คุณกำลังมองหาอะไร?

ศู

ศูนย์อนามัยที่ 11 ร่วมตรวจราชการและนิเทศงาน รอบที่ 1 ในโครงการเกี่ยวกับพระราชวงศ์ หัวข้อโครงการราชทัณฑ์ปันสุข ทำความ ดี เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ของจังหวัดชุมพร

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

21.03.2564
3
0
แชร์
21
มีนาคม
2564

งานทันตสาธารณสุข ศูนย์อนามัยที่ 11 ร่วมกับผู้นิเทศงานตรวจราชการจากศูนย์ควบคุมโรคที่ 11 กรมควบคุมโรค ศูนย์สุขภาพจิตที่ 11 กรมสุขภาพจิต กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ และ กองบริหารสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
ร่วมตรวจราชการและนิเทศงาน รอบที่ 1 ในโครงการเกี่ยวกับพระราชวงศ์ หัวข้อโครงการราชทัณฑ์ปันสุข ทำความ ดี เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ของจังหวัดชุมพร ในวันที่ 16 มีนาคม 2564 เวลา 9.00-12.00 น. โดยมีผู้รับผิดชอบงานโครงการราชทัณฑ์ปันสุข
ทำความ ดี เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ของจังหวัดชุมพร ร่วมรับการนิเทศ ผ่านระบบ VDO Conference โปรแกรม CiscoWebex Meeting

จังหวัดชุมพรมีเรือนจำในพื้นที่ จำนวน 2 แห่ง คือ
1. เรือนจำจังหวัดชุมพร
มีโรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ เป็นโรงพยาบาลแม่ข่าย
จำนวนผู้ต้องขัง ชาย 1,853 คน หญิง 237 คน รวม 2,090 คน
จำนวนพยาบาลในเรือนจำ 2 คน
จำนวน อสรจ. ในเรือนจำ 74 คน

2. เรือนจำอำเภอหลังสวน
มีโรงพยาบาลหลังสวน เป็นโรงพยาบาลแม่ข่าย และเรือนจำอำเภอหลังสวน เป็นเรือนจำที่ได้เข้าโครงการราชทัณฑ์ปันสุข ทำความ ดี เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ระยะที่ 2
จำนวนผู้ต้องขัง ชาย 975 คน หญิง 133 คน รวม 1,108 คน
จำนวนพยาบาลในเรือนจำ 1 คน
จำนวน อสรจ. ในเรือนจำ 41 คน

การบริการสุขภาพช่องปาก
1. เรือนจำจังหวัดชุมพร
เครือข่ายบริการโรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ โรงพยาบาลปากน้ำชุมพร และ เครือข่ายโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในเครือข่าย อำเภอเมือง ได้จัดทีมทันตบุคลากร ใน ร่วมออกให้บริการทันตกรรม โดยใช้เก้าอี้สนาม ในปีงบประมาณ 2564 แล้ว 1 ครั้ง ในเดือน กุมภาพันธ์ 2564 มีผู้ต้องขังได้รับบริการถอนฟัน 300 คน และมีแผนจะออกให้บริการอีกไตรมาสละ 1 ครั้ง

2. เรือนจำอำเภอหลังสวน (เป็นเรือนจำนำร่อง ระยะที่ 2)
โรงพยาบาลหลังสวน และ โรงพยาบาลปากน้ำหลังสวนได้จัดทีมทันตบุคลากร ออกให้บริการทันตกรรม ในปีงบประมาณ 2564แล้ว 2 ครั้ง ในเดือน ธันวาคม 2563 และ กุมภาพันธ์ 2564 มีผู้ต้องขังได้รับบริการถอนฟัน ครั้งละ 20 คน และตั้งแต่เดือน เมษายน 2564 เป็นต้นไป มีการปรับแผนออกให้บริการสัปดาห์ละ 1 ครั้ง โดยโรงพยาบาลหลังสวน รับผิดชอบ ออกให้บริการสัปดาห์ที่ 2 และ 4 ส่วน โรงพยาบาลปากน้ำหลังสวน รับผิดชอบ ออกให้บริการสัปดาห์ที่ 1 และ 3 ซึ่งจะสามารถให้บริการได้ครบทุกหัตถการ ทั้งการถอนฟัน อุดฟัน และขูดหินน้ำลาย เนื่องจาก เรือนจำหลังสวนได้รับพระราชทานยูนิตทำฟัน และติดตั้งเสร็จแล้ว เมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2564

เนื่องจากจังหวัดชุมพร เป็นจังหวัด ที่อยู่ในกลุ่มจังหวัดพื้นที่ควบคุมสูงสุด (กลุ่มสีแดง) ในการระบาดระลอกใหม่ของ COVID -19 จึงมีการชะลอการจัดบริการทันตกรรมในเรือนจำในช่วงต้นปีงบประมาณ และปรับเปลี่ยนการจัดบริการ เป็นการให้ความรู้ ฝึกทักษะการแปรงฟัน ให้แก่ อสรจ. และผู้ต้องขัง ในเดือน มกราคม 2564

นอกจากนี้ ในปีงบ 2564 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชุมพร ยังมีแผนบริการออกหน่วยรถทันตกรรมเคลื่อนที่ พอ.สว. ในเรือนจำ โดยได้รับงบประมาณ สนับสนุนจาก มูลนิธิ พอ.สว.อีกด้วย

มีความร่วมมือของภาคีเครือข่าย ในการวางแผนและจัดบริการในเรือนจำ ระหว่างหน่วยงานสาธารณสุข (โรงพยาบาล เครือข่ายบริการ และ สสจ. ชุมพร) และ เรือนจำเป็นอย่างดี และ ที่เป็นจุดเด่น คือมีการจัดทำคำสั่งคณะกรรมการอำนวยการ พัฒนาระบบบริการสาธารณสุข สำหรับผู้ต้องขังในเรือนจำ หลายชุด ซึ่งน่าจะเป็นโอกาสในการพัฒนาไปสู่ความร่วมมือในการจัดบริการ และ การจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพผู้ต้องขังได้อย่างดี

ปัญหาอุปสรรค ภาพรวม
1. ยังไม่สามารถลงทะเบียนเพื่อออกรายงานในหน่วยบริการเรือนจำ ในระบบรายงาน HDC
2. ไม่สามารถย้ายสิทธิผู้ต้องขังที่ไม่มีบัตรประชาชน หรือไม่มีเลขบัตรประชาชน เพื่อใช้สิทธิการรักษาได้

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน