คุณกำลังมองหาอะไร?

ครงการเปิดห้องเรียนพ่อแม่สื่อสารเชิงบวก ( Refresher Training )

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

18.07.2565
9
0
แชร์
18
กรกฎาคม
2565

โครงการเปิดห้องเรียนพ่อแม่สื่อสารเชิงบวก ( Refresher Training )
วิทยากรปิดห้องเรียนพ่อแม่ 8 อำเภอ จังหวัดพังงา
โดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพังงา ร่วมกับมูลนิธิแพธทูเฮลท์ และ ศอ.11
วันที่ 6-7 กรกฎาคม 2565
ณ โรงแรมเดอะบริษา บีชรีสอร์ท เขาหลัก อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา
สนับสนุนงบประมาณโดย กองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม พมจ.พังงา
เป้าหมายวิทยากรครอบคลุมทั้ง 8 อำเภอ ประมาณ 40 คน ( สาธารณสุข คุณครู อสม . บ้านพักเด็ก ) ที่พัฒนาขึ้นเมื่อพฤศจิกายน 2564 และได้กลับไปปิดห้องเรียนพ่อแม่ในพื้นที่ อำเภอ ของตนเอง ประสบการบางคนเปิดห้องเรียนถึง 7 ครั้ง น้อยที่สุด 1 ครั้งบางคนยังไม่เคยผ่านประสบการณ์แต่สนใจ
กิจกรรมในวันแรก แลกเปลี่ยนประสบการณ์ สิ่งที่ภาคภูมิใจ Gap และไปไม่เป็นเมื่อเจอ….. สิ่งเหล่านี้ ทุกคนได้ระดมความคิดแต่ละอำเภอ มีสิ่งที่ดีมากมาย กับตัวเองและกลุ่มเป้าหมาย Gap & สิ่งที่เจอแล้วไปไม่เป็น ไม่แตกต่างจากเวทีครั้งแรกๆ ( ครั้ง ที่ 1-2 )
เช่น ไม่มั่นใจเชื่อมโยงกิจกรรมไม่ได้ พากลุ่มเป้าหมายไปไม่บรรลุวัตถุประสงค์แต่ละกิจกรรม
ไม่ได้สนใจคำตอบมัวแต่คิดว่าทำอย่างไรให้กิจกรรมจบ ฯลฯ และด้วยความหลากหลายบริบท
ทางมูลนิธิเมื่อได้ฟังเสียงสะท้อน ความต้องการ ก็ต้องท้าทายแล้วครั้งนี้ ออกแบบกิจกรรมเพื่อทำให้วิทยากรกลุ่มนี้มีความ เชี่ยวชาญ หรือ Advance ขึ้น
1. การเชื่อมโยงแต่ละกิจกรรม
2. การคิดวิเคราะห์ KAS ในการทำกิจกรรมแต่ละกิจกรรม
- K = Knowledge 3 ระดับ Must to Know , Need to Know , Nice to Know
- A = Attitude
- S = Skills
3. AL = Adult Learning ( Do , Do not ) การเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ อะไรควร หรือไม่ควร เมื่อเราเป็นวิทยากร
บรรยากาศในห้อประชุม ทุกคนมีความ Active ร่วมกันแชร์ และแลกเปลี่ยน มองเห็นการเปลี่ยนแปลง ความมั่นใจมากขึ้น และ เมื่อผ่านกิจกรรม 3 กิจกรรม หลายคนได้บทสรุปว่ามีประโยชน์มาก เป็นการแลกเปลี่ยนที่มีคุณค่า สร้างความมั่นใจ สามารถย้อนกลับไปความคาดหวังวันแรก ว่า บรรลุความคาดหวัง และหากวิทยากรมีกระบวนการคิดแบบนี้จะทำให้ห้องเรียน เป็นการเรียนรู้แบบ Active Learning
ตัวอย่างเสียงสะท้อน
- วิทยากรไม่ได้สนใจฟังคำตอบแล้วเอามาสะท้อนในเวที เนื่องจากกังวล ขั้นตอนกิจกรรมต่อไป
- ที่ผ่านมาจะแบ่งกิจกรรมกัน โดยไม่ค่อยได้เรียนรู้ของทีม การเชื่อมโยงก็เลยขาดหาย
- การฝึกทักษะบ่อยๆ ทำให้มีความเชี่ยวชาญขึ้น ฯลฯ
Next Step ของ สำนักงานสาธารณสุขพังงา คือ การทำค่ายครอบครัว ในแต่ละอำเภอ และขยายการเปิดห้องเรียนพ่อแม่เชื่อมเข้าสู่งานปกติ ในการพัฒนางานวัยรุ่นของจังหวัด และ พมจ.พังงา พร้อมที่ที่สนับสนุนงบประมาณทั้ง สสจ.และพื้นที่ในอำเภอ
ขอขอบคุณ
#สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพังงา
#พมจ.พังงา
#P2H #คนใต้หยัดได้
#เชฟรอน
#ยุทธศาสตร์ที่ 2 พรบ.การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน