คุณกำลังมองหาอะไร?

ศู

ศูนย์อนามัยที่ 11 ร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มวัยรุ่น จังหวัดระนอง

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

13.03.2564
8
0
แชร์
13
มีนาคม
2564

วันที่ 12 มีนาคม 2564 ศูนย์อนามัยที่ 11 ร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มวัยรุ่น จังหวัดระนอง
 ณ เฮอริเทจ แกรนด์ คอนแวนชั่น เมืองระนอง
กลุ่มเป้าหมาย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ท้องถิ่นจังหวัด อบจ.ระนอง สาธารณสุขผู้รับผิดชอบงานวัยรุ่น พมจ.ระนอง งบประมาณสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระนอง เพื่อบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สร้างความรอบรู้ ด้านสุขภาวะ และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อสำหรับวัยรุ่น
ประธาน นายสมจิตร์ เขียนด้วง รองผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง ในฐานะตัวแทนประธานคณะอนุกรรมการจังหวัดระนอง ตาม พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ปี 2559 กล่าวรายงานโดย นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดระนอง เลขานุการคณะอนุกรรมการฯ
ผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 45 คน วิทยากรโดย นายชูไชย นิจไตรรัตน์ รองผู้อำนวยการมูลนิธิแพธ ทู เฮลท์ และผู้จัดการโครงการส่งเสริมสุขภาวะเยาวชนภาคใต้โดยท้องถิ่นและภาคี
และทีม / ศูนย์อนามัยที่ 11 / ผู้รับผิดชอบงานวัยรุ่นสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช
รูปแบบในการจัดประชุมในวันนี้ เป็นการสร้างกิจกรรมและ ร่วมคิดวิเคราะห์นำเข้าสู่ เป้าหมายหรือความคาดหวังของแต่ละคน ซึ่งมีความคล้ายกัน เช่น
1.อยากให้ลูกหลานเป็นแบบใดเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น
2.วิถีชีวิตวัยรุ่นในท้องถิ่น ที่รู้สึกเป็นห่วง
3.แล้วอยากทำอะไร ในฐานะภาคี ท้องถิ่น ครู หมอ พ่อแม่ ท้องถิ่น ฯลฯ
และอีกหลากหลายกิจกรรม สุดท้าย ให้กลุ่มเครือข่ายทั้ง 5 อำเภอ คือ
อำเภอเมืองระนอง อำเภอกระบุรี อำเภอกะเปอร์ อำเภอละอุ่น และ อำเภอสุขสำราญ
ได้ร่วมกันสรุป สิ่งที่ได้เรียนรู้ เรื่องที่เกี่ยวกับวัยรุ่นที่ต้องทำ ข้อเสนอแนะ / การสนับสนุนที่ต้องการ สิ่งที่เป็นข้อสังเกต ที่ผ่านมาเป็นการจัดทำแผนงานโครงการ เพื่อให้มี
ตอบตัวชี้วัด ผู้ใหญ่คิดเอง เด็กไม่ได้มีส่วนร่วมคิดร่วมทำ ต้องการให้ทุกหน่วยหรือครอบครัวได้มีปรับทัศนคติให้สอดคล้องกับยุคไอที ต้องเข้าใจวัยรุ่นและปรับตัว ทุกหน่วยงานทำและเชื่อมโยงบูรณาการกันไม่ใช่ต่างหน่วยต่างทำ เพื่อประโยชน์และคุณภาพที่ดีของวัยรุ่นในพื้นที่
และปิดท้ายด้วยหัวหน้างานส่งเสริมสุขภาพ สสจ.ระนอง เชื่อมโยงให้เห็นการทำงาน ที่ได้ร่วมเรียนรู้ อบรม เป็นงานที่กฎหมายกำหนด ตามพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น แต่ไม่ได้ทำที่ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น คือต้องสร้างตั้งแต่ครอบครัว ชุมชน ให้เด็กได้มีที่พึ่ง เข้าถึงสิทธิด้านต่างๆ ตามมาตรา 5 ของ พ.ร.บ. ฯ และบทบาทของท้องถิ่น คือมาตรา 10 โดยการร่วมมือกับภาคีเครือข่าย เพื่อตอบสนองสิทธิของวัยรุ่น

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน