คุณกำลังมองหาอะไร?

ศู

ศูนย์อนามัยที่ 11 จัดประชุมติดตามการดำเนินงานทันตสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 11 รอบ 6 เดือนแรก ปีงบประมาณ 2565

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

30.03.2565
10
0
แชร์
30
มีนาคม
2565

เพื่อติดตามงานทันตสาธารณสุข ในเขตสุขภาพที่ 11 และ แลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงาน รวมทั้งรับฟังข้อเสนอแนะ ปัญหาอุปสรรค และสิ่งที่ต้องการสนับสนุนจากศูนย์อนามัยที่ 11 โดยมีผู้รับผิดชอบงานทันตสาธารณสุข จากสำนักงานทันตสาธาณสุข ทุกกลุ่มวัยเข้าร่วมการประชุม ผ่านระบบ VDO Conference (Cisco Webex) จำนวน 27 user
แต่ละจังหวัดนำเสนอความก้าวหน้าการดำเนินงานทันตสาธารณสุข 6 เดือนแรก และแผนการขับเคลื่อนใน 6 เดือนหลังของจังหวัด ประจำปีงบประมาณ 2565 รวมทั้งนวตกรรม ข้อเสนอแนะ ปัญหาอุปสรรค และสิ่งที่ต้องการสนับสนุนจากศูนย์อนามัยที่ 11 และ งานทันตสาธารณสุข ศูนย์อนามัยที่ 11 ได้นำเสนอสถานการณ์สุขภาพช่องปากของเขตสุขภาพที่ 11 การจัดบริการ และผลการดำเนินงานทันตสาธารณสุข ของศูนย์อนามัยที่ 11 ในรอบ 6 เดือนแรก และแผนงานในรอบ 6 เดือนหลัง ของปีงบประมาณ 2565 ที่ประชุมรับทราบ และมีการอภิปรายแลกเปลี่ยนการดำเนินงานที่ผ่านมา และข้อสังเกต เพื่อพัฒนางานใน 6 เดือนหลังด้วย
สถานการณ์การจัดบริการภาพรวมของงานทันตกรรม ลดลงมากในทุกกลุ่มวัย เช่นเดียวกับผลการจัดบริการในระดับประเทศ และผลงานในเขตสุขภาพที่ 11 ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของระดับประเทศเกือบทุกตัวชี้วัด และเกือบทุกกลุ่มวัย เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโคโรนา ไวรัสที่สูงมากในเขตสุขภาพที่ 11 ส่งผลกระทบต่อการจัดการหลายประเด็น เช่น ประชาชนไม่กล้ามารับบริการที่สถานบริการเพราะเกรงจะมีความเสี่ยงในการติดเชื้อ ระบบการจัดบริการให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ควบคุมได้รับยาใกล้ยาจึงทำให้ผู้ป่วยลุ่มนี้มารับบริการทันตกรรมลดลง สถานบริการทันตกรรม ยังไม่พร้อมในการให้บริการทันตกรรมที่มีการฟุ้งกระจาย รวมถึง setting ต่างๆ เช่น สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย โรงเรียน ชมรม ปิดการดำเนินกิจกรรม ในรูปแบบ Onsite เรือนจำส่วนใหญ่ ยังไม่อนุญาตให้เข้าไปจัดบริการทันตกรรมในเรือนจำ นอกจากนี้ ทันตบุคลากร ยังต้องปฏิบัติภารกิจในการช่วยเหลืองานฉีดวัคซีนป้องกัน งานควบคุมโรค และการสนับสนุนดูแลผู้ป่วยติดเชื้อ COVID-19 เพิ่มเติมซึ่งถือเป็นงานที่มีความมสำคัญเร่งด่วน ทำให้ปฏิบัติงานทันตกรรรมลดน้อยลง และโดยเฉพาะสถานการณ์การแพร่ระบาดที่แผ่เป็นวงกว้างขณะนี้ พบว่าจำนวนทันตบุคลากรมีการติดเชื้อ COVID-19 จากการใช้ชีวิตในกิจวัตรประจำวัน เช่นเดียวกับกลุ่มคนอื่นๆ ซึ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงาน แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีพื้นทีมีผลการปฏิบัติงานได้ดี เนื่องจากมีการบริหารจัดการที่ดี ต่อเนื่อง อย่างสม่ำเสมอ มีแผนการทำงานสำรองความเสี่ยง มีการปรับแผนการทำงานให้ยืดหยุ่นสอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค และวางแผนการทำงานประสานสอดคล้องกับทีมงานอื่นๆ ในการทำงานเชิงรุกใน setting ๆ เช่น จัดบริการทันตกรรมในวันที่มีการตรวจ ATK ของกลุ่มเป้าหมายนั้นๆอยู่แล้ว เพื่อลดภาระงาน และขั้นตอนในการคัดกรองความเสี่ยงของผู้รับบริการ เป็นต้น นอกจากการจัดบริการทันตกรรมแล้ว ในมิติงานส่งเสริมสุขภาพอื่นๆ ในทุกกลุ่มวัย ยังไม่พบการดำเนินงานที่เด่นชัด แต่อย่างไรก็ตามภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของการติดเชื้อนี้ ถือเป็นโอกาสเกิดการพัฒนารูปแบบการจัดบริการ ที่โดดเด่น และน่าสนใจในโครงการ “อ้าออนไลน์” ของจังหวัดระนอง ที่มีการทำงานแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียน ผู้ปกครอง และ ทันตบุคลากรทุกระดับ นำเทคโนโลยีการถ่ายภาพในช่องปาก และเทคโนโลยีการจัดการ โดยการให้ผู้ปกครองถ่ายภาพในช่องปากของเด็กก่อนวัยเรียน ส่งเข้าระบบ Web Online ที่พัฒนาขึ้น ตามคลิปวิดิโอที่แนะนำ และเขียนเงื่อนไขคำสั่งแยกกลุ่มนักเรียนตามรายโรงเรียน แล้วให้ทันตบุคลากรแต่ละหน่วยบริการตรวจสอบความถูกต้องคมชัดของภาพ เพื่อให้ได้ภาพที่มีคุณภาพต่อการใช้งาน และรายงานผลเป็นเอกสารพร้อมรูปเป็นรายบุคคลอัตโนมัติ สามารถ ตรวจสอบดู และระบุตัวตนได้
สำหรับแผนงานของศูนย์อนามัยที่ 11 ในรอบ 6 เดือนหลัง มีทั้งการพัฒนาระบบรายงานข้อมูลโดยใช้ Data Exchange ทั้ง 7 จังหวัด การขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมของพื้นที่ในการยกระดับการดูแลสุขภาพเด็กก่อนวัยเรียน การขับเคลื่อนการติดตามกำกับสถานศึกษาทุกสังกัดให้ปฏิบัติตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการเพื่อการจัดการ อาหาร เครื่องดื่ม และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพในโรงเรียน การพัฒนาระบบงาน Tele Dentistry และจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานการใช้กล้องถ่ายภาพในช่องปาก ที่สนับสนุนพื้นที่ทั้ง 7 จังหวัด และการดำเนินงานในกลุ่มต่างๆ

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน