คุณกำลังมองหาอะไร?

ดสอบสิ่งปนเปื้อนทั้งด้านเคมีและชีวภาพ ในอาหารและผู้สัมผัสอาหาร ของโรงครัวโรงพยาาลส่งเสริมสุขภาพศูนย์อนามัยที่ 11

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

25.07.2566
2
0
แชร์
25
กรกฎาคม
2566

วันที่ 19-20 กรกฎาคม 2566 กลุ่มพัฒนาการส่งเสริมสุขภาพวัยเรียนโดย นางสาวปภาวี แหลมสัก นักโภชนาการ ร่วมกับ นางสาวจิราพร เหมทานนท์ นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ, ทิพย์รัตน์ ดัชนี นักวิชาการสาธารสุขปฏิบัติการ และอัยดา มัสแหละ
นักวิชาการสาธารสุขปฏิบัติการ กลุ่มงานสิ่งแวดล้อม ศูนย์อนามัยที่ 11 นครศรีธรรมราช ได้ดำเนินการทดสอบสิ่งปนเปื้อนทั้งด้านเคมีและชีวภาพ ในอาหารและผู้สัมผัสอาหาร ของโรงครัว งานโภชนาการ ทั้งหมด 5 การทดสอบ 16 รายการ ประกอบด้วย
1.การทดสอบการปนเปื้อนของสารบอแรกซ์ในอาหาร จากตัวอย่างทั้งหมด 2 ชนิด ได้แก่ เนื้อไก่บด และลูกชิ้นปลาเส้น พบว่าไม่มีการปนเปื้อนของสารบอแรกซ์
2.การทดสอบการปนเปื้อนของกรดซาลิซิลิค (สารกันรา) ในอาหาร จากตัวอย่างทั้งหมด 3 ชนิด ได้แก่ แครอท, ขิงซอย และผักชี พบว่าไม่มีรายการใดที่มีการปนเปื้อนของกรดซาลิซิลิค (สารกันรา)
3. การทดสอบคลอรีนอิสระคงเหลือในน้ำบริโภคด้วยชุดทดสอบคลอรีนอิสระหลงเหลือ (อ.31) พบว่ามีคลอรีนต่ำกว่าระดับ 0.2 - 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร
4.การทดสอบการปนเปื้อนของเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียด้วยชุดทดสอบอย่างง่าย (SI-2)
4.1) บริเวณมือของผู้สัมผัสอาหาร 2 ราย ประกอบด้วย
1) นางเสาวภา เส้งโสด พนักงานบริการ
2) นางศิริพร ใจอุ่น พนักงานบริการ
4.2) อาหารที่ผ่านการปรุงประกอบแล้ว ทั้งหมด 2 เมนู ประกอบด้วย
1) ต้มจืดผักกาดขาวไก่สับ
2) ผัดผักกวางตุ้งไก่
4.3) ภาชนะ จำนวน 5 ตัวอย่าง ประกอบด้วย
1) ถาดหลุมสำหรับใส่อาหารผู้ป่วย
2) ปิ่นโตสำหรับใส่อาหารผู้ป่วย
3) ช้อนสำหรับชิมอาหาร
4) เขียง
5) มีด
5) การทดสอบการปนเปื้อนของเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียในน้ำ (อ.11)

การทดสอบนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินสถานการณ์ความเสี่ยงด้านสุขาภิบาลอาหาร และความปลอดภัยของอาหารที่จัดบริการแก่ผู้ป่วยใน (IPD) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 11 และมุ่งหวังจะนำผลที่ได้จากการทดสอบครั้งนี้ไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนา เพื่อให้ผู้รับบริการได้บริโภคอาหารที่สะอาดและปลอดภัยตามมาตรฐานหลักสุขาภิบาล

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน