คุณกำลังมองหาอะไร?

ระชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาการศึกษาการเพิ่มอัตราการเข้าถึงชุดสิทธิประโยชน์การสร้างเสริมและป้องกันโรคที่ส่งเสริมการเกิดอย่างมีคุณภาพผ่าน Telehealth ครั้งที่ 1

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

02.11.2565
3
0
แชร์
02
พฤศจิกายน
2565

ตัวแทนกลุ่มพัฒนาอนามัยแม่และเด็ก เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาการศึกษาการเพิ่มอัตราการเข้าถึงชุดสิทธิประโยชน์การสร้างเสริมและป้องกันโรคที่ส่งเสริมการเกิดอย่างมีคุณภาพผ่าน Telehealth ครั้งที่ 1 ในวันที่ 31 ตุลาคม-1 พฤศจิกายน 2565 ณ โรงแรมไมด้างามวงศ์วาน

ซึ่งจัดโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางการศึกษาการเพิ่มอัตราการเข้าถึงชุดสิทธิประโยชน์ รวมไปถึงต้องการพัฒนาบุคลากรสาธารณสุขทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ให้มีความรู้ ความเข้าใจวิธีการจัดทำแนวทางการศึกษาการเพิ่มอัตราการเข้าถึงชุดสิทธิประโยชน์ผ่าน Telehealth
ในการประชุมครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก นพ.เอกชัย เพียรศรีวัชรา รองอธิบดีกรมอนามัยให้เกียรติเปิดงานและบรรยายพิเศษเรื่อง ปฏิรูปบริการการส่งเสริมสุขภาพเพื่อคนไทยสุขภาพดีด้วยเทคโนโลยีดิจิตอล ซึ่งได้ชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของระบบสุขภาพ และการรับมือสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ต่อด้วยการบรรยายหัวข้อ แนวคิดสำคัญสู่การพัฒนาการศึกษาการเพิ่มอัตราการเข้าถึงชุดสิทธิประโยชน์ผ่าน Telehealth โดย นพ.พีระยุทธ สานุกูล หลังจากนั้นได้ผู้รับผิดชอบโครงการศึกษาได้ชี้แจงรายละเอียดและวัตถุประสงค์ในการทำการศึกษาครั้งนี้ ซึ่งผลลัพธ์เพื่อพัฒนา Telehealth เป็นหนึ่งช่องทางให้ประชาชน ใน 4 กลุ่ม ได้แก่ 1)กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหลังคลอด 2)กลุ่มเด็ก 0-5ปี 3)กลุ่มเด็กโตและวัยรุ่น 6-24ปี 4)กลุ่มผู้ใหญ่ 25-59 ปี ได้รับรู้สิทธิ์และสามารถเข้าถึงสิทธิประโยชน์ที่พึงได้รับที่ โดยในครั้งนี้ได้มีกิจกรรมการแบ่งกลุ่มออกเป็น 4 กลุ่มตามกลลุ่มวัยในข้างต้น เพื่อจำลองการออกแบบเครื่องมือเพิ่มอัตราการเข้าถึงชุดสิทธิประโยชน์ของแต่ละกลุ่มวัย ผ่านกระบวนการ Design Thinking

ในส่วนของโครงการการศึกษาการเพิ่มอัตราการเข้าถึงชุดสิทธิประโยชน์การสร้างเสริมและป้องกันโรคที่ส่งเสริมการเกิดอย่างมีคุณภาพผ่าน Telehealth นั้นประกอบไปด้วย 3 ระยะ ได้แก่
ระยะที่1 วิเคราะห์ความจำเป็น : ทบทวนเอกสาร งานวิจัย การเข้าถึงชุดสิทธิประโยชน์,Telehealth พัฒนาแบบสอบถาม ลงเก็บข้อมูล นำไปพัฒนา Telehealth
ระยะที่ 2 ทดลองใช้ Telehealth :ในพื้นที่นำร่อง หลังจากนั้นเก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เพื่อประเมินผลของการใช้
ระยะที่ 3 ขยายรูปแบบ Telelhealth ในพื้นที่อื่นๆต่อไป

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน