คุณกำลังมองหาอะไร?

กา

การจัดระบบบริการสุขภาพสำหรับวัยรุ่นและเยาวชน อำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี (11/9/2563)

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

24.09.2563
46
0
แชร์
24
กันยายน
2563

วันที่ 11 กันยายน 2563  ก่อนที่จะเข้าสู่การประเมิน เป็นวัฒนธรรมองค์กร ของโรงพยาบาลท่าฉาง ที่เจ้าหน้าที่ นิมนต์ พระสงค์ มาทำบุญตักบาตร ทุกวันศุกร์ แบบอิ่มบุญกันเลยทีเดียว  และรับพร



หลังจากพิธีก็เริ่มกระบวนในห้องประชุม  นำโดยนายแพทย์ จักราวุธ เผือกคง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลท่าฉาง อำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี  และทีมตัวแทนแผนกที่เกี่ยวข้อง  ตัวแทนสาธารณสุขอำเภอ ตัวแทน รพ.สต. คุณครูและนักเรียนแกนนำโรงเรียนท่าฉางวิทยาคาร คุณครู กศน. ตัวแทนชมรม To Be Number One  รองนายก อบต.เสวียด ( ป้าวันดี คนเก่ง )  พยาบาลวิชาชีพ ตัวแทนเทศบาลตำบลท่าฉาง



ตัวแทน อบต.ท่าฉาง ประธานสภาเด็กและเยาวชนอำเภอท่าฉาง  ประมาณ 40 คน



นำเสนอกระบวนการ และผลการดำเนินงานในภาพรวมโดย นางวรรณภรณ์ ทองมา  และเติมเต็มโดยทีมสหวิชาชีพทุกแผนก และ เครือข่ายที่มาร่วมทุกท่าน ในการสร้างระบบคุณภาพที่ให้บริการสุขภาวะของวัยรุ่นและเยาวชน อย่างไร้รอยต่อ ทุกคนมีจิตสาธารณะ และทัศนคติที่ดีต่อ บทบาทหน้าที่ของตนเอง และ มีเป้าหมายเดียวกันคือ วัยรุ่นและเยาวชน ต้องได้รับบริการที่มีคุณภาพ มีหลากหลายช่องทาง ปลอดภัยไม่โดนคุกคาม และเป็นความลับ ให้บริการที่เป็น One Stop Servic  ดูแลทั้งด้านร่างการ จิตใจ สังคม แบบองค์รวม ครอบคลุม ทั้งกลุ่ม ที่ยังไม่มีปัญหา กลุ่มเสี่ยง กลุ่มที่เกิดปัญหาแล้ว กลุ่มเปราะบาง  เกี่ยวกับพฤติกรรมเสี่ยงเช่น เสี่ยงเพศ เสี่ยงตั้งครรภ์ เสี่ยงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์  ความรุนแรงในครอบครัวสังคม  เสี่ยงติดเกมส์ เสี่ยงสารเสพติด



ภายใต้ระบบคุณภาพ ทางอำเภอท่าฉางได้มีระบบการคืนข้อมูล สื่อสาร ซึ่งกันและกัน แล้วนำมาวางแผนยุทธศาสตร์ ระดับอำเภอ โดยการกำหนดเป้าสูงสุด คือ วิสัยทัศน์ของ โรงพยาบาล และดำเนินงานตามพันธกิจที่วางไว้แต่ละองค์กร และเครือข่าย ตามบทบาทหน้าที่  คือ ครู หมอ พ่อแม่ ตัววัยรุ่น  อปท. ระบบ  ชุมชน ทำงานเชิงบูรณาการ  มีระบบการติดตามประเมินผล และเกิดผลลัพธ์ ที่ดีทางด้านกระบวนการ และผลลัพธ์ที่สำคัญ คืออัตราคลอดมีชีพมารดางัยรุ่น 10-14 ปี อัตราคลิดมีชีพมารดาอายุ 15-19 ปี มีแนวโน้มลดลง  อัตราการตั้งครรภ์ซ้ำมารดาวัยรุ่น มีอัตราเป็น 0 ในปี 2563 อัตราการคุมกำเนิดกึ่งถาวร หลังคลอดหลังแท้ง ร้อยละ 100



ในกระบวนการวันนี้เป็นการประเมินซ้ำในมาตรฐาน การจัดบริการที่เป็นมืตรสำหรับวัยรุ่นและเยาวชน ( Youth Friendly Health Service : YFHS ) และ อำเภออนามัยการเจริญพันธุ์  ( RHD ) หรือ พชอ.



สิ่งที่เห็น บุคลากรได้รับการพัฒนาศักยภาพ อย่างเหมาะสม  การทำงานแบบเชื่อมโยงบูรณาการทุกแผนก ระบบการส่งต่อ จากภาคีเครือข่าย และการส่ง เคสกลับครอบครัวชุมชน โรงเรียน และ เชื่อมโยงกับเครือข่ายระดับจังหวัด คือ ศูนย์คนไร้ที่พึ่ง



พมจ.บ้านพักเด็ก ฯลฯ และ สิ่งที่ต้องชื่นชม อปท.เห็นปัญหา เกี่ยวกับคุณภาพชีวิตของประชาชน กรณี วัยรุ่น คลอดแล้ว ตั้งครรภ์ซ้ำ และเปลี่ยนคู่  และหลายรายละเอียดของทีมงาน ที่ใส่ใจ และร่วมกันเป็น เจ้าของสุขภาพ ของประชาชน ในพื้นทีของอำเภอท่าฉาง



สรุป  ระบบบริการสุขภาพเชิงระบบ สำหรับวัยรุ่นและเยาวชน ของเครือข่ายสุขภาพอำเภอท่าฉาง เชิงระบบคุณภาพ มีความสอดคล้องเชื่อมโยง ไปตามทิศทางที่วางไว้



หากตามบทบาทหน้าที่ตามพระราชบัญญัตืการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ปี 2559 ว่าด้วย 5 ยุทธศาสตร์หลัก 10 ปี จะมีความครอบคลุมและเกิดการปฏิบัติเป็นรูปธรรมทั้ง 5 ยุทธศาสตร์ ตามรายละเอียดสามารถดูรายละเอียดใน http://rh.anamai.moph.go.th/main.php?filename=index



ขอขอบคุณผู้อำนวยการโรงพยาบาล และทีมสุขภาพอำเภอท่าฉาง ประเมินโดย กลุ่มงานวัยรุ่น ศูนย์อนามัยที่ 11 นครศรีธรรมราช และ ดำเนินการประสานโดยผู้รับผิดชอบงานวัยรุ่นสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุราษฎร์ธานี

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน