คุณกำลังมองหาอะไร?

พญ.ศศิธร บัณฑิตมหากุล ทันตแพทย์เชี่ยวชาญ งานทันตสาธารณสุข ศูนย์อนามัยที่ 11 ร่วมประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan) สาขาสุขภาพช่องปาก ระดับปร

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

22.06.2566
0
0
แชร์
22
มิถุนายน
2566

วันที่ 16 มิถุนายน 2566 ทพญ.ศศิธร บัณฑิตมหากุล ทันตแพทย์เชี่ยวชาญ งานทันตสาธารณสุข ศูนย์อนามัยที่ 11 ในบทบาทเลขาคณะกรรมการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan) สาขาสุขภาพช่องปาก เขตสุขภาพที่ 11 เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan) สาขาสุขภาพช่องปาก ระดับประเทศ ครั้งที่ 3/2566 ผ่านระบบการประชุมทางไกล ซึ่งมีคณะกรรมการและผู้เข้าร่วมการประชุม ทั้งแบบ Onsite ณ ห้องประชุมอุทัย สุดสุข ชั้น 5 อาคาร 7 กองบริหารการสาธารณสุข ตึกสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข และ Online จำนวน 30 user โดยกองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นเจ้าภาพการประชุม มี ทันตแพทย์จารุวัฒน์ บุษราคัมรุหะ ทันตแพทย์เชี่ยวชาญ กองบริหารการสาธารณสุข ทำหน้าที่ประธานการประชุม มีประเด็นที่สำคัญดังนี้
- ความคืบหน้าโครงการฟันเทียม รากฟันเทียม เฉลิมพระเกียรติ
- ผลการดำเนินงานพัฒนาสุขภาพช่องปากในหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิ (PCU) และ เครือข่ายบริการสุขภาพปฐมภูมิ (NPCU) และรายงานผลการตรวจเยี่ยมทั้ง 12 เขต รวมทั้งข้อเสนอเพื่อปรับเกณฑ์การประเมิน และข้อเสนอเพื่อการดำเนินงานในระยะต่อไป
- แนวทางการขับเคลื่อนโรงพยาบาลทันตกรรม โดยมีเป้าหมาย ดังนี้
ปี 2566 : ทุกเขตสุขภาพจะต้องดำเนินการจัดตั้งโรงพยาบาลทันตกรรม อย่างน้อยเขตละ 1 แห่ง
ปี 2567 : ทุกเขตสุขภาพจะต้องดำเนินการจัดตั้งโรงพยาบาลทันตกรรม ใน รพศ./รพท. อย่างน้อยเขตละ 2 แห่ง และ รพช. ขนาดใหญ่ ที่เป็น node อย่างน้อยเขตละ 1 แห่ง
ปี 2568 : ทุกจังหวัดจะต้องดำเนินการจัดตั้งโรงพยาบาลทันตกรรม และ รพช. ขนาดใหญ่ ที่เป็น node อย่างน้อยเขตละ 4 แห่ง

สำหรับเขตสุขภาพที่ 11 ผู้บริหารของเขตฯ ได้กำหนดให้ ดำเนินการยกระดับโรงพยาบาลทันตกรรม 2 แห่งใน คือโรงพยาบาลมหาราช นครศรีธรรมราช และ โรงพยาบาลวชิระ ภูเก็ต โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2566

ที่ประชุมมอบหมายให้โรงพยาบาลที่ได้รับการกำหนดให้อยู่ในแผนการยกระดับเป็นโรงพยาบาลทันตกรรม ดำเนินการปรับโครงสร้างภารกิจ โดยกำหนดให้มี รองผู้อำนวยการฝ่ายทันตกรรม และมีการแบ่งโครงสร้างภารกิจด้านทันตกรรมออกแบบ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มบริการทันตกรรมปฐมภูมิและทุติยภูมิ กลุ่มงานบริการทันตกรรมตติยภูมิและศูนย์ความเป็นเลิศ และ กลุ่มงานพัฒนาคุณภาพบริการและวิชาการทางทันตกรรม
รวมทั้งเร่งดำเนินการบริการเพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการ โดยคาดว่าโรงพยาบาลทันตกรรม จะยกระดับวิชาชีพ เพิ่มผลผลิต และการเข้าถึงบริการทันตกรรม

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน