คุณกำลังมองหาอะไร?

ศู

ศูนย์อนามัยที่ 11 ร่วมประชุม การประชุมเชิงปฏิบัติการเครือข่ายข้อมูลสุขภาพและสุขภาพซ่องปากผู้สูงอายุออนไลน์ ภายใต้โครงการพัฒนาช่องทางการสื่อสารข้อมูลการดูแลสุขภาพช่องปาก ปี 2564

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

24.01.2564
11
0
แชร์
24
มกราคม
2564

งานทันตสาธารณสุข ศูนย์อนามัยที่ 11 เข้าร่วมประชุม การประชุมเชิงปฏิบัติการเครือข่ายข้อมูลสุขภาพและสุขภาพซ่องปากผู้สูงอายุออนไลน์ ภายใต้โครงการพัฒนาช่องทางการสื่อสารข้อมูลการดูแลสุขภาพช่องปาก ปี 2564
ซึ่งจัดโดย สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย ในวันที่ 21 มกราคม 2564 เวลา 8.30 – 14.00 น ผ่านระบบ Video Conference ด้วยโปรแกรม ZOOM Cloud Meetings โดยมี ทญ.ปิยะดา ประเสริฐสม ผู้อำนวยการ สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย เป็นประธานเปิดการประชุม วัตถุประสงค์เพื่อ กำหนดขอบเขต/รูปแบบของสื่อในการดูแลสุขภาพช่องปากกลุ่มผู้ป่วยที่มีความต้องการพิเศษ จากข้อมูลและข้อเสนอจากภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวช้อง เพื่อพัฒนาช่องทางการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากกลุ่มผู้ป่วยที่มีความต้องการพิเศษ ผู้เข้าประชุม ประกอบด้วย ผู้แทนสำนักทันตสาธารณสุข ผู้แทนศูนย์สื่อฯ กรมอนามัย ผู้รับผิดชอบงานทันตสาธารณสุข ศูนย์อนามัยที่ 1-12 และจังหวัดนำร่อง 6 จังหวัด คือ นครศรีธรรมราช ฉะเชิงเทรา นครปฐม พิษณุโลกปทุมธานี อำนาจเจริญ และ กรุงเทพมหานคร
กลุ่มผู้ป่วยที่มีความต้องการพิเศษ เป็นกลุ่มที่มีปัญหา ทางร่างกาย หรือทางจิตใจ ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการดูแลพิเศษ และ ส่วนหนึ่งก็อยู่ในกลุ่มผู้สูงอายุ เนื่องจากมีการเสื่อมตามอายุ ซึ่งเป้าหมายในการดูแลกลุ่มนี้ คือการคงสภาพ เพิ่ม ปรับปรุงคุณภาพชีวิต ให้สามารถดำรงชีพให้สมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ การประชุมในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก พญ.ดลฤดี ศรีศุภผล นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ สถาบันสิรินธรเพื่อการพื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ ได้มาร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยที่มีความต้องการพิเศษ
จากการวิเคราะห์ปัญหา และ อภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในที่ประชุม พบว่า มีปัญหา ในการดูแลสุขภาพช่องปากกลุ่มนี้ หลายประเด็น คือ
>> แหล่งข้อมูลองค์ความรู้ และการพัฒนาศักยภาพ
^ ทันตบุคลากร : มีแหล่งข้อมูลมากมาย แต่ อาจไม่มีความมั่นใจในการดูแลกลุ่มพิเศษ
^ บุคลากรสาธารณสุข : มีแหล่งข้อมูลน้อย อ่านเข้าใจยาก เนื้อหายาว ไม่สั้นกระชับ
^ ประชาชน : เข้าไม่ถึงข้อมูล และ ขาดความรอบรู้ และ ผู้รับสาร ไม่มั่นใจ ว่าข้อมูลที่ได้รับจากแหล่งข้อมูลจากบางแหล่ง น่าเชื่อถือแค่ไหน

>> หน่วยบริการที่พร้อมให้บริการในกลุ่มพิเศษ
^ ทันตบุคลากร ผู้ให้บริการ : ส่วนมากไม่มีความมั่นใจในการดูแลกลุ่มพิเศษ และคิดว่า ขาดเครื่องมือ อุปกรณ์พิเศษ
ในการให้บริการคนกลุ่มนี้
^ บุคลากรสาธารณสุข : ไม่ทราบว่า ควรจะต้องส่งผู้ป่วยไปรับบริการที่หน่วยไหน ที่พร้อมจะให้บริการคนกลุ่มนี้
^ ประชาชน : เข้าถึงบริการยาก และ ไม่ทราบว่า จะต้องไปรับบริการที่หน่วยบริการไหน
สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย จึงเสนอร่าง Plateform ระบบข้อมูล ที่เอื้อต่อการแก้ไขปัญหาดังกล่าว และ ที่ประชุมร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น สรุปรูปแบบ การพัฒนาช่องทาง Online สร้างความรอบรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากสำหรับผู้ที่มีความต้องการพิเศษ สำหรับกลุ่มเป้าหมาย ทั้งผู้ให้บริการ และผู้รับบริการ สำหรับผู้ที่มีความต้องการพิเศษ ดังนี้

ช่องทางที่พัฒนา ผ่าน Online Plateform : Oral Health Resources หน้าหลัก มี 3 ส่วน คือ
1. เกี่ยวกับเรา : เป็นช่องทางติดต่อ และถามตอบสุขภาพช่องปาก
2. สาระความรู้ : ทั้ง สำหรับ
2.1 ประชาชน ทั่วไป และ ผู้ดูแล :
ซึ่งมีองค์ความรู้ ครอบคลุมทั้ง โรคทางระบบและสุขภาพช่องปาก ยาและผลข้างเคียงต่อสุขภาพช่องปาก ปัญหาที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ และการดูแลสุขภาพช่องปาก (อุปกรณ์และผลิตภัณฑ์สำหรับผู้ที่มีความต้องการพิเศษ) อาหาร และ การประเมินความเสี่ยง ต่อโรคในช่องปากด้วยตนเอง โดยองค์ความรู้ ส่วนหนึ่ง จะพัฒนาในรูปแบบ information Hub ที่สามารถเชื่อมโยงกับฐานองค์ความรู้ ที่มีอยู่แล้วในหน่วยงาน องค์กรทางการแพทย์ เพื่อเป็นแหล่งสืบค้นข้อมูล และให้ความสะดวกกับผู้รับบริการในการนำเสนอข้อมูลที่น่าเชื่อถือ ถูกต้องตามหลักวิชาการ
2.2 บุคลากรทางการแพทย์ :
ทำในรูปแบบ information Hub ที่สามารถเชื่อมโยงกับฐานองค์ความรู้ ที่มีอยู่แล้วในหน่วยงาน องค์กรทางการแพทย์ ทั้งใน และต่างประเทศ โดยทำเนื้อหา ให้ ชัดเจน และสื่อในรูปแบบที่เข้าใจง่าย
2.3 ทันตแพทย์ :
เช่นเดียวกับสาระความรู้สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึง เปิดระบบการเรียน ในหลักสูตร E Learning เพื่อพัฒนาศักยภาพทันตบุคลากร ให้พร้อมรองรับกลุ่มพิเศษ และกลุ่มผู้สูงอายุ

นอกจากองค์ความรู้แล้ว ทั้ง 3 กลุ่ม นี้ มีหลักสูตร สำหรับผู้สนใจ เรียนรู้ ผ่าน ระบบ E Learning ในหัวข้อที่สนใจ ในระดับ ต่างๆ อีกด้วย

3. บริการทันตกรรม แบ่งเป็น 3 ประเด็น คือ
3.1 สถานบริการทันตกรรมใกล้เคียง
3.2 สิทธิประโยชน์ทางทันตกรรม
3.3 โครงการพิเศษ

ซึ่งสำนักทันตสาธารณสุข สามารถออกแบบปรับเพิ่มเติมตามข้อเสนอและ เผยแพร่ Plateform ได้เลย โดยประสานความร่วมมือ จากคณะทันตแพทยศาสตร์ ทุกมหาวิทยาลัย ในการพัฒนาแหล่งข้อมูล องค์ความรู้ และเชื่อมข้อมูล กับองค์กร หน่วยงานทางการแพทย์ ที่มีอยู่แล้ว

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน