คุณกำลังมองหาอะไร?

กา

การพัฒนาระบบบริการส่งเสริมสุขภาพช่องปากและป้องกันโรคระดับปฐมภูมิ

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

13.07.2565
2
0
แชร์
13
กรกฎาคม
2565

ทพญ.ศศิธร บัณฑิตมหากุล ทันตแพทย์เชี่ยวชาญ ศูนย์อนามัยที่ 11 ในบทบาทคณะทำงานพัฒนาระบบบริการส่งเสริมสุขภาพช่องปากและป้องกันโรคระดับปฐมภูมิ เข้าร่วมการประชุม กับคณะกรรมาธิการสาธารณสุข วุฒิสภา เพื่อให้ข้อมูล และร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เกี่ยวกับ การพัฒนาระบบบริการส่งเสริมสุขภาพช่องปากและป้องกันโรคระดับปฐมภูมิ และประเด็นอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ผ่านระบบการประชุมทางไกล ในวันที่ 8 กรกฎาคม 2565 โดยมีทันตแพทย์พิทักษ์ ไชยเจริญ สมาชิกวุฒิสภาในบาบาท ประธานคณะอนุกรรมาธิการ เป็นประธานการประชุม มีกรรมการ พร้อมคณะทำงาน และผู้เกี่ยวข้องที่ร่วมให้ข้อมูล จำนวน 31 User โดยมีประเด็นพิจารณา และให้ ข้อเสนอ ดังนี้
ทันตแพทย์หญิงสุณี วงศ์คงคาเทพ ผู้ทรงคุณวุฒิกรมอนามัย (ข้าราชการบำนาญ) หัวหน้าคณะทำงาน พัฒนาระบบบริการส่งเสริมสุขภาพช่องปากและป้องกันโรคระดับปฐมภูมิ นำเสนอ ผลการศึกษาระบบริการส่งเสริมป้องกันสุขภาพช่องปากระดับปฐมภูมิ และข้อเสนอการพัฒนา ทั้งการจัดระบบบริการทันตสุขภาพของหน่วยบริการปฐมภูมิ ระบบการสนับสนุนสุขภาพช่องปาก โดย เสนอให้มีการพัฒนาระบบบิการสุขภาพช่องปากระดับปฐมภูมิ และระบบบริหารจัดการตามบริบท (การกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ กลไกการขับเคลื่อน การผลิตบุคลาการทั้ง ทันตแพทย์ ทันตาภิบาล และผู้ช่วยทันตแพทย์) เพื่อเคลื่อนระบบไปพร้อมกัน และพิจารณาประเด็นแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของระบบทันตสาธารณสุขของประเทศไทยกับการเปลี่ยนแปลงของระบบสาธารณสุขประเทศไทย ในปัจจุบันและอนาคต รวมทั้งผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ทั้งโครงสร้าง จำนวนทันตบุคลากร ทันตแพทย์ ทันตาภิบาล ผู้ช่วยทันตแพทย์ ที่อยู่ในระบบราชการกระทรวงสาธารณสุขในปัจจุบัน รวมถึง แผนงานในปัจจุบัน และอนาคต การบริหารจัดการจำนวนคน และศักยภาพให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เพื่อให้สามารถบริหารและพัฒนาประเทศด้านสาธารณสุข ด้านทันตสาธารณสุข อย่างมีประสิทธิภาพ และคุ้มค่า เพื่อตอบสนองต่อปัญหาและความจำเป็นในการดูแลทันตสุขภาพของประชาชนไทย โดยเชิญ นายพชาวุธ เพ็งทอง รักษาราชการนักทรัพยากรบุคคลเชี่ยวชาญ สำนักงาน ก.พ. และ นางสาวณฐิณี สงกุมาร ผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบราชการ2 สำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมให้ข้อมูล และความคิดเห็น ซึ่งที่ประชุม ได้ชี้ให้เห็นถึงปัญหา ด้านโครงสร้าง การกำหนดตำแหน่งเมื่อมีการพัฒนาศักยภาพ ของทันตบุคลากร และผลกระทบจากการเสียโอกาส ของประชาชนในการเข้าถึงบริการ ซึ่งประเด็นทันตสุขภาพ อาจไม่ได้เป็นประเด็น ชัดเจนที่ถูกกำกับติดตามในแผนระดับชาติ จึงเสนอให้ผลักดันให้บรรจุอยู่ในแผนระดับ 3 เพื่อให้กระทรวงเห็นความสำคัญ และกำหนดวิธีการขับเคลื่อน ติดตามได้ชัดเจน

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน