คุณกำลังมองหาอะไร?

ศู

ศูนย์อนามัยที่ 11 นครศรีธรรมราช ดำเนินงานสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ การลงบันทึกข้อมูลการโดยการใช้ Application และการกำกับติดตามผลการบันทึกข้อมูลของประชาชนในพื้นที่ รพ.สต.บ้านบางใหญ่

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

21.01.2564
97
0
แชร์
21
มกราคม
2564

กลุ่มงานพัฒนาการส่งเสริมสุขภาพวัยทำงาน ศูนย์อนามัยที่ 11 นครศรีธรรมราช ดำเนินงานสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ การลงบันทึกข้อมูลการโดยการใช้ Application และการกำกับติดตามผลการบันทึกข้อมูลของประชาชนในพื้นที่ รพ.สต.บ้านบางใหญ่ ในวันที่ 20 มกราคม 2564 เวลา 13.00 – 16.00 น. ณ ห้องประชุม รพ.สต.บ้านบางใหญ่ ตำบลบางจาก อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 20 คน

ผู้เข้าร่วมประชุม
1.กลุ่มงานพัฒนาการส่งเสริมสุขภาพวัยทำงาน ศูนย์อนามัยที่ 11 นครศรีธรรมราช
2.เจ้าหน้าที่ รพ.สต.บ้านบางใหญ่
3.แกนนำ อสม. 5 หมู่บ้าน

ประเด็นเนื้อหาในการประชุม
1.ตัวชี้วัด ร้อยละวัยทำงาน 18-59 ปี มีดัชนีมวลกายปกติ
1.1 ติดตามตัวชี้วัด ร้อยละวัยทำงาน 18-59 ปี มีดัชนีมวลกายปกติและร้อยละความครอบคลุมการคัดกรองดัชนีมวลกายในวัยทำงาน อายุ 18-59 ปี (ใน HDC 43 แฟ้ม และ ตัวชี้วัด QOF เขต 2564)
1.2 การดึงรายงาน Data-Exchange และการบันทึกข้อมูลในโปรแกรม JHCIS
1.3 การติดตามดูผลงาน ใน HDC 43 แฟ้ม และ ตัวชี้วัด QOF เขต 2564

2. โครงการก้าวท้าใจ Season 3
2.1 สอนการวิธีการลงทะเบียน สมัครเข้าร่วมโครงการ โดยการ @THNVR หรือ Scan QR Code ให้กับเจ้าหน้าที่และ อสม.
2.2 การส่งผลและดูผลการออกกำลังกาย
2.3 การติดตาม และดูข้อมูลยอดผู้สมัคร จากโปรแกรม me working age hpc11 โดยเจ้าหน้าที่ รพ.สต.บ้านบางใหญ่

3. โครงการพัฒนาระบบเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพ ความรอบรู้ และปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อสุขภาพวัยทำงาน
3.1 การเก็บข้อมูลพฤติกรรมสุขภาพ ความรอบรู้ และปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อสุขภาพวัยทำงาน ปี 2564 ใช้วิธีการตอบแบบสอบถามประเมินตนเอง (self assessment) ผ่าน application H4U ใน smart device สามารถบันทึกข้อมูลได้ด้วยตนเอง
3.2 การทำแบบประเมินตนเอง (self assessment) โดยเปิด application H4U (สมุดสุขภาพประชาชน) ตอบแบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพ ความรอบรู้ และปัจจัยแวดล้อมที่ส่งผลต่อสุขภาพ วัยทำงาน (สำหรับประชาชน) ทั้งหมด 7 หมวด ได้แก่ พฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมการเคลื่อนไหวออกแรงและการนอน พฤติกรรมการดูแลช่องปาก พฤติกรรมเสี่ยงโรคมะเร็ง ปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อสุขภาพ สุขภาพจิต และ ความรอบรู้ด้านสุขภาพ

4.แนวทางการดำเนินงานโครงการสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จย่า ต้านภัยมะเร็งเต้านม ปีงบประมาณ 2564
4.1 ติดตามตัวชี้วัด ร้อยละ 80 ของสตรีอายุ 30-70 ปี มีการตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอ (ใน HDC 43 แฟ้ม)
4.2 การดึงรายงาน Data-Exchange และการบันทึกข้อมูลในโปรแกรม JHCIS ของ รพ.สต.
4.3 การติดตามดูผลการดำเนินงาน ใน HDC 43 แฟ้ม สตรีอายุ 30-70 ปีมีการตรวจเต้านมด้วยตนเอง
4.4 ฝึกทักษะอาสาสมัครธารณสุข การตรวจเต้านมด้วยตนเองแก่สตรีอายุ 20 ปี ขึ้นไป ในพื้นที่
4.5 สอนการใช้ application BSE สำหรับสตรี อายุ 20 ปีขึ้นไป ในการลงทะเบียน และลงบันทึกข้อมูลการคัดกรองมะเร็งเต้านมในแต่ละเดือน
4.6 สอนการใช้ BSE application สำหรับสถานบริการสามารถติดตามการบันทึกข้อมูลการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรี อายุ 20 ปีขึ้นไป เพื่อติดตามกลุ่มเป้าหมายที่ผิดปกติ ประเมินซ้ำ และส่งต่อรับการรักษาต่อไป

ภาพ/ข่าว:กลุ่มงานพัฒนาการส่งเสริมสุขภาพวัยทำงาน

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน