คุณกำลังมองหาอะไร?

ระเมินการบริการที่เป็นมิตรสำหรับวัยรุ่นและเยาวชน จังหวัดชุมพร (20/8/2563)

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

24.09.2563
22
0
แชร์
24
กันยายน
2563

วันที่ 20 สิงหาคม 2563 เป็นวันที่จังหวัดชุมพร ประเมินการบริการที่เป็นมิตรสำหรับวัยรุ่นและเยาวชน ตามมาตรฐาน Youth Friendly Health Service : YFHS & อำเภออนามัยการเจริญพันธุ์ (RHD) ครอบคลุมร้อยละ 100 วันนี้ ณ ห้องประชุมโรงพยาบาลปากน้ำชุมพร อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร  ประธานโดยแพทย์หญิงสุดฤทัย รัตนโอภาส ผู้อำนวยการโรงพยาบาลปากน้ำชุมพร ตัวแทนทุกแผนก และเครือข่าย คุณครู ตัวแทน 4 โรงเรียน โรงเรียนหาดภราดรภาพ โรงเรียนวัดหัวถนน โรงเรียนวัดหัวกรูด โรงเรียนบ้านปากน้ำ ประธาน อสม.และ อสม.4-5 คน  ผอ.กองสาธารณสุขเทศบาลตำบลปากน้ำชุมพร และ นักพัฒนาชุมชน



นำเสนอโดย นางสาวโอริสา พรหมสถิตย์ ผู้รับผิดชอบงานวัยรุ่น หมายเหตุ โรงพยาบาลมีผู้รับผิดชอบวัยรุ่น 2 คน  นำเสนอตามแนวทางการดำเนินงาน  เป็นโรงพยาบาลที่มีต้นทุนหลายๆ ด้าน เริ่มกระบวนการงานวัยรุ่นตั้งแต่ 2556 บุคลากรได้รับการสนับสนุนให้พัฒนาศักยภาพที่เหมาะกับงานที่ได้รับมอบหมาย ทัศนคติ ส่วนใหญ่ดีในประเด็นการพัฒนาสุขภาวะวัยรุ่น  มีวิทยากรกระบวนการสื่อสารเชิงบวก ( Master Trainer : MT ) มากความสามารถ  เป็นโรงพยาบาลขนาด 10 เตียงแต่จัดบริการที่มีความความครอบคลุมทุกมิติ กาย จิต สังคม เศรษฐกิจ สภาพแวดล้อมของครอบครัว  เน้นการเข้าถึงได้สะดวก เป็นความลับ และได้หลายช่องทาง ทำงานเชิงรับและเชิงรุก



โรงพยาบาลแต่งตั้งคณะกรรมการ คณะทำงาน ประกอบด้วยบุคลากร และภาคีเครือข่าย ที่ประกอบด้วย สาธารณสุข อปท.ตัวแทนสถานศึกษา  อสม. ตัวแทนสภาเด็กและเยาวชน ได้ร่วมกันกำหนดเป้าหมาย แนวทาง แผนงานโครงการ สื่อสารให้รับทราบสู่การปฏิบัติ อย่างเป็นรูปธรรมไปในทิศทางเดียวกัน  ทำงานเชิงบูรณาการทั้งภายในและภายนอก กับเครือข่าย ติดตามประเมินผล และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  เป็นพื้นที่ที่มีต่างด้าว พม่า มอญ ลาว ประมาณ 8,000 กว่าคน ไดรับการดูแลที่ไม่แตกต่างทางด้านสุขภาพ ร่วมกับมูลนิธิศุภนิมิตร โดยการสร้าง อสม.ที่เป็นล่ามสื่อสาร ได้ภาษาต่างด้าวที่หลากหลาย ( ล่ามพม่า )  เน้นการพัฒนาศักยภาพคนทำงาน หรือแกนนำ อสม.ได้รับการพัฒนาศักยภาพในการคัดกรองความเสี่ยง การคัดกรองภาวะซึมเศร้า พัฒนาแกนนำวัยรุ่น  สภาเด็กและเยาวชน  ครอบครัว



โรงพยาบาล  เป็นผู้สนับสนุนในการพัฒนาทักษะ และทางด้านวิชาการกับเครือข่าย  อปท. อสม. นักเรียน กศน. ครอบครัว และแกนนำ และ การบริหารจัดการข้อมูล สื่อสาร วิเคราะห์  และพัฒนา



โรงเรียน มีระบบการเฝ้าระวังพฤติกรรมเสี่ยงของนักเรียน เสริมสร้างทักษะ ในการรับมือกับความเสี่ยงในปัจจุบัน เช่น เพศ โรคติดต่อทางเพศส้มพันธุ์  การตั้งครรภ์ ไม่ค่อย เจอปัญหา อาจจะมี เหล้า บุหรี่ บ้าง สามารถเข้าระบบสู่การบำบัด โดยการคัดกรองของ อสม. และ พฤติกรรมเสี่ยงทางด้านโภชนาการ มีปัญหาโรคอ้วน ในนักเรียน ร่วมกับงานอนามัยโรงเรียน เมื่อประเมินความรอบรู้จะมีระดับดีมาก แต่รู้แล้วไม่ทำ ในการบริโภค



จากการทำงานและร่วมกันวิเคราะห์  วัยรุ่นอาจจะเกิดความสับสน พ่อแม่ปลูกฝังว่า สารเสพติดเป็นสิ่งไม่ดี แต่เมื่อ เข้ากลุ่มเพื่อน ๆ เพื่อนบอกว่าดี และเด็กต้องการ การยอมรับจาก ผู้อื่น จึงเกิดการทำตาม อปท. สนับสนุนงบประมาณ เงินกองทุนสุขภาพ มาอย่างต่อเนื่องในการพัฒนาคุณภาพชีวิต กลุ่มวัยรุ่น เยาวชน และครอบครัวให้มีการสื่อสารเปิดใจ การสื่อสารเชิงบวกกับลูกหลาน  และบางกิจกรรม อปท.ดำเนินการ เอง



ครอบครัว ชุมชน มี อสม.ที่มีความเข้มแข็ง และมีกลวิธีในการทำงานที่ดีมาก คิด วิเคราะห์ กระบวนการทำงาน เพื่อตอบสนองต่อปัญหาความต้องการของพื้นที่  ทำให้วัยรุ่นสามารถเข้าถึงเวชภัณฑ์โดยเฉพาะถุงยางอนามัย  ในชุมชน



จากกระบวนการทำงานเชิงระบบ การเชื่อมโยง การพัฒนาศักยภาพ และการจัดบริการที่เป็นมิตรและเป็นความลับ การค้นหากลุ่มเสี่ยงเชิงรุก ทำให้อัตราคลอดในมารดาวัยรุ่นมีแนวโน้มลดลง กลุ่มเสี่ยงเข้าสู่ระบบการบำบัดรักษาได้มากขึ้น ภาคีเครือข่ายมีความเข้มแข็ง และผู้บริหารให้การสนับสนุน อย่างเพียงพอ เภสัชกรมีความเข้าใจ สนับสนุนเวชภัณฑ์ เช่น ยาฝังคุมกำเนิด ถุงยางอนามัย และอุปกรณ์อื่นๆ ให้สามารถทำงานได้อย่างสะดวกและปลอดภัย



ผู้ร่วมแลกเปลี่ยน หัวหน้างานส่งเสริมสุขภาพ และงานวัยรุ่นสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชุมพร และ ศูนย์อนามัยที่ 11 นครศรีธรรมราช



ข้อเสนอแนะระดับจังหวัด การทบทวนการนำเข้าข้อมูลการคุมกำเนิดกึ่งถาวร



ขอขอบคุณ ผู้บริหาร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชุมพร  หัวหน้างานส่งเสริมสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชุมพร นายอดิศร วิศาล และนางนิลุบล



เพ่งผุดผ่อง ผู้รับผิดชอบงานวัยรุ่นสาธารณสุขจังหวัดชุมพร

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน