คุณกำลังมองหาอะไร?

ระเมินคัดเลือกโรงเรียนต้นแบบด้านโภชนาการ ระดับเขตสุขภาพสู่ตัวแทนระดับประเทศ เยี่ยมติดตามการดำเนินงานขับเคลื่อนมาตรฐานการจัดการอาหารและโภชนาการในสถานศึกษา และกิจกรรมยกระดับโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพแนวใหม่ ภายใต้โครงการส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนเขตสุขภาพที่ 1

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

20.02.2566
367
0
แชร์
20
กุมภาพันธ์
2566

วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2566 กลุ่มพัฒนาการส่งเสริมสุขภาพวัยเรียน นำโดย ดร.วันชัย เยี่ยงกุลเชาว์ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ หัวหน้ากลุ่มฯ ร่วมกับนางจุฑามาศ ศุภวิมุติ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ นางปาณิสรา กลั่นนิเวศ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ นางสาวเสาวนีย์ สะรุโณ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ และนางสาวปัทมา ดวงมุสิก นักโภชนาการปฏิบัติการ ร่วมดำเนินกิจกรรมประเมินคัดเลือกโรงเรียนต้นแบบด้านโภชนาการ ระดับเขตสุขภาพสู่ตัวแทนระดับประเทศ เยี่ยมติดตามการดำเนินงานขับเคลื่อนมาตรฐานการจัดการอาหารและโภชนาการในสถานศึกษา และกิจกรรมยกระดับโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพแนวใหม่ ภายใต้โครงการส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนเขตสุขภาพที่ 11 เก่ง ดี มีทักษะ แข็งแรงในศตวรรษที่ 21 ปีงบประมาณ 2566 ณ โรงเรียนบ้านท่าลานทอง อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร

มีประเด็นในการเยี่ยมติดตามการดำเนินงาน คัดเลือกโรงเรียนต้นแบบด้านโภชนาการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพ ดังนี้
1) กลไกการขับเคลื่อนเชิงนโยบาย
2) การสร้างการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทั้งภายในและภายนอก
3) การเฝ้าระวังด้านโภชนาการ
4) การจัดการอาหารในโรงเรียน
5) นวัตกรรม งานวิจัย และโมเดลที่เกี่ยวข้อง
6) โปรแกรมประเมินโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพ

โรงเรียนบ้านท่าลานทอง มีนโยบายในการส่งเสริมสุขภาพนักเรียน ด้วย นวัตกรรม “TLT Model” โดยประยุกต์การดำเนินงานด้านอาหารและโภชนาการผ่านการมีส่วนร่วมของเครือข่ายผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษา และชุมชน ซึ่งโรงเรียนมีการเฝ้าระวังด้านโภชนาการอย่างต่อเนื่อง โดยใช้โปรแกรม KidDiary ในการบันทึกผลและแปลผลภาวะโภชนาการของนักเรียน และจากรายงานในระบบจัดเก็บข้อมูลนักเรียนรายบุคคล (Data Management Center : DMC) ของกระทรวงศึกษาธิการ พบ ภาวะโภชนาการของนักเรียนโรงเรียนบ้านท่าลานทอง มีภาวะเตี้ยร้อยละ 6.0 และภาวะผอม ร้อยละ 2.7 ซึ่งไม่เกินเกณฑ์ (ร้อยละ 10 และ 5 ตามลำดับ) แต่ยังคงพบปัญหาภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนเกินเกณฑ์ (ร้อยละ 10) ซึ่งโรงเรียนมีแนวทางในการจัดการปัญหาทุพโภชนาการเกินอย่างชัดเจน โดยการส่งเสริมการออกกำลังกายและปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร แต่ยังไม่มีระบบการคัดกรองเด็กอ้วนกลุ่มเสี่ยงที่มีภาวะ Obesity sigh และส่งต่อสถานบริการสาธารณสุขที่เป็นรูปธรรมและชัดเจน จุดเด่น คือ โรงเรียนสามารถจัดการอาหารเช้าและอาหารกลางวันในโรงเรียนได้เป็นอย่างดี ด้วยโปรแกรม Thai School Lunch และใช้ผักที่นักเรียนปลูกเองเป็นวัตถุดิบหลักในการประกอบอาหารกลางวัน ไม่จำหน่ายอาหารว่างรสหวานจัด เค็มจัด ไขมันสูง และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง รวมทั้งโรงเรียนสามารถจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและโภชนาการในนักเรียนได้เป็นอย่างดี ซึ่งกิจกรรมต่างๆ ดังกล่าว จะช่วยลดภาวะทุพโภชนาการและส่งเสริมให้นักเรียนมีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน