน ซึ่งการรั่วของเพดาน  ส่งผลให้ฝ้าเพดานเป็นเชื้อรา และ มีตำแหน่งฝ้าทะลุในหลายจุด  ทีมช่างผู้เชี่ยวชาญ เสนอให้มีการสำรวจหลังคา และประเมินราคาในการซ่อมแซม โดยให้เปลี่ยนจากกระเบื้องลอนคู่ เป็น Metal  Sheet Polyurethane 1 นิ้ว เพื่อลดรอยต่อ ลดความร้อน และลดเสียงดัง และทำระบบกันซึมในบริเวณหลังคาปูน โดย SLAB ปูน   และเปลี่ยน Sky Light เดิม ในบริเวณทางเดินกลางของลาน หน้าห้องจ่ายยา เป็นเกล็ดระบบระบายอากาศ กันน้ำรั่ว และลดแสงที่จ้าเกินไป



2. เนื่องจากตำแหน่งคลินิกทันตกรรมปัจจุบัน มีปัญหาสถานที่คับแคบ ไม่เอื้อต่อการปรับพื้นที่ใช้สอยให้คุ้มค่าการลงทุน ปรับปรุงระบบระบายอากาศ และปรับโครงสร้างห้อง จึงเสนอแผนการปรับปรุง เป็น 2 ระยะ



ระยะสั้น : เพิ่มเครื่องฟอกอากาศ แบบ Mobile purifier และติดพัดลมดูดอากาศ ในคลินิกปัจจุบัน เพื่อแก้ปัญหา ระบบระบายอากาศ ให้คลินิกสามารถให้บริการ ด้วยความปลอดภัย ในระหว่างรอการออกแบบและปรับปรุงคลินิกทันตกรรมใหม่



ระยะยาว : เสนอให้ย้ายคลินิกทันตกรรม ไปอยู่ ในบริเวณห้องตรวจชิ้นเซลล์วิทยา และห้องที่ติดกัน ทั้ง 3 ห้อง ผนวกกับส่วนที่ต่อเติมบริเวณที่ว่างตรงข้ามห้องจ่ายยา และ สลับห้องพักเภสัชกร กับห้องพักทันตแพทย์ โดยให้ออกแบบ พร้อม TOR  ปร. 4  ปร. 5 เพื่อเตรียมเสนอ ในการจัดหางบประมาณ



3. ภาพรวมการพัฒนาโครงสร้าง และเตรียมยกระดับ Premium



เสนอทำเป็น Master Plan ทั้ง ศูนย์อนามัยที่ 11 โดยวางผังการบริหารจัดการพื้นที่ใหม่ ให้มีการใช้พื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ โดยให้หน่วยบริการ จัดทำ work shop เสนอความต้องการ การใช้สอยพื้นที่ ให้ได้ตามมาตรฐาน รวมทั้ง ออกแบบ จัดทำ TOR  ปร. 4  ปร. 5 เพื่อเตรียมเสนอ ให้พร้อมในการจัดหางบประมาณ



แหล่งงบประมาณ ที่ใช้ มีทั้งจากระบบงบประมาณ ในระบบราชการ และเงินรายได้อื่นๆ รวมทั้งเงินบริจาค  โดยแหล่งงบประมาณ ในระบบราชการ มาจาก 3 แหล่ง คือ



1. งบเหลือจ่ายปีงบประมาณ 2564  ใช้จัดซื้อครุภัณฑ์ ซึ่งจะเสนอในราวเดือน พฤษภาคม – มิถุนายน



2. งบลงทุนปี 2565 มีกำหนดให้เสนอช่วงปลาย กันยายน 2563 เพื่อนำเสนอในปีงบ 2564



3. งบค่าเสื่อม



ซึ่งทีมวิทยากร ได้เสนอแนวทาง และ เทคนิคในการหางบประมาณ ในช่องทางอื่นๆเพิ่มเติม เช่น การทำงานเชิงรุกเพื่อการรายได้เพิ่มเติม การขอรับการบริจาค โดยการประชาสัมพันธ์ผลงานผ่านระบบ สื่อสาร และช่องทางประชาสัมพันธ์ผ่าน Social และเทคนิคอื่นๆ ที่น่าสนใจ



แผนที่จะต้องดำเนินการต่อ :



1. สำรวจหลังคา และประเมินราคาในการซ่อมแซม



2. ให้ทีมวิศวกร และสถาปนิก ออกแบบ คลินิกทันตกรรมและประเมินโครงสร้างอาคาร



3. สำหรับการออกแบบคลินิกทันตกรรม ให้เตรียมข้อมูล มาตรฐานสถานบริการ และ ความต้องการพื้นที่ใช้สอย



4. นำเสนอประเด็นการปรับปรุง และกำหนด Master plan ของ ศูนย์อนามัยที่ 11 เพื่อให้คณะกรรมการบริหารศูนย์ฯ ร่วมกำหนดแนวทางการพัฒนา

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน