คุณกำลังมองหาอะไร?

ยี่ยมประเมินการจัดบริการที่เป็นมิตรสำหรับวัยรุ่นและเยาวชน และ ภาคีเครือข่าย ครู หมอ พ่อ แม่ วัยรุ่น อปท. จังหวัดชุมพร (5/8/2563)

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

24.09.2563
1
0
แชร์
24
กันยายน
2563

วันที่ 5 สิงหาคม 2563  กลุ่มงานส่งเสริมพัฒนาการวัยรุ่น ศูนย์อนามัยที่ 11 ลงพื้นที่เยี่ยมประเมินการจัดบริการที่เป็นมิตรสำหรับวัยรุ่นและเยาวชน และ ภาคีเครือข่าย ครู หมอ พ่อ แม่ วัยรุ่น อปท. ระบบ ตามมาตรฐาน Youth Friendly Health Service & อำเภออนามัยการเจริญพันธุ์  ( RHD ) ณ ห้องประชุมโรงพยาบาลพะโต๊ะ อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร  เพื่อจัดบริการสุขภาพที่เป็นมิตร เข้าถึงสะดวก และเป็นความลับ  โดยการขับเคลื่อนงาน ตอบสนองต่อสิทธิ ของวัยรุ่น พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น



       • ยุทธศาสตร์ที่ 3 สถานบริการสาธารณสุขทุกระดับต้องจัดระบบบริการ  โดยการแบ่งสถานบริการแต่ละระดับ ตามศักยภาพ ในการจัดระบบบริการเชิงระบบคุณภาพ และ การส่งต่อ รวมทั้งการสร้างเครือข่ายในการดูแลสุขภาพวัยรุ่นทั้งเชิงรับและเชิงรุก



       • ผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยน ทีมสหวิชาชีพโรงพยาบาลพะโต๊ะ  สาธารณสุขอำเภอพะโต๊ะ



รพ.สต.ทั้ง 5 แห่ง  รองนายก อบต.พะโต๊ะ  คุณครูโรงเรียนอนุบาลพะโต๊ะ  คุณครูโรงเรียนพะโต๊ะ  ประธาน อสม.อำเภอพะโต๊ะ อสม.ประธานแกนนำรู้ทันเอดส์  นำเสนอกระบวนการดำเนินระบบการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมโดย นายแพทย์เชาวะนนท์ นนท์ทอง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพะโต๊ะ  เป็นการนำเสนอการทำงานเชิงระบบคุณภาพ โดยใช้ฐานข้อมูล ทั้งพฤติกรรมเสี่ยง  สิ่งแวดล้อม และต้นทุนทางด้านต่างๆ ของพื้นที่อำเภอพะโต๊ะ  จัดระบบการส่งเสริมสุขภาพป้องกัน  การเฝ้าระวัง และรักษา ฟื้นฟู วัยรุ่นทั้งกลุ่มดี กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มที่ป่วยหรือมีปัญหาทางด้านร่าง จิตใจ สังคม  โดยการเน้นครอบครัว ชุมชน เข้ามามีส่วนร่วม 



       • การจัดระบบบริการจะเน้นถึงปัญหา และความต้องการของพื้นที่  และมีการพัฒนาระบบบริการอย่างสม่ำเสมอ มีช่องทางการเข้าถึงหลากหลายช่องทาง และแนวโน้มที่วัยรุ่นเข้าถึงโดยช่องทาง Socail media และการรับบริการแบบเชิงรุกนอกสถานที่ มากขึ้น ( จากการจัดเก็บข้อมูลการเข้าถึงบริการทุกช่องทาง ) และความพึงพอใจในการเข้าถึงบริการ )



       • ด้วยบริบทของพื้นที่ ประชากรฐานะค่อนข้างดี ข้อมูลการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เช่นการตั้งครรภ์ซ้ำ มีความสอดคล้องกับอัตราการคุมกำเนิดกึ่งถาวร เนื่องจากครอบครัวมีความพร้อม  ในการมีครอบครัว แต่ก็มีแนวโน้มลดลงในอัตราคลอดมีชีพมารดาอายุ 10-14 ปี และ 15-19 ปี คลอดอายุต่ำสุด 14 ปี ปัญหาความรุนแรงหรือ OSCC เมื่อมาวิเคราะห์เชิงลึก 2-3 ปีผ่านมา ที่มีปัญหาจริงๆ น้อยมาก



       • เครือข่าย สาธารณสุขอำเภอ รพ.สต.มีระบบการให้บริการ การเฝ้าระวัง และระบบการส่งต่อ และรับ เคสจาก รพ.ทุก รพ.สต.มีการจัดทำแผนการดูแลวัยรุ่น ในรูปแบบ คปสอ. เน้นการทำงานกับเครือข่าย โดยการขอสนับสนุนกองทุน สุขภาพ จาก อปท.เพื่อสร้างกิจกรรมกับแกนนำวัยรุ่นในและนอกระบบการศึกษา ร่วมกับ อสม.แกนนำชุมชน และ การทำกิจกรรมครอบครัวอบอุ่นกับ อปท.โดยวิทยากร จาก เครือข่ายในจังหวัด  และร่วมบูรณาการกับงาน To Be No1



       • โรงเรียน มีการเสริมสร้างทักษะ ในหลากหลายด้านมีความสอดคล้องกับ เพศวิถีศึกษา ไม่ว่าจะเป็นการสร้างทักษะการปฏิเสธ จริยธรรม คุณธรรม มีระบบการเฝ้าระวังนักเรียนแต่ละกลุ่ม มีระบบการช่วยเหลือนักเรียน ระบบการส่งต่อ ทำงานเชื่อมโยงกับเครือข่าย นักเรียนจะมีช่องทางสื่อสารทาง Socail โดย โรงพยาบาล เป็น Admin



      • แกนนำรู้ทันเอดส์  ร้างกิจกรรมเชิงรับและเชิงรุก และ ทราบความต้องการของวัยรุ่น และสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อ เช่น ลานกีฬา ค่ายมวย ดนตรี  และเป็นการตอบโจทย์วัยรุ่นในพื้นที่มาก และมีแผน การแข่งขันกีฬาแบบ Leak ในปีต่อไป



       • จากการสร้างกิจกรรมเชิงรุก ทำให้ทัศนคติของ พ่อแม่ ประชาชน มีทัศนคติเรื่องเพศ ดีขึ้น ยอมรับเปิดใจ และ ทีมได้ร่วมกันวิเคราะห์  และมีสิ่งที่ภาคภูมิใจ และโอกาสพัฒนา ในอนาคต



       • ทีมแลกเปลี่ยน ผู้รับผิดชอบงานวัยรุ่น สาธารณสุขจังหวัดชุมพร และ ทีมจากศูนย์อนามัยที่ 11 นครศรีธรรมราช



ขอขอบคุณเครือข่ายอำเภอพะโต๊ะ

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน