คุณกำลังมองหาอะไร?

ระชุมงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2563 (Thailand Research Expo 2020) (2/8/2563)

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

24.09.2563
36
0
แชร์
24
กันยายน
2563

วันที่ 2 สิงหาคม 2563 กลุ่มงานเทคนิคบริการและวิชาการ ศูนย์อนามัยที่ 11 เข้าร่วมประชุมงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2563 (Thailand Research Expo 2020)  ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ  ซึ่งจัดโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับ หน่วยงานเครือข่ายในระบบวิจัยทั่วประเทศ  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นกลไกหนึ่งในการส่งเสริมนวัตกรรมทางการแพทย์และสาธารณสุข รวมถึงแนวทางการป้องกัน บรรเทา และเยียวยาจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019



สรุปประเด็นสำคัญจากการเข้าร่วมประชุมในเวทีเสวนาของกรมอนามัย ในวันที่ 2 สิงหาคม 2563 ได้ดังนี้



การบรรยายพิเศษ "การสร้างเสริมสุขภาพฐานวิถีชีวิตใหม่เพื่อคนไทยสุขภาพดี" โดย แพทย์หญิงพรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย



1. การเตรียมโรงพยาบาลและเวชภัณฑ์ เพื่อการระบาดระลอก 2 มีความพร้อม และความร่วมมือของประชาชน และภาคเอกชน รวมถึงการใช้เครื่องมือ Digital และการจัดการเชิงการป้องกัน และการสร้างความมั่นใจ



2. พันธกิจกรมอนามัย เพื่อการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19  ในระยะเริ่มต้นการระบาด ใช้ 3 ล (ลด เลี่ยง ดูแล)  สำคัญคือการดูแลคนทุกกลุ่มวัย ที่ต้องเปลี่ยนไปตามสถานการณ์



3. ระยะระบาดในวงกว้าง ในช่วงแรกกิจการที่จำเป็นต่อชีวิตประจำวัน เช่น ตลาด ร้านสะดวกซื้อ มีการใช้มาตรฐาน และปรับปรุงมาตรฐานอย่างต่อเนื่อง เป็นกลไกการเฝ้าระวังของประเทศ มีการเรียนรู้ และพัฒนาต่อยอด



4. ระบบ Thai Stop Covid เป็น Digital Platform มีข้อมูลสถานประกอบการตาม มีการประเมินตนเอง มีแนวทางการพัฒนาและแก้ไข เริ่มจากงานสิ่งแวดล้อม พัฒนาสู่การส่งเสริมสุขภาพตามกลุ่มวัย



5. ความสำคัญของมาตรฐานทางสุขภาพ ได้รับการยอมรับและให้ความสำคัญ เกิดการยกระดับมาตรฐานทางสุขอนามัยของบุคคลและหน่วยงาน



 สรุปประเด็นสำคัญจากเวทีเสวนา "เครื่องมือเปิดเมืองปลอดภัย Thai Stop COVID"



บรรยายโดย  อ.สุนิตย์ เชรษฐา จากสถาบัน Change Fusion



เทคโนโลยีดิจิตอล เพื่อเปิดเมืองปลอดภัย เกิดวิถีใหม่ที่ดีกว่าเดิม (Better New Normal) โดยมีเงื่อนไขสำคัญ 4 ประเด็น



1. การเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้อง ลดข่าวลวง



2. Self Care & Group Care



3. การเฝ้าระวังและการจัดการแบบมีส่วนร่วม



4. การระดมความช่วยเหลือในสังคม (Social Mobilization)



นพ.บัญชา ค้าของ รองอธิบดีกรมอนามัย



ภารกิจกรมอนามัยภายใต้สถานการณ์ COVID-19



1. ลดการระบาดของโรคในประชาชน



2. สร้างความเชื่อมั่นในการใช้ชีวิตประจำวันของประชาชนและสถานประกอบการให้มีความปลอดภัย



Digital Transformation : Thai Stop COVID  จากผลกระทบจากการกลัว COVID มีผลต่อผู้ประกอบการ



จึงต้องมีการสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน (ตัวอย่าง กรมอนามัยการรณรงค์ใช้หน้ากากผ้าในประชาชนทั่วไป เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ)  โดยผู้ประกอบกิจการ ดำเนินการเป็นไปตามมาตรฐาน และประชาชนร่วมตรวจสอบ



การป้องกันการระบาดระลอก 2 มีปัจจัยสำคัญ 3 ส่วน คือ พฤติกรรมประชาชน การปฏิบัติของผู้ประกอบการ และการควบคุมโรคของเครือข่าย  ใช้แนวทาง



1. Family Surveillance by Digital New Normal



2. Home-based Self Care และ Early detect + Early isolation



ดร.ศิวัช บุญเกิด รองปลัดเทศบาลเมืองหัวหิน



ปัจจัยความสำเร็จ



1. ใช้เครื่องมือ Thai Stop COVID



2. HDC Platform : H-Hygiene (สุขลักษณะ) D-Distancing (ระยะห่าง) C-Clean (ทำความสะอาด)



3. ใช้ทุนที่เป็นศักยภาพของพื้นที่ : ศาสตร์พระราชา เศรษฐกิจพอเพียง  พึ่งตนเอง และเริ่มจาก individual (คนหัวหินรู้เท่าทันโควิด)



- คุณดอน ลิ้มนันทพิสิฐ  ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการท่องเที่ยว สิ่งแวดล้อมและผังเมือง



ปัจจัยความสำเร็จ



1. ใช้มาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข ผ่อนปรนโดยการใช้ Thai Stop COVID ตัวอย่าง การเปิดถนนคนเดิน จ.ภูเก็ต



2. ใช้ App ลดการพูดคุย พัฒนาเป็น 3 ภาษา มีข้อมูลโภชนาการและ สแกนชำระเงิน พัฒนาความร่วมมือกับ รพ.วชิระภูเก็ตและ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สาขาภูเก็ต



3. การจัดการแหล่งท่องเที่ยวและร้านค้า ในแบบ New Normal



ผู้เข้าร่วมประชุม พญ.วรลักษณ์  คีรินทร์นนท์  กลุ่มงานเทคนิคบริการและวิชาการ

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน