คุณกำลังมองหาอะไร?

ระชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียนการคัดกรองความเสี่ยงหญิงตั้งครรภ์ผ่านโปรแกรม Save mom (20/8/2563)

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

24.09.2563
24
0
แชร์
24
กันยายน
2563

กลุ่มพัฒนาอนามัยแม่และเด็ก เข้าร่วมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียนการคัดกรองความเสี่ยงหญิงตั้งครรภ์ผ่านโปรแกรม Save mom วันที่ 20 สิงหาคม 2563 ณ สำนักงานสาธารณสุขจพงหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบคัดกรองความเสี้ยงในหญิงตั้งครรภ์?เฝ้าระวังสุขภาพมารดาและทารกปริกำเนิดผ่านโปรแกรมsave mom.ซึ่งได้เริ่มทดลองใช้ในพื้นที่นำร่อง? ปีงบประมาณ? 2562? และจากการทดลองใช้ดังกล่าวพบว่าจังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นจังหวัดที่มีหญิงตั้งครรภ์ลงทะเบียนในโปรแกรม? Save?mom เป็นครึ่งหนึ่งของหญิงตั้งครรภ์ที่ลงทะเบียนทั้งหมด? กรมอนามัย? ร่วมกับศูนย์อนามัยที่? 11? จึงถอดบทเรียนการดำเนินงานดังกล่าว? โดยการลงพื้นที่? รพ.พุนพินเพื่อถอดบทเรียนกระกวนการการดพเนินงาน? การสนทนากลุ่มหญิงตั้งครรภ์? อสม.? และเจ้าหน้าที่?  เพื่อนำข้อมูลมี่ได้ไปพัฒนาระบบติดตามและเฝ้าระวังความเสี่ยงของหญิงตั้งครรภ์ต่อไป



สรุปถอดบทเรียนการคัดกรองความเสี่ยงโดยใช่โปรแกรม? savemom



สถานการณ์การใช้โปรแกรมเขตสุขภาพที่ 11 จากการทดลองใช้โปรแกรมจังหวัดสุราษฏร์ธานี? ดังนี้ ฝากครรภ์ปี 2562.?จำนวน 12000 ราย หญิงตั้งครรภ์ลงทะเบียน save mom 3184 ราย



ความเสี่ยง save mom เสี่ยงต่ำ 1747 ราย เสี่ยงสูง 795ราย เสี่ยงสูงมาก 122 ราย



รายงานคลอด 520 ราย ในทะเบียนราษฎร์ เกิด ปี 63 จำนวน 9642 ราย  ตาย 2 ราย



กิจกรรมที่ 1 ลงพื้นที่คลินิก ANC เพื่อติดตามโปรแกรม save mom โรงพยาบาลพุนพิน



- โรงพยาบาลพุนพินเป็น รพ.ระดับ F2



- ขับเคลื่อนการดำเนินงานโดย คณะกรรมการ MCH Board ระดับจังหวัด มีการประชุมคระกรรมการ ปีละ 2ครั้งหรือมีการ conferance case กรณีมีแม่ตาย ส่วนใหญ่เกิดจาก Delay treatment และ Delay refer



ใช้ระบบ line group ในการประสานงานในแต่ละระดับของเครือข่าย  หญิงตั้งครรภ์รายใหม่ ตั้งแต่ ตุลาคม 2562-กรกฏาคม 2563 ทั้งหมด 239 ราย



คลินิกบริการ ANC  เปิดบริการคลินิกทุกวัน จันทร์-ศุกร์ บริการหญิงตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงแยกรายวันดังนี้



- วันจันทร์ คัดกรอง Down ทุกกลุ่มอายุ



- วันอังคาร  BMI เกิน  GDM  น้ำหนักขึ้นมากผิดปกติ BP สูง



- วันพฤหัสบดี teenage BMI ต่ำ  Anemia



- วันที่เหลือ ฝากครรภ์รายปกติ ไม่มี Risk



จุดแข็ง มีgroup line ของหญิงตั้งครรภ์เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และส่งต่อข้อมูลในการติดตามหญิงตั้งครรภ์



การดำเนินงาน save mom



1. ทำโปสเตอร์ QR code ปิดไว้ที่คลินิกและใส่ในกลุ่ม line เพื่อประชาสัมพันธ์ให้หญิงตั้งครรภ์ได้สมัครและเข้าถึงและใส่ไว้ในกลุ่มlineเพื่อสะดวกในการสมัคร



2. ให้หญิงตั้งครรภ์ สมัครโปรแกรม ผ่านโทรศัพท์มือถือหรือเครื่อง PC ของคลินิก มีเจ้าหน้าที่สมัครให้ ในกรณี หญิงตั้งครรภ์ที่ไม่มี Internet ปักละติจูด ลองติจูด (ทำให้เกิดการล่าช้า)



3. เจ้าหน้าที่ คลินิก ANC มีหน้าที่แค่สมัครเท่านั้นผู้ติดตามในชุมชน คือคลินิกเวชกรรมสังคม



4. มีระบบการส่งต่อหญิงตั้งครรภ์ผ่าน  group line



กิจกรรมที่ 2 focus group 



- กลุ่มที่ 1 (ไม่ใช่บุคลากรทางการแพทย์) อาสาสมัครสาธารณสุข 6 คน



บทบาทของ อาสาสมัครสาธารณสุข



1. สมัครโปรแกรม save mom ของตนเอง และค้นหาหญิงตั้งครรภ์รายใหม่กรณีฝากครรภ์คลินิกและฝากครรภ์เอกชนแต่ไม่ได้สมัครหญิงตั้งครรภ์ในโปรแกรม save mom



2. มีการประชุม อสม.ผ่านการประชุม อาสาสมัครสาธารณสุขประจำเดือนแต่ไม่มีการประชาสัมพันธ์โปรแกรม save mom



3. ไม่มีการจัดอบรมโปรแกรม? save mom โดยตรงทำให้ไม่ทราบวิธีการใช้งาน



4. อาสาสมัครสาธารณสุขไม่มีโทรศัพท์มือถือ  ไม่มี Internet



- กลุ่มที่ 2 หญิงตั้งครรภ์ 6 คน



1. เจ้าหน้าที่ คลินิกสมัครโปรแกรม save mom ให้หญิงตั้งครรภ์



2. หญิงตั้งครรภ์ไม่มีโทรศัพท์มือถือ ไม่มี Internetmeทำให้ขาดความต่อเนื่องในการใช้ประเมินความเสี่ยง



3. หญิงตั้งครรภ์บอกว่าโปรแกรมดี ถ้ามีโอกาสจะแนะนำบุคคลอื่น



4. โปรแกรมดีสามารถประเมินความเสี่ยงตัวเองได้



5. คำถามเข้าใจง่าย ไม่ยาก ไม่มากเกินไป



- กลุ่มที่ 3 (บุคลากรทางการแพทย์) ผู้รับผิดชอบงาน ANC ในรพสต.2 คน รพช.4 คน รพท /รพศ 2 คน



1. ส่วนใหญ่บอกว่า โปรมแกรมทำให้เป็นการเพิ่มงานให้กับคลินิก รพท รพศ ไม่สามารถทำได้ภาระงานเยอะ



2. ไม่เข้าใจการใช้ปรแกรม วิธีการที่ถูกต้อง



3. มีโรงพยาบาลพุนพินเท่านั้นที่สามารถใช้โปรแกรมได้ไม่มีปัญหาอุปสรรค



4. การใช้โปรแกรมเข้าถึงแค่ให้หญิงตั้งครรภ์สมัครไม่มีการให้ อสม.สมัครให้หยิงตั้งครรภ์ หรือพูดคุยกับหญิงตั้งครรภ์



สรุปบทเรียนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงาน save mom ร่วมกับศูนย์อนามัยที่ 11 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด



- คุณภาพการใช้โปรแกรม การประมวลผลข้อมูลสามารถนำข้อมูลจากการใช้โปรแกรม feed back กลับสู่พื้นที่ได้แต่ควรจะได้มากกว่านี้ ไม่สามารถ download โปรแกรมลง excel ได้ เพื่อการนำข้อมูลมาใช้งานและคืนข้อมูลให้พื้นที่



- ข้อดีของการนำโปรแกรมมาใช้ ปัญหาและอุปสรรค เป็นข้อมูลระบบ online สามารถดูได้ตลอดเวลา สะดวกไม่ต้องพกพาสมุดสีชมพูหรือเอกสาร ถ้าไม่มี Internet  ไม่มีไฟฟ้า ไม่สามารถใช้งานโปรแกรมได้



- ความพึงพอใจอยู่ในระดับดียินดีที่จะใช้โปรแกรม



ข้อเสนอแนะเชิงพัฒนาในปีต่อไป



1. ส่วนกลางกรมอนามัยควรมีการจัดอบรมเจ้าหน้าที่ ศูนย์อนามัยและจังหวัดกลุ่มเป้าหมายเชิงปฏิบัติการเป็นครู ก2.ศูนย์อนามัยตั้งงบประมาณในการทำแผนพัฒนาบุคลากรในการใช้โปรแกรม save momในปี งบประมาณ  2564เพื่อสอดคล้องกับนโยบายกรมอนามัย



3. ปี 2564 ควรมีการทดลองใช้ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ใน โรงพยาบาลชุมชนหรือสมัครใจเพื่อนำปัญหามาใช้ในการปรับโปรแกรมให้มีคุณภาพมากขึ้น



4. กรมอนามัยควรมีการผลิตสื่อการสอนการใช้โปรแกรม save mom เพื่อสะดวกในการใช้งานและการสมัครได้ง่ายขึ้น

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน