คุณกำลังมองหาอะไร?

ยี่ยมประเมินการจัดระบบบริการสำหรับวัยรุ่นและเยาวชน อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร (17/8/2563)

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

24.09.2563
14
0
แชร์
24
กันยายน
2563

วันที่ 17 สิงหาคม 2563 กลุ่มงานพัฒนาการส่งเสริมสุขภาพวัยรุ่น ลงพื้นที่เยี่ยมประเมินการจัดระบบบริการสำหรับวัยรุ่นและเยาวชน ตามมาตรฐาน Youth Friendly Health service : YFHS & อำเภออนามัยการเจริญพันธุ์ ( RHD ) ณ ห้องประชุมโรงพยาบาลท่าแซะ อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร  ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง คือ อปท. สถานศึกษา ครอบครัว ชุมชน และ เครือข่ายสาธารณสุขอำเภอ รพ.สต. NGO ฯลฯ โดยการใช้เครื่องมือ คือ พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ปี 2559 ประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์หลัก



บทบาทของสาธารณสุข มีบทบาทนำในยุทธศาสตร์ที่ 3 การจัดระบบบริการตามระดับของสถานบริการ โดยเน้น การถึงสะดวก ปลอดภัย และเป็นความลับ ตอบสนองต่อสิทธิของวัยรุ่น ตาม พ.ร.บ.ฉบับนี้



ประธาน ในวันนี้ สาธารณสุขอำเภอท่าแซะ มีทัศนคติแนวคิด และเห็นโอกาสพัฒนา เมื่อได้แลกเปลี่ยน กันในเวที ผู้ร่วมแลกเปลี่ยน ตัวแทนแผนกที่เกี่ยวข้อง ของโรงพยาบาลท่าแซะ  ผอ.รพ.สต.หงษ์เจริญ  รพ.สต.สลุย  อสม.ตำบลต่างๆ นักพัฒน์ อบต.ทรัพย์อนันต์  คุณครู กศน.อำเภอท่าแซะ ตัวแทนคุณครุโรงเรียนขยายโอกาส



ตัวแทนเทศบาลตำบลท่าแซะ นำเสนอการดำเนินงาน นายแพทย์ธนธรณ์ ทรัพย์มี  โรงพยาบาล และเครือข่าย ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะวัยรุ่น ได้ร่วมกันกำหนดเป้าหมาย กลยุทธ นโยบาย แผนงานโครงการ ที่ดำเนินงาน ทั้งเชิงรับและเชิงรุก มีกระบวนการสื่อสารนโยบาย สู่การรับรู้ และ เกิดแผนงานโครงการที่สอดคล้องกับปัญหาความต้องการของพื้นที่  มีระบบการทบทวน ประชุม ในระดับอำเภอมีการทำงานวัยรุ่นและเยาวชน เป็นประเด็น พชอ. มีนายอำเภอเป็นประธานคณะกรรมการระดับอำเภอ เครือข่ายโดยเฉพาะ อปท.สนับสนุนงบกองทุนสุขภาพ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของวัยรุ่น โดยการเน้นใหโรงเรียน เครือข่าย จัดทำโครงการ พัฒนาทักษะชีวิต เกี่ยวกับความเสี่ยงเพศ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สารเสพติด บูรณาการกับงาน To Be Number One



อสม. เป็นกำลังที่สำคัญในการเฝ้าระวังความเสี่ยง และการทำงานเชิงรุกค้นหากลุ่มเสี่ยง ในพื้นที่รับผิดชอบ ส่วนใหญ่ทำงานร่วมกันทั้งเครือข่าย ครู หมอ พ่อแม่ อปท. แกนนำวัยรุ่น ชุมชน มีทัศนคติที่ต่อเรื่องนี้



ในการทำงานวัยรุ่นเมื่อมาทบทวน จะพบว่า ต้องเน้นการทำงานเชิงรุก จะทำให้วัยรุ่นที่มีความเสี่ยง หรือพลาด เข้าถึงบริการได้มากขึ้น และเน้นการดูแลด้วยทีมสหวิชาชีพ แบบองค์รวม ครอบครัวมีส่วนร่วม ผู้บริหารให้ความสำคัญในปัญหา เมื่อเปรียบเทียบสถานการณ์คลอดมีชีพในมารดาวัยรุ่นมีแนวโน้มลดลง  แต่ปัญหาความเสี่ยงอื่นเช่น การใช้สารเสพติด ปัญหาสุขภาพจิต ปัญหาซึมเศร้าในนักเรียน การฆ่าตัวตาย  ความรุนแรง และการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย ยังมีอยู่บ้าง 4-5 รายต่อปี และคิดว่ายังเป็นปัญหาท้าทายและต้องดำเนินการต่อ



และแผนในปี 2564 จากสาธารณสุขอำเภอ คิดว่า นักเรียนประถมปลาย และโรงเรียนขยายโอกาส  ในเรื่องระบบข้อมูลความเสี่ยง การตั้งครรภ์ ต้องเพิ่มการสร้างทักษะทางด้านเพศวิถีศึกษา  การทำโครงการเชิงรุก และนำประเด็นเข้าสู่ พชอ. พชต.



และขับเคลื่อนเต็มพื้นที่ คปสอ.เป็นโอกาสพัฒนา ขอขอบคุณภาคีเครือข่ายสุขภาพ อำเภอท่าแซะ



ผู้เยี่ยมประเมิน ประกอบด้วย ศูนย์อนามัยที่ 11 นครศรีธรรมราช ศูนย์สุขภาพจิตที่ 11 สุราษฎร์ธานี  หัวหน้างานส่งเสริมสุขภาพ และผู้รับผิดชอบงานวัยรุ่น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชุมพร

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน