คุณกำลังมองหาอะไร?

ลุ่มพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อม ศูนย์อนามัยที่ 11 สนับสนุนเจ้าหน้าที่ร่วมสำรวจและเฝ้าระวังติดตามการจัดการน้ำเสีย ขยะมูลฝอย และสิ่งปฏิกูล

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

24.09.2563
35
0
แชร์
24
กันยายน
2563

วันที่ 17-20 สิงหาคม 2563 กลุ่มพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อม ศูนย์อนามัยที่ 11 นครศรีธรรมราช ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุราษฎร์ธานี ให้การสนับสนุนเจ้าหน้าที่แก่สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อร่วมสำรวจและเฝ้าระวังติดตามการจัดการน้ำเสีย ขยะมูลฝอย และสิ่งปฏิกูลในพื้นที่วิกฤตและแหล่งท่องเที่ยว ครั้งที่ 2 เพื่อเฝ้าระวังคุณภาพน้ำผิวดินบริเวณเขื่อนรัชชประภาและเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของสถานประกอบการในการจัดการน้ำเสีย ขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลจากแพท่องเที่ยวมิให้มีกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของนักท่องเที่ยว ณ พื้นที่เขื่อนรัชชประภา อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 16 แห่ง  โดยสามารถสรุปภาพรวมการสำรวจการจัดการของเสียในแพริมน้ำ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563  ณ แพท่องเที่ยว เขื่อนรัชชประภา อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้ดังนี้



- จำนวนแพบริการนักท่องเที่ยวทั้งหมด  16 แพ



- จำนวนห้องพักรวม 473 ห้อง



- จำนวนร้านอาหาร  16 แห่ง



- จำนวนผู้มาใช้บริการเฉลี่ยต่อวัน  1047 คน



- ระบบการจัดการมูลฝอย



ปริมาณมูลฝอยที่เกิดขึ้น ทั้งหมด 394 กิโลกรัม ต่อวัน มีรูปแบบและการคัดแยกมูลฝอยเป็น  4 ประเภท ประกอบด้วย



- ขยะอินทรีย์ 276 กิโลกรัม ต่อวัน



-  ขยะรีไซเคิล 38 กิโลกรัม ต่อวัน



-  ขยะทั่วไป 77 กิโลกรัม ต่อวัน



-  ขยะอันตราย 3 กิโลกรัม ต่อวัน



การคัดแยก/เก็บรวบรวม/ขนส่งมูลฝอย  ทุกแพมีการคัดแยกแต่ละประเภท และมีภาชนะรองรับมูลฝอย ส่วนใหญ่ถูกสุขลักษณะ สภาพดี พร้อมใช้งาน ทุกแพมีระบบการทำความสะอาดอย่างน้อยวันละ 2 ครั้งขึ้นไป แต่ละมีจุดรวบรวมมูลฝอยรอขนส่งส่วนใหญ่ยังไม่ถูกสุขลักษณะ เนื่องจากเงื่อนไขจำกัดด้านสถานที่ สำหรับวิธีการจัดการมูลฝอยของแพบริการนักท่องเที่ยว คือ การส่งให้เทศบาลกำจัดโดยทางแพจะทำการขนขยะที่ต้องกำจัดไปยังท่าเทียบเรือกลางเพื่อส่งต่อให้เทศบาลนำไปกำจัด



รูปแบบการกำจัดมูลฝอย



- มูลฝอยอินทรีย์ >>นำไปให้อาหารสัตว์/ทำปุ๋ยหมัก/น้ำหมักชีวภาพ  จำนวน 15 แห่ง



- มูลฝอยรีไซเคิล >>นำมาคัดแยกไปขาย/ใช้ประโยชน์ จำนวน 16 แห่ง



- มูลฝอยอันตราย >>ส่งไปรวบรวมที่ทำการอุทยานแห่งชาติเขาสก จำนวน 16 แห่ง



- มูลฝอยทั่วไป >>ส่งให้เทศบาลกำจัด  จำนวน 16 แห่ง



ระบบการจัดการห้องน้ำห้องส้วม/สิ่งปฏิกูล การจัดการห้องน้ำห้องส้วม  



- ปริมาณห้องน้ำห้องส้วม ทั้งหมด ชาย  54 ห้อง/หญิง 50 ห้อง



- โถปัสสาวะชาย 37 ที่



- อ่างล้างมือ ชาย 36 ที่/หญิง  40 ที่  แต่ละแพมีระบบการดูแลรักษาทำความสะอาดอย่างน้อย 2 ครั้งต่อวัน พบการทิ้งสิ่งของอุดตันในโถชักโครกบ้างเล็กน้อย แพส่วนใหญ่ยังไม่มีระบบเฝ้าระวังป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อโรคจากการให้บริการส้วมสาธารณะที่จุดเสี่ยงสัมผัสต่างๆ



การจัดการสิ่งปฏิกูล



มีระบบท่อรวบรวมกับระบบบำบัดน้ำเสียของแพ จำนวน 6 แห่ง ที่เหลือบำบัดสิ่งปฏิกูลส่วนใหญ่เป็นระบบถังหมักสำเร็จรูป มีการสูบกากตะกอนออกจากถังหมักอย่างต่อเนื่อง แต่มีเพียง 1 แพ ที่สูบตะกอนขึ้นฝั่งโดยว่าจ้างเอกชนในการนำไปกำจัด ปัจจุบันแต่ละแพยังไม่มีการเฝ้าระวังการตรวจไข่หนอนพยาธิและแบคทีเรียอีโคไล



ระบบการจัดการน้ำเสีย



มีแหล่งน้ำที่ใช้ในการอุปโภคส่วนใหญ่เป็นน้ำผิวดิน สูบน้ำจากในเขื่อนมาสำรองไว้ในถังเก็บน้ำมีการปรับปรุงคุณภาพน้ำเบื้องต้นก่อนนำมาใช้อุปโภค มีปริมาณการใช้น้ำเฉลี่ย  100 ลบ.ม.ต่อวัน ลักษณะการใช้น้ำอุปโภคส่วนใหญ่ใช้ในห้องห้องห้องส้วม ห้องพัก และห้องครัวเป็นหลัก มีการบำบัดน้ำเสียเบื้องต้นด้วยบ่อดักไขมันในห้องครัว อาจมีชำรุดบ้างบางแพอยู่ระหว่างซ่อมแซม มีระบบราง/ท่อรวบรวมน้ำเสียส่วนใหญ่อยู่ระหว่างการซ่อมแซม เปลี่ยนเส้นท่อใหม่ รูปแบบการบำบัดน้ำเสียส่วนใหญ่เป็นถังสำเร็จรูป มีการตรวจเฝ้าระวังคุณภาพน้ำผิวดินบริเวณแพจากทีมงานเจ้าหน้าที่ ทสจ.สุราษฎร์ธานี ล่าสุดเมื่อปี 2561 จำนวน 17 พารามิเตอร์ ตามมาตรฐานคุณภาพน้ำผิวดิน ของ พรบ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 พบว่าผ่านมาตรฐาน



ปัญหาและข้อเสนอแนะ



- การเก็บขนที่ล่าช้าเกิดมูลฝอยสะสมที่แพ



- ควรเข้มงวดมาตรการให้นักท่องเที่ยวนำขยะกลับไปคัดแยกทิ้งที่จุดรวบรวมเทศบาลจัดไว้



- พื้นที่ในการทำจุดรวบรวมมูลฝอยในแพมีจำกัดไม่เพียงพอ ควรหารือรูปแบบ/จุดวางที่เหมาะสมภายใต้บริบทจำกัด



- จุดรวบรวมมูลฝอยบนฝั่งทางเทศบาลควรมีถังรองรับมูลฝอยที่เพียงพอ มีฝาปิดมิดชิด มีระบบการดูแลความสะอาด



- ควรมีการส่งเสริมมาตรการใช้ประโยชน์จากมูลฝอย เช่น นำเศษอาหารมาทำปุ๋ยหมักและมีการนำมาใช้ในแปลงผักบนแพ เพื่อส่งเสริมการบริโภคผักปลอดสารพิษในแพเป็นการเสริมการท่องเที่ยงเชิงเกษตรในแพอีกทางนึง



- ควรมีระบบเฝ้าระวังป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อโรคจากการให้บริการส้วมสาธารณะที่จุดเสี่ยงสัมผัสต่างๆ โดยเฉพาะช่วงสถานการณ์โรคระบาด



- ทุกแพควรสูบตะกอนสิ่งปฏิกูลสม่ำเสมอ และมีรูปแบบการบำบัดสิ่งปฏิกูลที่เหมาะสมกับบริบทพื้นที่



- ระบบเส้นท่อรวบรวมสิ่งปฏิกูลและนำเสียควรมีการตรวจเช็ครอยรั่ว/แตก/ชำรุด ให้พร้อมใช้งานตลอดเวลาที่ให้บริการ



- ควรมีการสุ่มตรวจเฝ้าระวังการไข่หนอนพยาธิและแบคทีเรียอีโคไล ในบริเวณแพ เพื่อเฝ้าระวังการปนเปื้อนลงสู่แหล่งน้ำผิวดินในเขื่อน



สำหรับการลงพื้นที่ครั้งนี้มีการบูรณาการงานเยี่ยมติดตามมาตราการการเฝ้าระวังโรคระบาด COVID-19 กระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยวเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย หรือ Amazing Thailand Safety & Health Administration : SHA โดยความร่วมมือของกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และภาคเอกชนเพื่อยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมท่องเที่ยวควบคู่มาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวตามวิถีใหม่ New Normal



โดยมีมาตรฐานเบื้องต้นจากกระทรวงสาธารณสุขของทุกสถานประกอบการ มี 3 องค์ประกอบ คือ



1. สุขลักษณะอาคารและอุปกรณ์เครื่องใช้ที่มีอยู่ในอาคาร



2. การจัดอุปกรณ์ทำความสะอาดเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค



3. การป้องกันสำหรับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ทั้งนี้ มีรายละเอียดของมาตรฐานเฉพาะประเภทกิจการเพิ่มเติม โดยผู้ที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานจะได้รับตราสัญลักษณ์ SHA ต่อไป



จากการเยี่ยมติดตามแพในเขื่อนรัชชประภา พบว่า การให้ความร่วมมือในการดำเนินการตามมาตรการยังมีน้อย ไม่ครอบคลุมประเด็นและส่วนใหญ่ยังขาดความร่วมมือจากนักท่องเที่ยวที่มาใช้บริการ ทั้งนี้ทางผู้ประกอบการและผู้ที่เกี่ยวข้องควรมีการเข้มงวดถึงมาตรการต่างๆให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเพื่อความปลอดภัยของผู้ประกอบการและสร้างความเชื่อมั่นให้นักท่องเที่ยวที่มาใช้บริการในแพต่อไป...

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน