คุณกำลังมองหาอะไร?

งา

งานทันทสาธารณสุข ศูนย์อนามัยที่ 11 ร่วมการประชุมประจำเดือนสำนักตรวจราชการ กระทรวงสาธารณสุข

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

26.06.2565
15
0
แชร์
26
มิถุนายน
2565

ทันตแพทย์หญิงศศิธร บัณฑิตมหากุล ทันตแพทย์เชี่ยวชาญ ศูนย์อนามัยที่ 11 ได้รับมอบหมายจากผู้ตรวจราชการเขตสุขภาพที่ 11 ให้เข้าร่วมการประชุมประจำเดือนสำนักตรวจราชการ กระทรวงสาธารณสุข ในฐานะผู้นำเสนอผลการดำเนินงานที่ดี ของเขตสุขภาพที่ 11 ในวันจันทร์ ที่ 20 มิถุนายน 2565 โดยมี นายแพทย์สุเทพ เพชรมาก หัวหน้าผู้ตรวจราชการ และผู้ตรวจราชการเขตสุขภาพที่ 12 เป็นประธาน ผู้เข้าร่วมการประชุม ประกอบด้วย ผู้ตรวจราชการเขตสุขภาพที่ 1-12 สาธารณสุขนิเทศก์เขตสุขภาพที่ 1-12 ผู้ทำหน้าที่ตรวจราชการระดับกรม ผู้บริหารในระดับกระทรวง ณ ห้องประชุมชัยนาทนเรนทร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ เข้าร่วมการประชุมผ่านระบบการประชุมทางไกล โปรแกรม Zoom จำนวน 63 user
ซึ่งที่ประชุม มีการติดตามงบลงทุนภูมิภาค การบริหารจัดการวัคซีนโรคไวรัสโคโรนา 2019 โรคและภัยสุขภาพที่สำคัญ รายงานแนวทางการกำกับติดตาม PDPA และการนำเสนอผลการดำเนินงานที่ดี (Best Practice) ของ 3 เขตสุขภาพ คือ
การจัดระบบบริการป้องกันการฆ่าตัวตาย ของเขตสุขภาพที่ 6
ความร่วมมือการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการด้วยระบบอิเลคทรอนิกส์ R8: NDS : Nawang Model ของเขตสุขภาพที่ 8
และ การพัฒนาระบบบริการส่งเสริมป้องกันสุขภาพช่องปากในเด็กปฐมวัย เขตสุขภาพที่ 11 ซึ่งได้นำเสนอการวิเคราะห์สถานการณ์สุขภาพช่องปาก การจัดบริการ วิเคราะห์ภาคีเครือข่าย (Stakeholder analysis) การศึกษาวิจัยประเมินผลการจัดบริการส่งเสริมป้องกันในกลุ่มเด็กปฐมวัย ของเขตสุขภาพที่ 11 ปีงบประมาณ 2560 เพื่อรวบรวมจัดทำข้อเสนอต่อคณะทำงานบริหารจัดการงบบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกัน และงบจ่ายตามเกณฑ์คุณภาพผลงานบริการ ระดับเขต 11 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 11 สุราษฎร์ธานี จนกำหนดเป็นตัวชี้วัดงบบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่เป็นปัญหาระดับเขต/จังหวัด (PPA) “เด็กอายุ 9,18,24,36 เดือน คนไทยทุกสิทธิ์ ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและเคลือบหรือทาฟลูออไรด์วานิชและฝึกทักษะการแปรงฟันร้อยละ 55” ในปีงบประมาณ 2563- 2564 โดยจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมแก่เครือข่ายหน่วยบริการ ที่ให้บริการตามข้อกำหนดตัวชี้วัด รายละ 100 บาท ซึ่งจะส่งผลจูงใจให้หน่วยบริการ จัดบริการเพิ่มขึ้น พร้อมกับการพัฒนาระบบรายงานข้อมูล เพื่อให้พื้นที่ทุกระดับได้ใช้ในการทำแผนปฏิบัติงาน การค้นหาเป้าหมาย และการกำกับติดตามงาน ซึ่งการผลักดันผ่านกลไกงบประมาณ ร่วมกับพัฒนาระบบรายงานข้อมูล ทำให้เด็กปฐมวัยในเขตสุขภาพที่ 11 เข้าถึงบริการส่งเสริมป้องกันสุขภาพในช่องปากเพิ่มขึ้น และสูงกว่าค่าเฉลี่ยประเทศตั้งแต่เริ่มมีมาตรการในปีงบประมาณ 2563 จากบทเรียนความสำเร็จนี้ จึงได้จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายให้ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จัดทำรายการคืนข้อมูลการบริการเด็กปฐมวัยตั้งแต่แรกเกิดจนอายุครบ 5 ปี เป็นรายบุคคล ผ่านระบบรายงาน HDC ทำให้ งานทันตกรรมทุกเขตสุขภาพ มีรายงานข้อมูลที่เป็นรายงานการดูแลต่อเนื่องตั้งแต่แรกเกิด- 5 ปี ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ และวิเคราะห์ รวมทั้งออกแบบการจัดบริการ และทำโครงการพัฒนาได้สอดคล้องกับบริบทมากขึ้น นอกจากนี้ ยังได้พัฒนาระบบการแจ้งเตือนผู้ปกครองผ่าน Line Notify เพื่อให้ผู้ปกครองนำเด็กๆในความดูแลมารับบริการทันตกรรมทุกๆ 6 เดือน ต่อเนื่องตั้งแต่แรกเกิด จนอายุ 5 ปี อีกด้วย

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน