คุณกำลังมองหาอะไร?

ศู

ศูนย์อนามัยที่ 11 นครศรีธรรมราช ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดระบบบริการสำหรับวัยรุ่นและเยาวชน และการสร้างเครือข่ายในการดูแลสุขภาวะวัยรุ่นและเยาวชน

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

24.09.2563
2
0
แชร์
24
กันยายน
2563

วันที่ 7 สิงหาคม 2563  กลุ่มงานส่งพัฒนาการสุขภาพวัยรุ่น ศูนย์อนามัยที่11 ลงพื้นที่ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดระบบบริการสำหรับวัยรุ่นและเยาวชน และ การสร้างเครือข่ายในการดูแลสุขภาวะวัยรุ่นและเยาวชน ตามมาตรฐานการบริการที่เป็นมิตรสำหรับวัยรุ่นและเยาวชน ( Youth Friendly Health Service : YFHS ) และอำเภออนามัยการเจริญพันธุ์ ( RHD )  ณ ห้องประชุมโรงพยาบาลสวี อำเภอสวี จังหวัดชุมพร  นำโดย นายแพทย์พงษ์เธียร  พันธ์พิพัฒน์ไพบูลย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสวี  และทีมประกอบด้วยผู้รับผิดชอบคลินิกวัยรุ่น  งานฝากครรภ์  งานสุขภาพจิต ( ยาเสพติด จิตเวช OSCC ) คลินิก ARV OPD PP LR  ภาคีเครือข่าย สาธารณสุขอำเภอสวี ,คุณครูแนะแนวโรงเรียนสวีวิทยา แกนนำ YC , รองผู้อำนวยกาโรงเรียนอนุบาลสวี  ,ตัวแทนเทศบาลตำบลนาโพธิ์พัฒนา ฯลฯ



     • ได้มีการนำเสนอที่มีความครอบคลุมในกระบวนการดำเนินงานระบบการดูแลสุขภาพกลุ่มวัยรุ่นและเยาวชน และการมีส่วนร่วมกับภาคีเครือข่าย ข้อสังเกต มีการพัฒนาคุณภาพเชิงระบบที่ต่อเนื่อง ทุกแผนกมีการบูรณาการงานแบบไร้รอยต่อ การตั้งเป้าหมาย และนโยบายสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งภายในและภายนอกองค์กร มีระบบการส่งต่อ การติดตาม ผู้รับบริการ  ในกระบวนการคุณภาพ มีการนำข้อมูลรอบด้าน มาวิเคราะห์เพื่อพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง เกิดเป็นนวัตกรรม ในหลายๆ งาน ผู้บริหารให้ความสำคัญในการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรที่เหมาะกับงานที่รับผิดชอบ ส่งผลกระทบให้เกิดผลลัพธ์ มีแนวโน้ม ที่ดี มีการเข้าถึงบริการที่สะดวก หลายหลายช่องทาง เป็นความลับ มีการสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการ และวิเคราะห์ผลแต่ละด้านทั้งเชิงรับและเชิงรุก



    • สถานศึกษา มีตัวแทนโรงเรียนสวีวิทยา ( มัธยม ) : เป็น OHOS : One Hospital One School โรงเรียนได้จัดการเรียนการสอนเพศวิถีศึกษา มีระบบการคัดกรองด้วยเครื่องมือ SDQ นักเรียนและสร้างกิจกรรมเสริมสร้างทักษะ  มีนักเรียนแกนนำ YC ห้องละ 2 คน ศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่น To Be Number One มีระบบการแก้ปัญหาเป็นระดับ คือด้วยตัวนักเรียน คุณครู ส่งต่อโรงพยาบาล // โรงเรียนอนุบาลสวี มีระบบการเฝ้าระวัง การคัดกรอง และระบบการช่วยเหลือนักเรียน โรงพยาบาลเข้าไปสนับสนุนทางด้านวิชาการ และการเฝ้าระวังสุขภาพจิต สุขภาพกาย รวมทั้งการคัดกรอง NCD ในกลุ่มเสี่ยง เพื่อเฝ้าระวัง ตั้งแต่ เนิ่นๆ พัฒนาแกนนำในโรงเรียน ฯลฯ



    • สาธารณสุขอำเภอสวี วิเคราะห์ปัญหา ประเมินผลแผนงานโครงการ และร่วมจัดทำแผนในระดับอำเภอ ร่วมกับโรงพยาบาล รพ.สต.แกนนำชุมชน อปท.โรงเรียน ได้รับการสนับสนุนงบประมาณอย่างเพียงพอจาก กองทุนของ อปท. ทุกแห่ง งบจากโรงพยาบาล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชุมพร และ งบ สสส. ในการจัดกิจกรรมในชุมชนสู่เครือข่ายต่างๆ



     • อปท.สนับสนุนงบประมาณ ในการดูแลส่งเสริม ป้องกันแก้ไข ในคุณภาพชีวิตของวัยรุ่นและเยาวชน คือ ศูนย์พัฒนาครอบครัวจัดกิจกรรมสื่อสารเชิงบวกและกิจกรรมครอบครัวอบอุ่น พัฒนาแกนนำวัยรุ่นในชุมชน สร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อ เช่น สนับสนุนการออกกำลังกาย การเล่นกีฬาประเภทต่างๆ และร่วมกับแกนนำชุมชน อสม. และอำเภอสวีเป็นอำเภอต้นแบบ การแก้ไขปัญหา เหล้า บุหรี่ งบจาก สสส. การจัดตั้งชมรม To Be Number One ในชุมชน



- มีการสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการที่คลินิกวัยรุ่น บริการเชิงรุกนอกสถานที่ผู้ให้บริการและภาคีเครือข่าย ดังรายละเอียด



จากกระบวนการสร้างระบบ กระบวนการ เครือข่าย สะท้อนให้เห็นถึงความสอดคล้อง กลไกระดับอำเภอ ที่ขับเคลื่อนงาน ประจำ การร่วมมือสร้าง แก้ไข ปัญหา วัยรุ่น มีความสอดคล้องตามพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ปี 2559 ภายใต้กลไกระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล มีความครอบคลุมทั้ง 5 ยุทธศาสตร์  และกฎกระทรวง



หมายเหตุ ศึกษารายละเอียด เว็ปไซ สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์   กรมอนามัย 



          • ทีมแลกเปลี่ยน ประกอบด้วย  ศูนย์อนามัยที่ 11 นครศรีธรรมราช  ศูนย์สุขภาพจิตที่ 11 สุราษฎร์ธานี และ านส่งเสริมสุขภาพสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชุมพร



ขอขอบคุณภาคีเครือข่ายอำเภอสวี

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน