คุณกำลังมองหาอะไร?

ศู

ศูนย์อนามัยที่ 11 นครศรีธรรมราช ร่วมการประชุม คณะทำงานบริหารจัดการงบบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคและงบจ่ายตามเกณฑ์คุณภาพผลงานบริการ ระดับเขต เขต11 สุราษฎร์ธานี ครั้งที่ 2/2565

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

27.03.2565
2
0
แชร์
27
มีนาคม
2565

ผู้แทนงานทันตสาธารณสุข ศูนย์อนามัยที่ 11 ในบทบาท คณะทำงานบริหารจัดการงบบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคและงบจ่ายตามเกณฑ์คุณภาพผลงานบริการ ระดับเขต เขต11 สุราษฎร์ธานี เข้าร่วมการประชุม คณะทำงานบริหารจัดการงบบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคและงบจ่ายตามเกณฑ์คุณภาพผลงานบริการ ระดับเขต เขต11 สุราษฎร์ธานี ครั้งที่ 2/2565 ซึ่งจัดโดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต11 สุราษฎร์ธานี เพื่อกำกับ ติดตาม และพิจารณาทบทวนแนวทางการดำเนินงานบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่เป็นปัญหาพื้นที่ระดับเขต/จังหวัด (PPA) ปีงบประมาณ 2565
ในวันที่ 15 มีนาคม 2565 ผ่านระบบการประชุมทางไกล (ZOOM Conference) โดยมี คณะทำงาน และผู้รับผิดชอบงานเทคโนโลยีสารสนเทศ ผู้รับผิดชอบงานอนามัยแม่และเด็ก ผู้รับผิดชอบงานพัฒนาการเด็ก ผู้รับผิดชอบงานคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ผู้รับผิดชอบงานทันตสาธารณสุข จากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ทั้ง 7 จังหวัด ในเขตสุขภาพที่ 11 เข้าร่วมประชุม จำนวน 47 User โดยแพทย์หญิงพนิดา จันทรังสิกุล รองผู้อำนวยการ สปสช.เขต 11 สุราษฎร์ธานี เป็นประธานการประชุม และแพทย์หญิงอุทุมพร กำภู ณ อยุธยา ประธานอปสข. เขต 11 ได้มาเข้ารวมการประชุมด้วย
โดยที่ประขุม นำเสนอความก้าวหน้าและผลการดำเนินงานงานบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่เป็นปัญหา ระดับเขต/จังหวัด (PPA) ปีงบประมาณ 2565 และ ปัญหาอุปสรรค โดยผลงานเกือบทุกตัวชี้วัด มีผลงานค่อนข้างต่ำกว่าเป้าหมายมากเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโคโรนาไวรัส COVID-19
ที่ประชุม ร่วมทบทวนแนวทางการดำเนินงานความครอบคลุมการได้รับอัลตร้าซาวน์ของหญิงตั้งครรภ์ อย่างน้อย 2 ครั้ง ตามมติเดิม การประชุมคณะอนุกรรมการหลักประกันสุขภาพระดับเขตพื้นที่ (อปสข.) เขต 11 สุราษฎร์ธานี ครั้งที่ 4/2564 (วันที่ 27 สิงหาคม 2564) เห็นชอบกรอบแนวทางการบริหารจัดการงบสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่เป็นปัญหาพื้นที่ระดับเขต/จังหวัด (PPA) เขตสุขภาพที่ 11 ปีงบประมาณ 2565 และมีการกำหนดรายละเอียดแนวทางการบริหารจัดการงบสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ในประเด็นความครอบคลุมการได้รับอัลตร้าซาวด์ของหญิงตั้งครรภ์ อย่างน้อย 2 ครั้ง โดยกำหนดเกณฑ์การอัลตร้าซาวด์ครั้งแรกในช่วงอายุครรภ์ 8 – 12 สัปดาห์ และครั้งต่อไปตั้งแต่ 20 สัปดาห์ขึ้นไป จึงจะนับเป็นเข้าเกณฑ์การชดเชยบริการสำหรับงบสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่เป็นปัญหาพื้นที่ระดับเขต/จังหวัด (PPA) แต่เนื่องจากมีข้อจำกัดในการทำงานมาก
ที่ประชุม จึงมีมติ ขอเสนอปรับเกณฑ์การดำเนินงานเป็น การมารับบริการครั้งแรกที่อายุครรภ์ 8-20 สัปดาห์ และครั้งต่อไปตั้งแต่ 20 สัปดาห์ขึ้นไป แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อนำเกณฑ์ปรับใหม่ดังกล่าว เสนอเข้าที่ประชุม ของคณะอนุกรรมการหลักประกันสุขภาพระดับเขตพื้นที่ (อปสข.) เขต 11 สุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2565 พบว่ามีหนังสือจากหน่วยบริการหลายแห่งโดยเฉพาะที่มีสูตินรีแพทย์ มีบริการอัลตร้าซาวด์ทันทีในการมารับบริการฝากครรภ์ครั้งแรก เพื่อยืนยันอายุครรภ์ ซึ่งจะมีผลต่อการนัดทำ Quadruple test ที่ช่วงอายุครรภ์ 14 – 18 สัปดาห์ บางกรณีมาฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 8 สัปดาห์ หากสามารถระบุอายุครรภ์ได้ จะทำอัลตร้าซาวด์ซ้ำอีกครั้งหลัง 20 สัปดาห์ ซึ่งกรณีนี้จะทำให้ไม่เข้าเกณฑ์การชดเชยบริการตามข้างต้น ด้วยเหตุผลข้างต้น คณะกรรกมาร อปสข. จึงขอเสนอปรับเกณฑ์การชดเชยในประเด็นความครอบคลุมการได้รับอัลตร้าซาวด์ของหญิงตั้งครรภ์ อย่างน้อย 2 ครั้ง เป็นอัลตร้าซาวด์ครั้งแรกในช่วงอายุครรภ์ น้อยกว่า 20 สัปดาห์ และมีบริการอัลตร้าซาวด์ซ้ำในอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ขึ้นไป ซึ่งที่ประชุม อปสข. 11 มีมติเห็นชอบ
สำหรับประเด็น การคัดกรองสุขภาพช่องปากเด็กวัยเรียน ป.1-6 และ ความครอบคลุมของเด็กชั้น ป. 6 มีฟันดีไม่มีผุ มีผลงานต่ำกว่าค่าเป้าหมายมากเช่นกัน เนื่องจากโรงเรียนส่วนใหญ่ ยังไม่เปิดเรียน On site ที่ประชุมมีมติ ขอขยายเวลาการดำเนินงานถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2565 และ ให้พื้นที่เร่งรัดการนำเข้าข้อมูลนักเรียน (แฟ้ม School และ Student ) ให้เรียบร้อย ภายใน 31 มีนาคม 2565 โดยคณะกรรมการจะนำข้อมูลฐานประชากรนักเรียน เทียบกับ จำนวนนักเรียน ที่มีในระบบจากฐานข้อมูลอื่น เพื่อเปรียบเทียบจำนวนนักเรียนทั้งหมดที่ควรจะเป็น เพื่อพิจารณา ควบคู่ไปด้วย นอกจากนี้ ที่ประชุม เสนอขอใช้ การถ่ายภาพในช่องปากเพื่อเป็นเครื่องมือช่วยในการตรวจคัดกรองช่องปากเด็กนักเรียน ซึ่งที่ประชุม มีมติเห็นชอบให้ใช้แทนได้ กรณี ที่มีการถ่ายภาพตามาตรฐานการถ่ายภาพในช่องปาก ภาพมีความคมชัด ตำแหน่งฟันที่ตรวจแห้ง ไม่มีคราบขี้ฟัน หรือมีความคลุมเครือของภาพจนไม่อาจวินิจฉัยได้ ทั้งนี้ จะต้องดำเนินการควบคู่กับการจัดการที่ดี ที่สามารถระบุได้ว่า ภาพใดเป็นของบุคคลใด เพื่อป้องกันความสับสนในการบันทึกผลการตรวจไม่ตรงกับบุคคลนั้นๆ

18648 ขอเชิญประชุมคณะทำงานบริหารจัดการงบบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันและงบจ่ายตามเกณฑ์คุณภาพผลงานบริการระดับเขต เขต 11 วันที่ 15 มี.ค. 2565 ผ่านระบบการประชุมทางไกล (Zoom conference) 14/3/2565
https://hpc11.go.th/calendar_program/uploads/pdf_26301/18648.pdf

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน