คุณกำลังมองหาอะไร?

ศู

ศูนย์อนามัยที่ 11 เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการการประเมินผลโครงการพัฒนาช่องทางการสื่อสารออนไลน์ ภายใต้โครงการพัฒนาช่องทางการสื่อสารข้อมูลการดูแลสุขภาพช่องปาก ปี 2564

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

22.02.2564
2
0
แชร์
22
กุมภาพันธ์
2564

วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2564 งานทันตสาธารณสุข ศูนย์อนามัยที่ 11 เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการการประเมินผลโครงการพัฒนาช่องทางการสื่อสารออนไลน์ ภายใต้โครงการพัฒนาช่องทางการสื่อสารข้อมูลการดูแลสุขภาพช่องปาก ปี 2564 เพื่อกำหนดแนวทาง และรูปแบบการประเมินผลช่องทางสื่อออนไลน์  ณ ห้องประชุมกลุ่มมอนามัยวัยทำงาน สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย และผ่านช่องทางการประชุม VDO Conference  โดยได้รับเกียรติจาก ทันตแพทย์หญิงปิยะดา ประเสริฐสม ผู้อำนวยการสำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย เป็นประธานการประชุม มีผู้เข้าร่วมการประชุม 30 คน ประกอบด้วย ผู้แทนสำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย ผู้รับผิดชอบงานทันตสาธารณสุข จากศูนย์อนามัยที่ 1-12 และ ผู้รับผิดชอบงานทันตสาธารณสุข ในกลุ่มผู้สูงอายุ จากพื้นที่ปฏิบัติการ

ตามที่ สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย ได้พัฒนาสื่อข้อมูลการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ผ่าน Line Official และ Facebook “ฟันยังดี” มาตั้งแต่ปี 2562 จึงมีแผนการประเมิน การสื่อสารข้อมูลการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุผ่านช่องทางออนไลน์ส่งผลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุและก่อนวัยผู้สูงอายุอย่างไร โดยผู้รับผิดชอบงานกลุ่มวัยผู้สูงอายุ สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย ซึ่งเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ได้นำเสนอ กรอบโครงร่างการวิจัยเรื่อง “ผลของการสื่อสารข้อมูลการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ผ่านช่องทางออนไลน์ต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ และ ก่อนวัยสูงอายุ” ซึ่งประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ และ ก่อนวัยสูงอายุ ที่ได้รับข้อมูลผ่านช่องทางออนไลน์ และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสารข้อมูลการดูแลสุขภาพช่องปากผ่านช่องทางออนไลน์ กับความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปาก โดยใช้การวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed methods research) ซึ่งการการเก็บข้อมูลคสามรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปาก ( เชิงปริมาณ) ใช้เครื่องมือ OA-TOFHLiD ของ อาจารย์ ทญ.ดร. ปิ่นปินัทธ์ วณิชย์สายทอง ภาควิชาทันตสาธารณสุข คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผ่านการช่องทางการเก็บข้อมูล สื่อออนไลน์ “ฟันยังดี” ส่วนการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์ จะเลือกเก็บข้อมูลในพื้นที่เฉพาะเจาะจง โดยการประชุมครั้งนี้ ได้เชิญ ดร.บุษบงก์ วิเศษพลชัย พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ สำนักวิชาการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การใช้กระบวนการเชิงคุณภาพในการศึกษา/วิจัย และอภิปรายแลกเปลี่ยนความเห็น การเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ แนวทางการประเมินผล ซึ่ง มติที่ประชุมสรุปว่า เนื่องจากการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ผู้เก็บข้อมูลการวิจัย เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุด และจะต้องเข้าใจบริบทของพื้นที่ มีทักษะ ในการจับประเด็น และ ตีความ จึงกำหนดแผน ให้มีการพัฒนาทักษะ ผู้เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ในวันที่ 25 มีนาคม 2564 เพื่อเตรียมผู้เก็บข้อมูลให้พร้อมในการลงปฏิบัติการเก็บข้อมูลในพื้นที่จริงในเดือน มิถุนายน 2564 โดยกลุ่มผู้ที่จะได้รับการพัฒนาทักษะ คือ สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย และ ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ ที่จะลงเก็บตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงในภาคกลาง

 

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน