คุณกำลังมองหาอะไร?

ระชุมวิชาการภูมิภาคครั้งที่ 20 เรื่อง Practice Towards Good Outcomes และอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การกู้ชีพทารกแรกเกิดแนวทางใหม่ 2021

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

31.01.2566
3
0
แชร์
31
มกราคม
2566

กลุ่มส่งเสริมสุขภาพวัยรุ่น ร่วม ประชุมวิชาการภูมิภาคครั้งที่ 20 เรื่อง Practice Towards Good Outcomes และอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การกู้ชีพทารกแรกเกิดแนวทางใหม่ 2021 ณ โรงแรมต้นอ้อย แกรนด์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา วันที่ 24-27 มกราคม 2566 เวลา 8.30-16.30  จัดโดย สาขาวิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  ประธานผู้จัดประชุมวิชาการและอบรมเชิงปฏิบัติการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพทย์หญิง สุภาภรณ์ ดิสนีเวทย์

ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยแพทย์และพยาบาลโดยประมาณ 200 ท่าน

โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุม/อบรมมีความรู้และทักษะในการดูแลทารกแรกเกิดภาวะวิกฤตด้านต่างๆและมีความรู้และทักษะที่ถูกต้องในการช่วยกู้ชีพทารกได้ แพทย์และพยาบาลได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในการดูแลทารกแรกเกิดร่วมกัน เพื่อนำความรู้ไปพัฒนาหน่วยงานต่อไป

#ประกอบด้วย
เนื้อหาการกู้ชีพทารกแรกเกิดแนวทางใหม่ 2021และร่วมเข้าWorkshopการกู้ชีพทารกแรกเกิด

เพื่อพิจารณาว่าต้องให้การช่วยเหลือขั้นต่อไปหรือไม่
#การประเมินอย่างรวดเร็ว (Rapid Evaluation)
#ทางเดินทางเดินหายใจ(A=Airway)
#การหายใจ(B=Breathing)
#การไหลเวียนเลือด(C=Circulation)
#การให้ยา(D=Drug)

#MR .SOPA
M = Mask adjustment
R = Reposition airway
S = Suction mouth and nose
O = Open mouth
P = Pressure increase
A = Airway attetnative

#ทักษะการปฏิบัติที่สำคัญในการกู้ชีพทารกแรกเกิด
-รู้สภาวะแวดล้อมของตนเอง :อุปกรณ์พร้อม+ทีมพร้อม
-ใช้ข้อมูลที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์
-คาดการณ์ล่วงหน้าและวางแผน:แบ่งหน้าที่รับผิดชอบ อภิปรายการวางแผนการดูแล
-กำหนดผู้นำทีมกู้ชีพ
-สื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ
-แบ่งงานบุคลากรในทีมอย่างเหมาะสม
-ตั้งใจปฏิบัติอย่างมีสติ
-ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
-ขอความช่วยเหลือเพิ่มเติมเมื่อต้องการ
-ประพฤติตนอย่างเหมาะสมตามหลักวิชาชีพ

#ภาพรวมของหลักการกู้ชีพทารกแรกเกิด จะเกิดประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อทำโดยทีมที่ถูกกำหนดอยู่ก่อนแล้วและมีการทำงานร่วมกันอย่างดีภายในทีม สิ่งสำคัญท่านควรรู้หน้าที่ความรับผิดชอบของสมาชิกในทีมกู้ชีพที่ท่านทำงานด้วย และควรหมั่นฝึกฝนการกู้ชีพเป็นระยะจะช่วยให้การทำงานประสานกันเป็นอย่างดีและทำให้ดูแลทารกได้อย่างมีประสิทธิภาพ

#ประเด็นสำคัญ
1.ทารกแรกเกิดส่วนใหญ่สามารถเข้าสู่สภาพแวดล้อมนอกครรภ์มารดาได้ หลังเกิดโดยไม่ต้องได้รับการช่วยเหลือ
2.ความต้องการในการกู้ชีพทารกแรกเกิดมักเป็นผลจากภาวะการหายใจล้มเหลว
3.ขั้นตอนการกู้ชีพทารกแรกเกิดที่สำคัญและมีประสิทธิภาพมากที่สุด คือ การช่วยหายใจให้กับทารก
4.ทารกแรกเกิดจำนวนน้อยมากที่ต้องการการช่วยเหลือด้วยการกดหน้าอก(chest compression) หรือการใช้ยา
5.การทำงานเป็นทีม ความเป็นผู้นำ และการสื่อสารเป็นสิ่งสำคัญมากในการกู้ชีพทารกแรกเกิดให้ประสบความสำเร็จ

#ดังนั้น สิ่งสำคัญที่สุดในการกู้ชีพทารกแรกเกิด คือ การช่วยหายใจอย่างมีประสิทธิภาพ

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน